คณะวิศวฯ มธ. ครบรอบ 30 ปี ชูต้นแบบความสำเร็จวิศวกรรมภาษาอังกฤษแห่งแรกในไทย


คณะวิศวฯ มธ. ครบรอบ 30 ปี ชูต้นแบบความสำเร็จวิศวกรรมภาษาอังกฤษแห่งแรกในไทย,

กรุงเทพฯ – 19 สิงหาคม 2562 – คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering : TSE) มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านหลักสูตรวิศวกรรมระดับท็อป ชูต้นแบบวิศวกรรมภาษาอังกฤษและดับเบิลดีกรีแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมเปิดความล้ำสมัยของการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ครอบคลุม 3 ประเภท ได้แก่ วิศวกรรมหลักสูตรภาษาไทยกับ 5 สาขา วิศวกรรมหลักสูตรภาษาอังกฤษ TEP 5 สาขา TEPE 6 สาขา และนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ TU-PINE 4 สาขา ซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความเป็นสากลและสมบูรณ์แบบที่สุดของไทย

พร้อมกันนี้ได้จัดงาน “TSE Engineering and Beyond” ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โดยมีเปิดตัว TSE New-Gen อาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรง ต้นแบบของบุคลากรด้านการศึกษาในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง การจับเข่าคุยระหว่างศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงและนักศึกษา ในหัวข้อ “เป็นมากกว่าวิศวกร” กับเส้นทางประกอบอาชีพที่ไร้ขีดจำกัด และยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมรางวัลระดับโลก อาทิ แบบจำลองสำหรับการรักษามะเร็งตับโดยใช้คลื่นไมโครเวฟครั้งแรกของโลก บรรจุภัณฑ์ไบโอพลาสติกจากยางพารา บล็อกรักษ์โลกจากขยะพลาสติก เครื่องนับไข่ไก่ด้วยเอไอเติมเต็มระบบสมาร์ทฟาร์ม และนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตออฟติงเพื่อการเพาะปลูกขนาดย่อม (Plook) ณ โถงห้องสมุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

ธีร เจียศิริพงษ์กุล

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า TSE มีเป้าหมายคือส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมให้ก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำด้านวิศวกรรมระดับโลก และเป็นคณะที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษและดับเบิลดีกรีแห่งแรกของประเทศไทย โดยจับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และเบลเยี่ยม เสริมแกร่งหลักสูตรที่ตอบโจทย์ผู้เรียน โดยปัจจุบันคณะฯเปิดสอนครอบคลุมปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก ด้วย 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ วิศวกรรมหลักสูตรภาษาไทยกับ 5 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เครื่องกล เคมี โยธา และอุตสาหการ วิศวกรรมหลักสูตรภาษาอังกฤษ TEP 5 วิชา TEPE 6 สาขา และนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ TU-PINE 4 สาขา อันเกิดจากการบูรณาการศาสตร์ที่สำคัญเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง (EBM) วิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (iPEN-iEE) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en) และวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) อันสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความสากลสมบูรณ์แบบที่สุดของไทย

“ตลอดระยะ 30 ปี TSE ยังคงเดินหน้าส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมามีงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก อาทิ แอปพลิเคชันตรวจกระเป๋าแอร์เมสด้วยเทคโนโลยีเอไอที่แม่นยำกว่าสายตาของมนุษย์ “เอสซิท” (SCIT) แพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning Disabilities: LD) “หนูขออ่าน” ตัวช่วยสถานพยาบาลยกระดับการให้บริการสาธารณสุข งานวิจัยสารปนเปื้อนในปลาดอร์ลี่ที่เกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยป่วยและเสียชีวิตจากการดื้อยาเพิ่มขึ้น และนวัตกรรมการทำกายภาพบำบัด “Space Walker” สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้ที่ต้องฝึกเดินหลังการผ่าตัด ฯลฯ นอกจากนี้ยังผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพกว่า 5,517 คน ให้ไปสู่เส้นทางการประกอบอาชีพ ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมถึงโอกาสในการศึกษาต่อในอนาคต ซึ่งสะท้อนความเป็นผู้นำด้านหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมประเทศไทย ให้เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จด้านวิศวกรรม” รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร กล่าว

คอนกรีตจากขยะพลาสติก
คอนกรีตจากขยะพลาสติก
การรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ
การรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ

ในโอกาสครบรอบ 30 ปี TSE ได้นำเทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัย ที่มีความหลากหลาย และการันตีด้วยรางวัลระดับโลกมาจัดแสดง ภายใต้แนวคิด “เป็นมากกว่าวิศวกร” (Engineering and Beyond) มาจัดแสดงด้วย อาทิ แบบจำลองสำหรับรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น นวัตกรรมแปรรูปยางพาราสู่ไบโอพลาสติกระดับ Food Grade นวัตกรรมเอไอเพื่อยกระดับฟาร์มไข่ไก่สู่ระบบสมาร์ทฟาร์มเต็มรูปแบบ ช่วยนับจำนวนไข่ในฟาร์มขนาดใหญ่ให้เดินหน้าธุรกิจทันใจกว่าเดิม นวัตกรรมพลิกโฉมขยะพลาสติกสู่อิฐบล็อกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเมืองด้วยคอนโดปลูกต้นไม้อัจฉริยะด้วยปัญญาประดิษฐ์และอินเตอร์เน็ตออฟติงส์ (Plook)

กล้อง AI นับไข่สำหรับสมาร์ทฟาร์ม
กล้อง AI นับไข่สำหรับสมาร์ทฟาร์ม

พร้อมกันนี้ ยังได้เปิดตัว TSE New-Gen ซึ่งเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ที่สะท้อนภาพลักษณ์ความทันสมัย มีความใกล้ชิดกับทุก เจนเนอเรชั่น อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภมาศ สุชาตานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ไชยสาร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ อ.วัชระ อมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) นอกจากนี้ ยังมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ที่ให้เกียรติมาร่วมแชร์ประสบการณ์ในหัวข้อ “เป็นมากกว่าวิศวกร” กับเส้นทางประกอบอาชีพที่ไร้ขีดจำกัด อาทิ สุทธิรักษ์ ดวงบุรงค์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ผู้จุดประกายธุรกิจสตาร์ทอัพในพื้นที่ชายแดนใต้ เมลิษา ซิโมเนตโต Consultant Spend Analysis Manager ของบริษัท เอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด (Ascend Group Co., Ltd.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุน เกี่ยวกับฟินเทค อีคอมเมิร์ซ และคลาวด์เซอร์วิส ทรงวัฒน์ เฉลิมวณิชย์กุล เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (บริษัท เจดับบลิว พรอพเพอร์ตี้ จำกัด) อาภาพร วงศ์ใหญ่ หรือ “ครูนิดหน่อย” ผู้ก่อตั้งเพจ Office with Mac ซึ่งมีผู้ติดตามหลายแสนคน ฯลฯ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจและสะท้อนภาพลักษณ์ยุคใหม่ของวิศวกรไทย

วิศวกร


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save