พัฒนาคนให้มีทักษะและเก่ง 3 ด้านช่วยองค์กรไทยอยู่รอดในยุค New Normal


พัฒนาคนให้มีทักษะและเก่ง 3 ด้านช่วยองค์กรไทยอยู่รอดในยุค New Normal

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดมิติใหม่ๆในการใช้ชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกๆองค์กรและทุกๆภาคส่วนจะต้องเตรียมความพร้อมในการสร้างคน และพัฒนาคนเพื่อรองรับกรใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเสริมทักษะให้คนให้มีทักษะและประสบการณ์เก่ง 3 ด้าน ได้แก่ “เก่งงาน เก่งคนและเก่งความคิด” เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง และเข้าใจถึงทักษะที่จำเป็นในการทำงานในยุค New Normal

แนะมหาวิทยาลัยปรับหลักสูตรใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดในแต่ละปี

รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า  ท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆมิติ อีกทั้งสถานการณ์ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง   บุคคลใดที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีย่อมจะได้เปรียบในการทำธุรกิจ ในการเรียนการสอนและการใช้ชีวิต สิ่งจำเป็นอันยิ่งยวดในการรับมือความเปลี่ยนแปลงทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีคือการเตรียมกำลังคน ทรัพยากรบุคคลที่ค่อนข้างจะเตรียมได้ยาก เนื่องจากแต่ละส่วนมีการพัฒนากำลังคนที่แตกต่างกันไป เช่น ในระดับมหาวิทยาลัยก็จะมีเน้นการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่แต่ละมหาวิทยาลัยถนัด มีอาจารย์เพียบพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ แต่ไม่เคยมองถึงความต้องการที่แท้จริงของภาคตลาดแรงงาน ภาคธุรกิจที่รองรับ เมื่อนิสิต นักศึกษาจบออกจากมหาวิทยาลัยในแต่ละปีจะมีจำนวนนิสิต นักศึกษาที่จบอยู่ในสภาวะตกงานจำนวนมาก

“อยากแนะว่าจากนี้ต่อไปการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยควรปรับวิธีการเรียนการสอน ปรับหลักสูตรใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น และควรมีการทำงานวิจัยรองรับว่าความต้องการแท้จริงของตลาดแรงงานในแต่ละปีนั้น แท้จริงแล้วตลาดแรงงานต้องการนิสิต นักศึกษาที่จบใหม่ออกมาในคณะใดบ้าง เทรนด์ตลาดแรงงานในระยะ 3-5 ปี เชื่อมระหว่างแต่เดิมผู้ผลิตกับผู้รับว่าจะผลิตบุคลากรแบบไหนสู่ตลาดแรงงาน เป็นต้น  เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการผลิตหลักสูตร เสียงบประมาณในการเรียนการสอน และเสียเวลาสำหรับประเทศที่รอนิสิต นักศึกษาที่จบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อที่จะนำนิสิต นักศึกษาเหล่านี้ไปช่วยขับเคลื่อนร่วมทำงานสร้างธุรกิจแข่งขันกับประเทศอื่นๆในทุกๆการค้าระหว่างประเทศ” รศ.ดร.จักษ์  กล่าว

3 ทางเลือกในการอยู่รอดยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน

เป็นที่แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะถูกดิสรัปชันในทุกๆปี ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะหากมี Mindset ที่ไม่คิดจะปรับเปลี่ยน ก็จะไม่สามารถที่จะนำพาองค์กรให้เดินหน้าต่อ อยู่รอดได้ ถึงแม้ว่าองค์กร หรือบริษัทนั้นๆจะมีคนที่เก่งอยู่จำนวนมากก็ตามแต่ ดังนั้นการที่จะอยู่รอดในเทคโนโลยีดิสรัปชันได้จะต้องเรียนรู้และมี 3 ทางเลือก คือ 1.อยู่ภายใต้การควบคุมของเทคโนโลยีและทำตามที่เทคโนโลยีสั่ง  2.ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีนั้นให้ได้ และ3.ควบคุมเทคโนโลยี

“วันนี้เราต้องมานั่งทบทวนว่า ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ธุรกิจของเราอยู่ตรงจุดไหน ของเส้นทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุค New Normal จะรอการค้าระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะสถานการณ์ COVID-19 ไม่มีใครสามารถที่จะบ่งชี้ได้แน่ชัดว่าจะยุติเมื่อไร และเมื่อยุติแล้วจะมีสถานการณ์อื่นใดกระทบตามมาอีกบ้าง ควรมีแนวทางในการทำธุรกิจช่องทางใหม่ๆมารองรับโดยนำเอาคนที่มีความเก่งในแต่ละด้านมาร่วมกันทำงานให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่เหมาะสมกับประเทศไทย พร้อมทั้งเสริมทักษะให้กับคนเก่งเพิ่มเติมใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เก่งงาน เป็นมืออาชีพ ต้องรู้บางเรื่องในทุกเรื่อง เรื่องอื่นก็ต้องจะ รู้เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงว่าสิ่งที่เราทำส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร 2. เก่งคน เราทำงานกับคน ต้องมีความเป็นมนุษย์ มองลูกค้าเป็นคนที่มีคุณค่า ให้สิ่งที่ดีกับลูกค้า และ3 เก่งคิด ต้องสอนให้คิดเป็น คิดไกลกว่าผลประโยชน์ของตัวเอง คิดในมุมกว้าง และต้องมีการUpskill และ Reskill ใส่ความคิดบวก คิดรอบด้าน คิดไกลและคิดเก่งในการทำงานร่วมกับทุกๆคน อย่างเก่งเพียงลำพัง ที่สำคัญควรยอมรับและเปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่เขาประสบความสำเร็จแม้จะไม่ได้จบสูงมาเป็นที่ปรึกษา มาให้คำแนะนำเพื่อความรู้ที่เพิ่มเติมกาวอย่างช้าๆแต่มั่นคงบนพื้นฐานความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนของประเทศในอนาคต” รศ.ดร.จักษ์ กล่าว

สถาบันวิจัยพัฒนาฯ มศว. จับมือเออาร์ไอพีวิจัยพัฒนากำลังคน

ศ.เกียรติคุณ ดร. ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

ศ.เกียรติคุณ ดร. ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กล่าวว่า สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตระหนักและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี องค์ความรู้ใหม่ในประเทศไทยมาโดยตลอด ล่าสุดได้ร่วมมือกับบริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ทำการวิจัย หาแนวทางในการพัฒนาคนทั้งใหม่และเก่า ให้ตรงกับมาตรฐานทักษะแห่งอนาคต เพื่อนำพาองค์กรไทยอยู่รอดในยุค New Normal นั้น โดยเน้นงานวิจัยที่จับต้องได้ ลงลึกบนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆการนำงานวิจัยที่ได้นี้ไปใช้งานเพื่อประโยชน์ต่อองค์รวมในการนำไปพัฒนาการศึกษา พัฒนาธุรกิจ และพัฒนาประเทศไทย

ร่วมมือกับมศว. พัฒนาสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีในอนาคตในทุกระดับ

มนู เลียวไพโรจน์ ประธานกรรมการ  บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน)

มนู เลียวไพโรจน์ ประธานกรรมการ  บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ในโลกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจ การเรียนการสอนและอื่นๆ จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ที่เราทุกคนจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับใช้และผลักองค์กรให้อยู่รอด การให้องค์กรอยู่รอดจะต้องอาศัยการเสริมทักษะการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพิ่มเติม อาจจะออกมาในรูปแบบการสัมมนาเฉพาะหัวข้อ เฉพาะแผนกเนื่องจากแต่ละแผนกมีพื้นฐานทางด้านการรับรู้เรื่องเทคโนโลยีไม่เท่ากัน จึงเป็นภารกิจที่จำเป็นสำหรับองค์กร ที่จะศึกษาข้อมูลคัดเลือกหัวข้อปรับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับในแต่ละแผนกขององค์กร พร้อมทั้งมีงบประมาณรองรับอย่างเหมาะสมด้วย อีกทั้งควรมีงานวิจัยเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มสำหรับเป็นเครื่องมือในการที่จะกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีที่มีงานวิจัยรองรับเพื่อให้การดำเนินงานมีเป้าประสงค์ มีระเบียบวิธีทำงานอย่างเป็นระบบ แต่ยังขาดเครื่องมือในการเข้าไปชี้วัดประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีต่างๆภายในองค์กร จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับทาง มศว. ในการพัฒนาสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีในอนาคตในทุกระดับ เพื่อเติมเต็มในทุกๆสมรรถนะที่ยังขาดอย่างเหมาะสม

“สำหรับความคาดหวังในการทำงานร่วมกับ มศว.ในครั้งนี้ แน่นอนว่า มศว.มีคณะทำงานที่เป็นมืออาชีพ มีฐานองค์ความรู้ที่หลากหลายพร้อมที่จะร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนร่วมอย่างดีที่สุด”  มนู กล่าว

มาตรฐานทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการในยุค New Normal

ถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)  และประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์

ถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)  และประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ กล่าวว่า สถานการณ์ COVID-19 เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในการทำงานทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ New Normal ให้รวดเร็วกว่าเดิมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการพบปะ การทำธุรกิจแบบเจอหน้าจะลดลง การนำเทคโนโลยีในการติดต่อกระทำธุรกิจจะมากขึ้น โดยเฉพาะในภาค

อุตสาหกรรมที่จะมีการใช้ เทคโนโลยี IIoT (Industrial Internet of Things) มาปรับใช้มากขึ้น ด้วยภาวะขาดแคลนแรงงาน การทำงานที่ต้องลดระยะห่างของคนทำงาน แต่ขนาดบริษัทและยอดขายจะเพิ่มขึ้นและมียอดขายมากกว่าเดิม ทั้งยังสามารถ Monitoring ได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งจากการประเมินพบว่า IIoT จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 80% และพนักงานจะลดลง 57 %  ดังนั้นหากแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไม่ปรับตัวจะถูกดิสรัปชันออกจากแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้ จึงจำเป็นที่แรงงานต้องปรับตัวและมองหาทักษะเฉพาะการทำงานเสริมอยู่ตลอดเวลา

ชี้อายุ 45-51 ปี ระดับ Management

ต้องปรับและเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม

สำหรับช่วงอายุที่จะต้องใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มทักษะและคุณสมบัติในการทำงาน โดยเฉพาะยิ่งแรงงานในช่วงอายุตั้งแต่ 45-51 ปี ซึ่งเป็นคนระดับ Management อาจพัฒนาไม่ทันเทคโนโลยี ต้องยิ่งปรับและเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม ไม่ต้องถึงขนาดเก่งมาก แต่ให้เข้าใจ ใช้งานได้และอธิบายงานให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติตามได้

6 ทักษะการเรียนรู้สำหรับแรงงานภาคอุตสาหกรรมต้องมีในยุค New Normal

นอกจากนี้แล้วทักษะการเรียนรู้สำหรับแรงงานภาคอุตสาหกรรมควรต้องมีในยุค New Normal มี 6 เรื่อง ได้แก่  คือ 1.เรียนรู้ตลอดชีวิต อย่าหยุดการเรียนรู้เพราะหากหยุดเท่ากับการทำงานของท่านได้สิ้นสุดลง อาจจะต้องถูกเลิกจ้างงาน เป็นต้น 2.บริหารการเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะรับทุกๆสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและสถานการณ์โรคระบาด อย่าง COVID-19  3.ความคิดเชิงวิพากษ์ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิพากษ์และรับการวิพากษ์จากการทำงานของทีมร่วมทำงาน อย่ามีอคติ หรืออีโก้ที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมทำงาน เพราะหากเพิกฉยการรับและยอมรับการวิพากษ์อาจจะทำให้การทำงานชะงักหรือไม่ประสบความสำเร็จเดินหน้าต่อไม่ได้ 4.ทักษะด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะมองหางานวิจัย นวัตกรรมใหม่ๆจากผู้ร่วมทำงาน สถาบันการศึกษา รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆมาร่วมหล่อหลอมจนเกิดเป็นนวัตกรรมใช้เองภายในองค์กร 5.ทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยอมรับในการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมากขึ้น อะไรที่ไม่เข้าใจให้สอบถามจากผู้ที่เขาเข้าใจ แม้จะมีช่วงวัย ช่วงอายุงานที่น้อยกว่า จะได้นำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และ 6.ทักษะความเข้าใจในมนุษย์ด้วยกัน ทุกคนมีความจำเป็นและการทำงานที่รับผิดชอบไม่เหมือนกัน

“ดังนั้นการเห็นอกเห็นใจและช่วยกันทำงาน แบ่งเบาภาระงานซึ่งกันและกัน ถามไถ่ในการทำงานจะช่วยให้การทำงานขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ถ้าธุรกิจใด หรือองค์กรใดทำงานแบบไม่ประสานกัน ไม่พุดคุยตกลงเนื้องานและถามไถ่การทำงานกันเลย รับประกันได้ว่าการทำงานยากที่จะประสบความสำเร็จได้” ถาวร กล่าว

Digital Literacy ทักษะสำคัญเมื่อเทคโนโลยีอยู่รอบตัว

ดร.ชนนิกานต์ จิรา ผู้อำนวยการ True Digital Academy บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดร.ชนนิกานต์ จิรา ผู้อำนวยการ True Digital Academy บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของคนเรามากขึ้น ซึ่งอันที่จริงเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่รอบๆตัวเรา แต่จะมีใครสามารถที่จะนำมาใช้ให้ตรงกับการทำงาน การเรียนรู้และต่อยอดการเรียนรู้ เพิ่มเติม ให้มีทักษะเรียนรู้เครื่องมือและเทคโนโลยีได้อย่างง่าย เร็วขึ้น เพื่อให้เข้าใจ เข้าถึงและใช้งานเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างคนที่เหมาะกับองค์กรพร้อมกับประสานคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ร่วมทำงานอย่างเข้าใจถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อตอบสนองทางสังคม การทำธุรกิจ การท่องโลกกว้างได้หลายทิศทาง

“แต่จะมีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะมีความสามารถในการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตนเองมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับทักษะ ประสบการณ์และคู่ค้าที่ใช้โซเชียลมีเดียนั้นๆด้วย ใช่ว่าใช้โซเชียลมีเดียทุกช่องทางแล้วจะก่อให้เกิดผลดีเสมอไป ต้องค่อยๆศึกษา และดูงบประมาณในการใช้โซเชียลมีเดียด้วย”ดร.ชนนิกานต์ กล่าว

ไทยใช้โซเชียลมีเดียผ่านทางมือถือประมาณ 9 ชั่วโมงต่อวัน

จากผลการศึกษาพบว่าการเติบโตของโซเชียลมีเดียลในทุกๆช่องทางจะเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีทั่วโลกอย่างน้อย 10.3%  สำหรับในประเทศไทยใช้โซเชียลมีเดียผ่านทางโทรศัพท์มือถือประมาณ 9 ชั่วโมงต่อวัน เสมือนว่าโลกดิจิทัลโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่จะมีสักกี่องค์กร กี่คนที่สามารถนำโซเชียลมีเดียมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นธุรกิจด้านดิจิทัลที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลรองรับมาอย่างต่อเนื่อง เช่น APPLE, AMAZON, FACEBOOK, TWITTER และ ALIBABA เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ผ่านไป 5 ปี ฮาร์ดแวร์จะล้าสมัย จึงต้องมีการเรียนรู้ปรับปรุง Upskill อัพฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมที่จะรองรับการทำงาน รองรับการซับซ้อนของการทำงาน ผสมผสานทักษะความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน การลดทางอารมณ์ การยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน ให้เกิดการทำงานที่หลอมรวมใช้ในการแก้ปัญหาทุกๆเรื่องทั้งด้านเทคโนโลยี การเจรจาต่อรองทางธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันให้มีความสมดุล

มศว.เตรียมข้อมูลรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกการทำงานในอนาคตอย่างเหมาะสม

เวทีเสวนา“ผลงานวิจัยกับมาตรฐานทักษะของคนทำงานที่ภาคธุรกิจไทยต้องมี”

   ภายในงานยังมีการจัดงานเสวนาหัวข้อ “ผลงานวิจัยกับมาตรฐานทักษะของคนทำงานที่ภาคธุรกิจไทยต้องมี”   โดยวิทยากรที่ทำงานทางด้านนี้โดยตรง

รศ.ดร.ศิริยุภา พูลสุวรรณ

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กล่าวว่า มศว.มีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายที่จะเข้ามาร่วมทำงานวิจัยในเรื่องมาตรฐานทักษะของคนทำงานที่ภาคธุรกิจไทยต้องการในยุคดิสรัปชัน ซึ่งแต่ละธุรกิจต้องรู้ตัวเองก่อนว่าธุรกิจของตนเองอยู่ตรงไหน แล้วโฟกัสการดำเนินธุรกิจไปตามเป้าหมาย มีโอกาสที่จะข้ามชั้นทำธุรกิจร่วมได้มั้ย   หากทำแล้วจะมีผลที่ดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรในงานศึกษางานวิจัยจะมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียด จะมีการแยกประเภทคนทำงานประจำว่ามีความชำนาญด้านใด เช่น กราฟิกดีไซน์ การตลาดออนไลน์และโฆษณา การทำเว็บไซต์โปรแกรมเมอร์ และงานเขียนและแปลภาษา

ส่วนคนที่ชอบทำงานฟรีแลนซ์เขามีองค์ความรู้ที่เก่งด้านใด เทรนด์ธุรกิจอาหารออนไลน์เขาต้องการคนประเภทไหน รองรับคนทำงานทุกเพศทุกวัย เพื่อเตรียมข้อมูลนำไปใช้รองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกการทำงานในอนาคตอย่างเหมาะสม

เผย Soft Skills ปรับใช้ได้ในทุกๆสายอาชีพ แต่ Hard Skills ต้องการคนจบเกียรตินิยม

ทัศไนย เหมือนเสน ผู้ก่อตั้ง JOBBKK.COM และอุปนายกสมาคมดิจิทัลไทย กล่าวว่า  JOBBKK มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ประมาณ 10 ล้านคน มีฐานข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนสถานะอาชีพในการสมัครงานในทุกๆช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง COVID-19 ที่ผู้สมัครงานมีการปรับฐานข้อมูลเป็นการทำงานผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น โดยระบุว่ามีความสามารถในการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีขึ้น ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามาค้นหาฐานข้อมูลที่ต้องการคนทำงานที่มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางด้าน Soft Skills เป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกๆสายอาชีพ แต่ทักษะ Hard Skills ก็ยังต้องการคนที่จบเกียรตินิยมจำนวนนี้อยู่ประมาณ 5% ร่วมทำงานขับเคลื่อนองค์กร หากองค์กรใดสามารถที่จะหล่อหลอมรวมคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกความถนัดให้เข้ามาช่วยทำงานก็จะเกิดความสำเร็จในระยะเวลาที่ไม่มากนัก แต่หากองค์กรใดไม่มีการคัดเลือกคน ไม่มาตรฐานการกำหนดทิศทางการทำงาน แผนการทำงานก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้แม้จะมีคนเก่งมาร่วมอยู่จำนวนมากก็ตาม นอกจากนี้แล้วการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจหากองค์กร ธุรกิจใดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญแล้วก้ไม่ต้องกังวลหรือกลัวที่จะถูกดิสรัปชัน ที่สำคัญควรพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อม แม้จะมีปัญญา

ประดิษฐ์ (AI) เข้ามาทำงานมากขึ้น แต่ AI ไม่สามารถที่จะทำงานได้เพียงลำพังต้องอาศัยคน เขียนโปรแกรมทำงาน ต้องอาศัยคนควบคุม และต้องอาศัยคนไปติดต่อทำธุรกิจ และควรมีการทำงานวิจัยเป็นฐานข้อมูลภายในองค์กรว่าในแต่ละปี องค์กร บริษัท มีการทำงานอย่างไร มีงานวิจัยอะไรเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานบ้าง

“หากไม่มีงานวิจัยใดๆเลยมาใช้ แนะนำว่าให้เริ่มมองหาหน่วยงานวิจัยที่ตรวงกับองค์กร ธุรกิจที่กำลังทำเพื่อให้การทำงานขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ตกเทรนด์ในยุคอนาคต” ทัศไนย กล่าว

เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร เสริมสร้างความเชี่ยวชาญบุคลากรทั้ง Workshop -ออนไลน์

บุญเลิศ นราไท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากความร่วมมือของเออาร์ไอพักับ สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการทำวิจัยสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรต่อการทำงานในอนาคต และพัฒนาระบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในโลกอนาคต (Future Competency Assessment System) ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรธุรกิจไทยขึ้นพร้อมทั้งเผยแพร่งานวิจัยที่ได้สู่องค์กรไทยในอนาคต โดยมีพาร์ทเนอร์สำคัญคือ JOBBKK.com ในการเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มบุคลากรในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ให้สามารถเข้ามาทำแบบทดสอบในระบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในโลกอนาคต เพื่อสำรวจข้อมูลจนเกิดค่ามาตรฐานระดับความพร้อมความเชี่ยวชาญในสมรรถนะที่จำเป็น พร้อมทั้งหาคนที่ตรงกับงาน

หลังจากนั้น เออาร์ไอพี และมศว.จะนำผลดังกล่าวมาพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากร ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ และเรียนรู้บนระบบออนไลน์ โดยมีแพลตฟอร์ม WISIMO ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรรองรับ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสามารถตั้งแต่การวัดระดับความสามารถของบุคลากร แนะนำหลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งการวัดผลที่รอบด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save