ไบโอเทค เปิดตัว “DAPBot” แพลตฟอร์มช่วยจำแนกศัตรูพืชและเข้าถึงชีวภัณฑ์เกษตร คู่คิดติดปลายนิ้วคนทำเกษตร


ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว “DAPBot”แพลตฟอร์มสนับสนุนการจำแนกศัตรูพืชและการเข้าถึงชีวภัณฑ์เกษตร ในรูปแบบ Line Official เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงการใช้งานโดยง่าย โดยเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อระหว่าง 3 หัวใจหลัก คือ เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ผลิตชีวภัณฑ์ ให้มีพื้นที่ได้พูดคุยถามตอบปัญหารวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกษตรกรพบความผิดปกติจากการทำการเกษตรที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่เผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถวินิจฉัยปัญหาในแปลงเกษตรได้อย่างตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดใช้สารเคมี เสริมสร้างความเข้มแข็งการใช้ชีวภัณฑ์ในประเทศอย่างยั่งยืน ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนการทำงานของทางห้องปฏิบัติการและออกเผยแพร่ในแปลงทดสอบร่วมกับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทำให้ทีมวิจัยพบว่า ปัญหาหลักหนึ่งคือ เกษตรกรเข้าถึงเชื้อชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้จำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่ซื้อ ซื้อที่ไหน ซื้อออนไลน์ได้ไหม หรือพอซื้อแล้วกลับได้ชีวภัณฑ์ปลอมเป็นน้ำผสมสี นำไปใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้มุมมองต่อการใช้ชีวภัณฑ์ติดลบ ไม่ใช้แล้ว กลับไปใช้สารเคมีดังเดิมดีกว่า และอีกหนึ่งปัญหาหลักคือ เกษตรกรมักมีความเข้าใจผิดค่อนข้างมากว่า สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากแมลง แท้จริงแล้วเกิดจากเชื้อรา จึงใช้ยาไม่ถูกโรคเพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นหรือใช้ชีวภัณฑ์ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ  ทีมวิจัยจึงได้คิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์ม DAPBot ขึ้นมาตอบโจทย์และเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเชื่อมต่อระหว่าง 3 หัวใจหลัก คือ เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ผลิตชีวภัณฑ์ ให้มีพื้นที่ได้พูดคุยถามตอบปัญหารวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกษตรกรพบความผิดปกติจากการทำการเกษตร ซึ่งจะถ่ายภาพศัตรูพืช และปัญหาโรคพืชที่พบ รวมทั้งถ่ายภาพแมลงที่พบหรือภาพผิดปกติของพืชที่เกษตรกรปลูกเข้ามายังแพลตฟอร์ม DAPBot เมื่อนักวิชาการได้รับข้อมูลของเกษตรกรที่ส่งมาจะทำการวินิจฉัยโรคพืชที่เกิดขึ้น ศัตรูพืชและแมลงที่ส่งภาพเข้ามาเป็นชนิดใด พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขโดยการแนะนำชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับไบโอเทคในการแก้ปัญหาต่างๆให้แก่เกษตรกร  

นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถสอบถาม เรื่องปุ๋ย เรื่องสภาพอากาศ เรื่องน้ำ เช่น น้ำเค็มในหน้าแล้ง เมื่อนำน้ำเค็มมารดน้ำต้นไม้รถน้ำพืชที่ปลูกแล้วใบไหม้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร และการปลูกพืชผลผลิตตามสภาพอากาศเข้ามาได้ในแพลตฟอร์มนี้ด้วย เช่น ถ้าใช้ก่อนฝนตกหนัก ชีวภัณฑ์จะหายไปทั้งหมดและไม่ได้คุณภาพ หรือถ้าจะใช้ในวันที่อากาศร้อนการฉีดชีวภัณฑ์ก็จะไม่ได้ผล รวมทั้งจะมีการประกาศเผยแพร่ของแมลง โรคต่างๆที่มักจะเกิดขึ้นกับการทำการเกษตรต่างๆให้เกษตรกรรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถที่จะหาแนวทางแก้ไขป้องกันได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรนั้นๆ

DAPBot เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมชีวภัณฑ์ในประเทศไทยไว้ โดยเฉพาะชีวพันธุ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากผู้ประกอบการไทย คือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์มนี้ไปสู่เพจ สู่เครือข่ายโซเชียลอื่นๆที่เป็นศูนย์รวมของเกษตรกรทั่วประเทศมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงและช่วยเหลือเกษตรกรลดการใช้สารเคมีที่จะตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร และสร้างความเข้มแข็งด้านการชีวภัณฑ์ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

  เชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม ผู้ช่วยวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  กล่าวว่า แพลตฟอร์มฟอร์ม DAPBot ได้เริ่มให้เกษตรกรใช้งานตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้แล้วประมาณ 500 คน ซึ่งทีมวิจัยมุ่งมั่นให้เป็นระบบที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ช่วยให้เกิดการเพิ่มทักษะด้วยตัวเอง เช่น เมื่อเจออาการแบบนี้สามารถสอบถามในแชทก็จะได้ความรู้ที่ถูกต้อง เกษตรกรก็จะเริ่มจำได้ในคราวต่อไป

ทางทีมวิจัยมีแผนที่จะรวบรวมภาพที่เกษตรกรส่งมานำไปทำ AI Training   เมื่อเกษตรกรสอบถามมาจะได้คำตอบเร็วขึ้น อย่างเร็วที่สุดประมาณ 5 นาที หรืออย่างช้าจะตอบกลับประมาณ 24 ชั่วโมง   นอกจากนี้ DAPBot ยังนับเป็นช่องทางให้ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้มาเจอกันกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งานโดยตรงคือเกษตรกร

“การตอบคำถามที่ทางเกษตรกรส่งเข้ามาแพลตฟอร์ม DAPBot จะมีแอดมินที่เป็นทีมวิจัย ซึ่งมีความรู้เรื่องโรคและแมลงคอยดูแลตอบคำถาม หากคำถามนั้นไม่ยากและซับซ้อนสามารถหาข้อมูลได้ในทันทีทางแอดมินจะเป็นผู้ตอบกลับเกษตรกรทันที แต่หากคำถามที่ส่งเข้ามายากและซับซ้อน เช่น เรื่องทุเรียน ทางแอดมินจะส่งคำถามต่อไปยังนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวข้องตอบเกษตรกร เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพาและนักวิชาการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และโรคอุบัติใหม่ ใบร่วงในยางพารา ทางแอดมินจะโทรกลับไปยังเกษตรกรทันที โดยไม่รอทางนักวิชาการตอบ เพื่อที่จะสอบถามการระบาดและแหล่งระบาดแล้วจัดส่งนักวิชาการในพื้นที่เข้าไปทำการตรวจสอบแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เป็นต้น”   เชษฐ์ธิดา กล่าว

ในส่วนของผู้ใช้งาน DAPBot ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เกษตรกรในกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเท่านั้น แต่เกษตรทั่วไปที่ต้องการหันมาใช้ชีวภัณฑ์ในช่วงที่แมลงไม่ได้ระบาดมาก สามารถใช้ได้ หรือเกษตรกรตามบ้านที่ปลูกผักปลูกกุหลาบ ไม่ต้องการซื้อยามาฉีด สามารถใช้ชีวภัณฑ์ได้เช่นกัน โดย DAPBot นับเป็นตัวเชื่อมให้กลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ให้บริการชีวภัณฑ์ได้มาเจอกัน

ผู้สนใจใช้งาน เพียงแค่แอดไลน์ @dapbot สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที โดยทีมวิจัยคาดหวังว่าระบบนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยของเกษตรกรและเป็นประโยชน์สนับสนุนให้เกิดการใช้ชีวภัณฑ์มากขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save