NIA จับมือ มจธ.และ เทศบาลตำบลหนองมะโมง จ.ชัยนาท เปิดตัวโครงการ “ธนาคารน้ำระบบปิด” และ “โครงการการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน

ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย

NIA จับมือ มจธ.และ เทศบาลตำบลหนองมะโมง จ.ชัยนาท เปิดตัวโครงการ “ธนาคารน้ำระบบปิด” และ “โครงการการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเทศบาลตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ร่วมเปิดตัว “โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด)” และ “โครงการการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในพื้นที่ชุมชนหนองมะโมง” หวังแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้อุปโภคบริโภคในชุมชนให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ตระหนักถึงความสำคัญของการขจัดอุปสรรคความยากจนและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การศึกษา การเกษตร จึงได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่เป้าหมายด้วยนวัตกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาต้นแบบหรือโมเดลที่สำเร็จแล้วให้สามารถกระจายสู่ชุมชน หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในจังหวัดยากจนของประเทศ หรือพื้นที่เป้าหมายที่มีความยากจนติด 1 ใน 10 ของประเทศไทย แบ่งเป็นการแก้ปัญหาเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ในพื้นที่ชุมชนเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน, ชุมชนอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และชุมชนหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท สำหรับในระยะที่ 2 ในพื้นที่ชุมชนจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, ชุมชนเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และชุมชนแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และระยะที่ 3 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกชุมชนว่าจะดำเนินการพื้นที่่่ใดเพื่อให้การทำงานเกิดประโยชน์แก่ชุมชนที่ยากจนมากที่สุด

สำหรับโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) ในพื้นที่ชุมชนหนองมะโมง ตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เกิดจากแนวคิดหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องการจะกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง เพราะจังหวัดชัยนาทเป็นพื้นที่เป็นพื้นแห้งแล้ง ทำให้ชาวบ้านประสบปัญหาไม่มีน้ำกินน้ำใช้ และเมื่อได้ไปศึกษาดูงานที่ตำบล ดังนั้น หน่วยงานท้องถิ่นจึงมีแนวคิดที่จะทำธนาคารน้ำเพื่อกักเก็บเพื่อแก้ไขปัญหา โดย NIA และ มจธ. ได้เข้าไปสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวพร้อมทั้งมีโครงการที่จะทำธนาคารน้ำจำนวน 155 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3-4 หมู่บ้านในตำบล โดยธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) เป็นการทำธนาคารน้ำใต้ดินด้วยระบบบ่อปิด ซึ่งมีวิธีการทำ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องสำรวจพื้นที่ตามหลักธรณีวิทยาและด้านภูมิศาสตร์เพื่อหาจุดลุ่มต่ำ หรือจุดที่เป็นทางน้ำไหล เพื่อทำให้น้ำสามารถไหลลงธนาคารน้ำใต้ดินอย่างสม่ำเสมอ เมื่อหาได้แล้วก็เริ่มขุดหลุม เป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ที่มีความกว้าง 30 เซ็นติเมตรถึง 1 เมตร ความลึก 1 เมตร 20 เซนติเมตร -1 เมตร 50 เซนติเมตรขุดให้ลึกทะลุชั้นดินเหนียวซึ่งเป็นชั้นอุ้มน้ำลงไป จากนั้นนำท่อพีวีซีขนาดพอเหมาะประมาณความกว้าง 1-2 นิ้ว วางตรงกลางบ่อตั้งฉากแล้วใส่ก้อนหินรองพื้นก่อนก้นหลุมเป็นลำดับแรก ประมาณ 30 เซ็นติเมตรจากนั้นใส่ชั้นทรายหรือก้อนหินหยาบขนาดเล็กวางในชั้นที่ 2 ให้เต็มหลุม แล้วปูผ้าตาขายลงไป จากนั้นใช้ท่าพีวีซีสามตามาคลุมปากท่อพีวีซีอีกครั้ง รวมค่าใช้จ่ายในการทำต่อหลุมประมาณ 3,900 บาท ทั้งนี้การขุดไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากและไม่ต้องเปิดหน้าดินเป็นวงกว้าง ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหากมีความต้องการที่จะปรับพื้นที่บริเวณทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (แบบปิด) นี้แนะนำให้ปลูกหญ้าแฝกคลุมดินบริเวณพื้นที่รอบ ๆเพื่อความชุ่มชื้นในบริเวณดังกล่าว

ธนาคารน้ำใต้ดิน

ข้อดีของธนาคารน้ำใต้ดิน (แบบปิด)

สายันต์ ฉุนหอม วิทยากร อปท. ต้นแบบการจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) ภาคกลาง กล่าวว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน (แบบปิด) ของตำบลหนองมะโมงนี้มีนอกจากจะได้นักวิชาการ นักธรณีวิทยา มจธ. มาร่วมทำโครงการแล้ว ทางนายกเทศบาลตำบลหนองมะโมงได้ไปศึกษาดูงานการทำโครงการนี้จากตำบลเกาะขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมาปรับใช้อีกทางหนึ่งด้วยเพราะพื้นที่ทั้งสองมีความคล้ายกันตรงเป็นพื้นที่ค่อนข้างสูงมากกว่าพื้นที่อื่น ๆแม้จะมีแม่น้ำรึสายสำคัญเป็นแหล่งน้ำใช้อุปโภคบริโภคแต่ในหลายครั้งจากการขาดแคลนหากภาวะฝนแล้ง และภาวะน้ำท่วมจะไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้

สำหรับข้อดีของการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน (แบบปิด) หากทำเป็นระบบภายในชุมชนจะสามารถเชื่อมต่อกักเก็บน้ำไว้ใช้จำนวนมากได้เพราะน้ำที่ไหลจากฝนตกรึช่วงน้ำท่วมจะไหลลงบ่อใต้ดินอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนนั้นความสามารถของธนาคารน้ำคือสามารถรีชาร์ตน้ำลงบ่อได้รวดเร็ว ลดการท่วมขังในพื้นที่ ส่วนหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่กักเก็บไว้มาใช้ได้ ซึ่งในพื้นที่ชุมชนมะโมงสามารถเก็บน้ำได้สูงสุดต่อบ่อประมาณ 6,000 มิลลิเมตรต่อวันในช่วงหน้าฝน 3,000 มิลลิเมตรต่อวันในช่วงหน้าแล้ง เพราะมีการศึกษาจุดที่จะทำโครงการที่เหมาะสม

นอกจากนี้การทำธนาคารยังช่วยทำให้ดินชุ่มน้ำและอุ้มน้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ทำธนาคารเกิดตาน้ำ หรือ ทางน้ำเล็กๆที่อยู่ใต้ดิน มีน้ำไหลตลอดไม่ขาดสาย และหลังจากนั้นประชาชนก็จะสามารถขุดน้ำบาดาล และน้ำประปาขึ้นมาใช้ได้โดยไม่ต้องซื้อน้ำเหมือนที่ผ่านมา ส่วนข้อควรตระหนักในการทำโครงการนี้คือ ไม่ควรเลือกบริเวณพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม, ใกล้บ่อบำบัดน้ำเสียจากแหล่งก่อมลพิษ, พื้นที่ทางการเกษตรที่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงที่สูง เพราะน้้ำในดินจะปนเปื้อนด้วยสารเคมีต่างๆ เมื่อนำไปใช้จะเกิดโทษมากกว่าประโยชน์ และไม่ควรขุดหลุมให้ลึกมากกว่า 3 เมตรเพราะหากลึกกว่า 3 เมตรจะมีพ.ร.บ.น้ำบาดาลเข้ามาควบคุมทันที จึงควรระวัง

ทำความรู้จักโครงการการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินพื้นที่ชุมชนหนองมะโมง

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า โครงการการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นที่ชุมชนหนองมะโมง เป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการออกแบบและวางแผนระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่ (Geodatabase) เช่น ข้อมูลการตรวจวัดทางสถิติด้านทรัพยากรแหล่งน้ำ แผนผังการบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ เพื่อวางแผนและออกแบบการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดินที่สามารถจัดสรรการใช้ประโยชน์ด้านทรัพยากรแหล่งน้ำในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในชุมชน มีการศึกษาทั้งข้อมูลทางด้านกายภาพ ได้แก่ สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ชุมชน สภาพทางธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ขอบเขตลุ่มน้ำ ทางน้ำ ระดับน้ำและทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน ศักยภาพแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ข้อมูลพื้นที่ประสบปัญหาด้านภัยแล้ง น้ำท่วม และจัดทำเป็นแผนที่แสดงข้อมูลด้านต่าง ๆ ในมาตราส่วนที่มีความเหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และเตรียมรับมือกับสภาพปัญหาด้านน้ำในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการติดตามตรวจวัดค่าข้อมูลในเชิงสถิติทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำมาประเมินผล ความคุ้มทุน คุ้มค่าผลประโยชน์ ต่อชุมชน และเสนอเป็นแผนงานการบริหารจัดการน้ำ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนและท้องถิ่นต่อไป

ปัจจุบันการทำงานที่นำระบบสารสนเทศมาใช้สามารถบ่งชี้รายละเอียดการวัดคุณภาพน้ำว่ามีค่าความเป็นกรด เป็นด่างมากน้อยเท่าใด ,การใช้น้ำออกจากบ่อแต่ละพื้นที่ใช้ออกวันละเท่าใดหรือในแต่ละบ่อมีน้ำเข้าวันละเท่าไรและพื้นที่ไหนไม่สามารถที่จะขุดทำโครงการได้ เป็นต้น ในอนาคตพื้นที่ชุมชนหนองมะโมงนี้จะเป็นพื้นที่ใช้สำหรับศึกษาดูงานของชุมชนต่าง ๆ ที่สนใจและขาดแคลนน้ำใช้อุปโภคบริโภคในยามน้ำแล้งน้ำท่วมโดยเฉพาะชุมชนที่ราบสูงบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,บริเวณภาคเหนือ และจะนำไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save