ทุกวันนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย การปฏิรูปสู่ดิจิทัลสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในแวดวงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยประคับประคองให้ธุรกิจอยู่รอด โดยเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต เพิ่มยอดขายและสร้างผลกำไร ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในที่สุด อีกทั้งยังสามารถจัดการและควบคุมกระบวนการผลิตได้ในระยะไกล เนื่องจากมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านระบบเครือข่าย ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและปฏิบัติการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าติดตามกระบวนการผลิต
สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตนับเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยการเกิดขึ้นของวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องมองหาแนวทางและวิธีการใหม่ๆ ในการลดต้นทุน โดยการพัฒนาธุรกิจและกระบวนการต่างๆ สู่ดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลนี้จะสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายในซัพพลายเชนมากขึ้น สามารถกระจายสินค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนทางธุรกรรม ช่วยเพิ่มความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งเปลี่ยนซัพพลายเชนในการผลิต และเปิดทางไปสู่การเงินแบบดิจิทัล ซึ่งจะเป็นโอกาสใหม่ครั้งใหญ่ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอุตสาหกรรม
การพัฒนาเข้าสู่ดิจิทัลทำให้อุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชียแข่งขันกันได้มากขึ้น แต่จากรายงานของ LNS Research พบว่า 54% ขององค์กรยังเป็น “ผู้ตาม” ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านั้นได้เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่ Industrial Transformation ในช่วงแรกๆ แต่ยังไม่ก้าวหน้าหรือประสบผลสำเร็จมากเท่าไรนัก โดยมีบริษัทเพียง 30% ที่เท่านั้น ที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็น “ผู้นำ” ด้าน Industrial Transformation ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียได้การยอมรับให้เป็นศูนย์กลาง (Hub) การผลิตของโลก และขับเคลื่อนตลาด Industrial Internet of Things (IIoT) อย่างแข็งแกร่ง ที่เราเรียกกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 หรืออุตสาหกรรม 4.0
สเตฟาน นูสส์ กล่าวว่า “Industrial Automation ได้เปลี่ยนโฉมโลกอย่างรวดเร็ว บริษัทอุตสาหกรรมต่างต้องการที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยให้ความสำคัญกับการใช้นวัตกรรม เพื่อส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรม”
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในอนาคต คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม หรือความยืดหยุ่น เพื่อการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องการการขับเคลื่อนที่ชัดเจน และปรับเปลี่ยนไปตามขั้นตอน โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง และจัดหาโซลูชั่นที่สามารถดูภาพรวมของกระบวนการหรือธุรกิจได้ในแบบแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนที่ดีกว่า ทั้งในเรื่องของเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ความคล่องตัวและผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
สเตฟาน นูสส์ กล่าวต่อว่า “ปัจจัยสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อยู่ภายใต้พื้นฐานเทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะต้องรวมทั้ง 3 สิ่งนี้เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การขับเคลื่อนข้อมูลผ่าน Software – based Automation ของโรงงานอัจฉริยะ ซึ่งผู้บริหารในโรงงานต้องตระหนักถึงการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนในเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรมซอฟต์แวร์และบริการ ที่สามารถเปิดใช้งานร่วมกันได้ พร้อมทั้งต้องวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่าระบบฮาร์ดแวร์แบบเดิม จึงจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาด ด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Digital Twins เพื่อสร้างสถานการณ์จำลองโดยไม่ต้องลงทุนฮาร์ดแวร์ สามารถตรวจสอบความถูกต้องและพิสูจน์แนวคิดว่าทำได้จริงหรือไม่ 2. ระบบเปิดอย่างแท้จริง ในทุกวันนี้ ระบบ Automation ที่มีอยู่ยังเปิดไม่มากพอ ซึ่งในโลกธุรกิจในทุกวันนี้ สภาพตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา พนักงานในภาคอุตสาหกรรมต้องการระบบเปิดแบบโมดูลาร์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ยืดหยุ่น พร้อมเพิ่มความเร็วเพื่อให้งานบรรลุผล ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เกิดจากแนวคิด “Universal” ที่ต้องการผลักดันให้ระบบ Automation ก้าวสู่ Universal Automation ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ระบบเปิดที่ไม่จำกัดค่ายของผู้จำหน่าย แต่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละระบบ โดย Universal Automation มีความสามารถในการทำงานร่วมกันที่ดีกว่า พร้อมขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ความยืดหยุ่น เรียลไทม์ เพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และ 3. การบูรณาการพลังงานและระบบ Automation ทำให้สามารถมองเห็นและควบคุมประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ควบคุมโรงงานและวิศวกรสามารถเห็นผลกระทบด้วยการวิเคราะห์ ทั้งเรื่องของกำไร และความยั่งยืนในทุกๆ ระยะในอีโคซิสเต็มส์ของโรงงาน ซึ่งจากประสบการณ์ในธุรกิจของเรา ระบุว่าการบูรณาการพลังงานและระบบ Automation เข้าด้วยกันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในโครงการโดยเฉลี่ย 15 เปอร์เซ็นต์
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กับ โซลูชั่นสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสู่ดิจิทัล
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่ล่าสุดขึ้นแท่นได้รับการยกย่องว่าเป็นเบอร์ 1 ของเป็นบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในโลก ซึ่งแบรนด์นี้มีโซลูชั่นสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการพัฒนาเข้าสู่ดิจิทัล ด้วยสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์ม EcoStruxure มีความสามารถด้าน IoT ในรูปแบบเปิด สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์แบบไม่จำกัดค่าย ครอบคลุมครบทุกอุตสาหกรรม ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูล มอนิเตอร์ ควบคุมได้ในแบบไร้สาย และเรียลไทม์ ให้ความคล่องตัว ยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์การณ์ สามารถคาดการณ์แนวโน้มการซ่อมบำรุงได้ ช่วยลดการปิดระบบอย่างไม่ทันตั้งตัวของกระบวนการ และช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในอนาคต เพื่อการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรม 4.0
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นมากกว่า บริษัท เทคโนโลยี เป็นทั้งผู้บุกเบิก ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นเจ้าของ และดำเนินการโรงงาน 200 แห่งและศูนย์กระจายสินค้าอีก 100 แห่งทั่วโลก โดยได้นำเทคโนโลยีและบริการของตนเองมาใช้ที่ไซต์ของตัวเอง นอกจากนี้ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum; WEF) ยังได้ยกย่องให้ Schneider Smart Factories 5 แห่ง เป็นประภาคารแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อีกด้วย