ซุปเปอร์บอร์ดนัดแรก ตั้งเป้าปี’63 ลงทุน R&D 1.2% ต่อจีดีพี จัดสรรเงินด้าน วทน. 37,000 ล้านบาท ผลักดัน 4 แพลตฟอร์ม ตอบโจทย์ประเทศ


ซุปเปอร์บอร์ดนัดแรก ตั้งเป้าปี’63 ลงทุน R&D 1.2% ต่อจีดีพี จัดสรรเงินด้านวทน. 37,000 ล้านบาท ผลักดัน 4 แพลตฟอร์ม ตอบโจทย์ประเทศ

กรุงเทพฯ – 19 สิงหาคม 2562 : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด จัดการประชุมสภานโยบายนัดแรก โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (อว.) เป็นรองประธาน และมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง อว. เป็นกรรมการและเลขานุการ และ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

การประชุมสภานโยบาย

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (อว.) กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการตรวจเยี่ยมเป็นครั้งแรกของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นกระทรวงเพิ่ง
จัดตั้งใหม่ ถือเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอกาค้าแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ
และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้บริหารของกระทรวง อว. นับเป็นมิติที่มีความสำคัญ ที่มีผู้บริการด้านอุดมศึกษามาหารือกับรองนายกรัฐมนตรี เพื่อการพัฒนาคน โดยมอบหมายให้กระทรวงอว.จะต้องตอบโจทย์ด้านคน Man Power Planning โดยเฉพาะ Engineer และ Non Engineer เพื่อตอบโจทย์ EEC และ Non EEC รวมทั้งหลักสูตร Degree และ Non Degree โดยรองนายกรัฐมนตรีเน้นความสำคัญหลักสูตรต้องเป็น Demand Size ทั้งนี้การที่ภาคเอกชนร่วมกับอว.และทปอ.ทำให้ทราบว่าเอกชนต้องการกำลังคนด้านใด

รองนายกสมคิด ยัง Mention ว่าการลงทุนจากต่างประเทศ ถ้าต้องการเน้นคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องพัฒนากำลังคน เพื่อให้นักลงทุนญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้มาลงทุนในไทย ควรให้หน่วยงานทั้งสามฝ่าย คือ เอกชน มหาวิทยาลัย และอว พูประชุมร่วมกัน จากนั้นไปหารือกับหอการค้าญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งจะ State Visit ในต้นเดือนกันยายนนี้ โดยดร.สุวิทย์ได้รับเกียรติเป็นรัฐมนตรีเกียรติยศไปต้อนรับ เพื่อร่วมมือด้านการศึกษา อุดมศึกษา โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“รองนายกสมคิดได้มอบหมายให้กระทรวงอว. ทำการบ้านร่วมกับภาคเอกชนว่าจะมีประเด็นหารือกับเกาหลีใต้ และดึงบริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้มาลงทุนได้อย่างไร ทั้งนี้เกาหลีใต้ เน้นจุดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด”
จะเห็นได้ว่า รองนายกสมคิด เน้นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ Demand Size โดยให้ฟอร์มทีมเป็น Consortium รวมถึงนำงานวิจัยจากต่างประเทศเข้ามาร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันวิจัยของเรา ก้าวต่อไป จะเชิญทั้ง 3-4 ทปอ. และเชิญรองนายกสมคิดเข้ามาฟัง เพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม” ดร.สุวิทย์ กล่าว

ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อไปว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมสภานโยบายฯ โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภานโยบายฯ ได้รับมอบหมายจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานการประชุม โดยสภานโยบายฯ เป็นเวทีสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวัตกรรม (อววน.) ซึ่งถือเป็นขุมพลังหลักในการเปลี่ยนไทยสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือหลายประเด็นสำคัญ หนึ่งในนั้น คือ การหารือกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และวงเงินงบประมาณ โดย สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของสภานโยบายฯ ได้ยกร่างกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563 – 2570 โดยใช้โจทย์สำคัญจากยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ฉบับ และ 15 ประเด็นเร่งด่วน ใน 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งนโยบายสำคัญของรัฐบาล และข้อเท็จจริงจากเวทีการประชุมหน่วยงานในระบบต่าง ๆ มาระบุประเด็นที่ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวข้ามความท้าทายเพื่อบรรลุเป้าหมาย ขจัดปัญหาในปัจจุบันและวางรากฐานเพื่ออนาคต ผ่านการบริหารงานในรูปแบบแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนงานและโครงการต่าง ๆ ให้สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

สำหรับแพลตฟอร์มดังกล่าว มีทั้งสิ้น 4 แพลตฟอร์ม ประกอบด้วย 1. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ ลงทุน 11,000 ล้านบาท 2. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 3. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ 4. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันในการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้ตั้งเป้าหมายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ในปี พ.ศ.2563 1.2% ต่อจีดีพี หรือประมาณ 212,340 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 25% หรือประมาณ 53,085 ล้านบาท และเป็นการลงทุนจากภาคเอกชน 75% หรือประมาณ 159,255 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 5 ปี เงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ จะมีสัดส่วน 1.5% ต่อจีดีพี

“ต่อนี้ไปจะมี Funding Agency ทั้งในและนอกกระทรวง ทุกวันนี้มีแต่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งไม่เพียงพอ อาจจะต้องตั้งหน่วยบริหารเฉพาะด้านในด้านกำลังคน ลักษณะเป็น Sandbox ไม่เป็นนิติบุคคลแต่อยู่ภายใต้ร่มเงาของสำนักงานฯ ซึ่งเป็นนิติ บุคคล โดยมีกรอบที่ท้าทายและงบการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของไทยให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตั้งงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนา ถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในปีพ.ศ.2563 เป้าจีดีพี 17.7 ล้านล้านบาท งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนา คิดเป็น 212,000 ล้านบาท
ทั้งนี้โครงสร้างการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ภาครัฐร่วมกับอว. เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้งานวิจัยไม่ขึ้นหิ้งอีกต่อไป” ดร. สุวิทย์ กล่าว

จากการสำรวจในปีพ.ศ.2560 พบว่า ประเทศไทยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา อยู่ที่ 1% ต่อจีดีพี และเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐที่ 25% ในปีพ.ศ.2563 จึงได้มีการเสนอขอกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ รวมทั้งสิ้น 37,000 ล้านบาท ซึ่งรวมกับงบลงทุนด้านอุดมศึกษา คิดเป็นเงินกว่า 160,000 ล้านบาท

ในปีนี้นับเป็นปีแรกที่ผลักดันนโยบายตาม 4 กรอบ ให้วาระการวิจัยต้องตอบโจทย์ประเทศ เมื่อมี 4 แพลตฟอร์ม มหาวิทยาลัยฯ ต้องมี Research Paradigm ว่าต้องการมุ่งเน้นเทคโนโลยีด้านใด เพื่อสร้างนวัตกรรมและ Startup เพื่อให้มหาวิทยาลัยต้องปรับบทบาทตัวเองว่าจะมุ่งทำงานวิจัยละพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ โดยให้มหาวิทยาลัยตั้งงบประมาณขึ้นมาเอง ในลักษณะ Bottom up 70% และ Top down 30% ของงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจำนวนเงิน 37,000 ล้านบาท

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ในส่วนของพ.ร.บ.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณางบทั้ง 2 สาขาในปีพ.ศ.2563 ได้แก่ งบอุดมศึกษาและงบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งงานวิจัย โดยที่ประชุมเสนอให้รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นประธานดูแลงบด้านอุดมศึกษา และรศ.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปัจจุบันเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานดูงบสาขาวิจัยและนวัตกรรม

นอกจากนี้ที่ประชุมยังแต่งตั้งรัฐมนตรีอว. เป็นประธานกรรมการอำนวยการของสำนักงานสภานโยบายวิทยาศาสตร์ฯ ดูแลสำนักงาน พร้อมจัดตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหารวม 5 ท่าน ซึ่งดร.กิติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้เสนอหลักการของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมในวันนี้

ดร.กิติพงศ์ พร้อมวงศ์  ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
ดร.กิติพงศ์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save