ดร.สมคิด แนะไทยใช้จุดแข็งด้าน “Healthcare-Food” สร้างคน สร้างนวัตกรรม และสร้างโอกาสขับเคลื่อนประเทศหลัง COVID-19


ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เช่น โครงการยุวชนอาสา โครงการ อว.สร้างงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และโครงการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะชั้นสูง ตามความต้องการของประเทศ (Manpower : Reskill/Upskill) เพื่อสร้างคน สร้างงาน สร้างนวัตกรรม และสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศรับมือการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ พร้อมแนะ อว.ต่อยอดภารกิจจากวิกฤต COVID-19 สร้างระบบนวัตกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) และทางด้านอาหาร (Food) ด้วยงานวิจัยที่เป็นจุดแข็งจากภายในเพื่อเป็นฐานด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นอกจากที่จะรับทราบความคืบหน้าการทำงานในโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการยุวชนอาสา โครงการ อว.สร้างงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และโครงการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะชั้นสูง ตามความต้องการของประเทศ (Manpower : Reskill/Upskill) เพื่อสร้างคน สร้างงาน สร้างความรู้ สร้างนวัตกรรม และสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศรับมือการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทาง อว.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการการสนับสนุนการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สร้างนวัตกรรมการแพทย์ที่เป็นผลงานของคนไทย เพื่อทดแทนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดแคลน เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยชนิดต่าง ๆ อุปกรณ์ป้องกันและวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ เช่น หน้ากาก N95, ชุดปลอดเชื้อและหน้ากากความดันบวก (PPE และ PAPR), พัฒนาระบบไอที และ AI (Artificial Intelligence) เพื่อนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนทั้งการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนสนับสนุนการใช้ชีวิตในสมดุลวิถีใหม่ สนับสนุนการวิจัยยาและวัคซีน COVID-19 เพื่อให้คนไทยได้มีวัคซีนใช้เป็นลำดับแรก ๆ ของโลก ทราบว่าในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการทดสอบ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้กับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรการในการดูแลและบริหารสถานการณ์ในประเทศไทยให้สามารถควบคุม COVID-19 ให้คลี่คลายลงและพร้อมต่อยอดระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยให้เข้มแข็งจากภายในเพื่อเป็นฐานทางด้านการแพทย์ในอนาคต

นอกจากนี้ อว.ได้มีการจัดทำนวัตกรรมในเรื่องอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมมาโดยตลอดให้มีความเข้มแข็งทางด้านอาหารแห่งอนามัยเพื่อที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นครัวโลกต่อไป

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ด้าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยถือเป็นจุดแข็งของประเทศ สามารถต่อยอดในการปรับระบบการแพทย์ของประเทศไทยและสร้างฐานระบบนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม (Healthcare Reinvention) ซึ่ง อว.ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยได้วางแผนที่จะทำในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัยทางคลินิก ระบบการแพทย์ทางไกล สมุนไพรและการแพทย์พื้นบ้าน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โภชนเภสัช อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ การพัฒนายาและวัคซีน การรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์สำหรับคนไทยและต่างชาติ ซึ่ง อว.พร้อมจะขับเคลื่อนโดยใช้กลไกทั้งการสร้างคน สร้างงาน สร้างความรู้ สร้างนวัตกรรมที่จะผลักดันให้ระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากภายใน และเป็นฐานด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

สำหรับการพัฒนาวัคซีน COVID-19 สำหรับคนไทยให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงในราคาที่ไม่แพงถือเป็นเรื่องสำคัญ จคงได้ระดมกำลังจากทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเพื่อให้มีวัคซีนใช้งานได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ โดยใช้ 3 แนวทางการทำงานควบคู่กันไป คือ การสนับสนุนการวิจัยในประเทศ การร่วมมือกับเครือข่ายนานาชาติ และการทำงานจตุรภาคีกับผู้ผลิต ภาควิชาการ ภาครัฐ และเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันวัคซีนของไทยอยู่ระหว่างการทดสอบในลิง ซึ่งถ้าการทดสอบได้ผลเป็นที่น่าพอใจคาดว่าสามารถนำวัคซีนไปทดสอบในมนุษย์ใด้ในปีนี้

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การทำงานของ อว.ในรอบปีที่ผ่านมา ในการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะใหม่ ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการยุวชนอาสา เป็นโครงการภายใต้แผนงานยุวชนสร้างชาติ ที่เริ่มเมื่อเดือนมกราคม 2563 โดยส่งเสริมนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในหลากหลายสาขาวิชา จำนวน 800 คน จาก 7 มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำงานร่วมกับชุมชนนำร่องในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีโครงการทั้งสิ้น 83 โครงการ กระจายอยู่ใน 16 อำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจะมีการกำกับดูแลให้คำแนะนำจากอาจารย์ นักวิชาการ และผู้นำชุมชน ในการทำโครงการพัฒนาชุมชน ซึ่งโครงการมีความหลากหลายตามความต้องการของชุมชนทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร, การทำ Smart Farming หรือการจัดการขยะชุมชน เป็นต้น นอกจากจะพัฒนานักศึกษาจากการเรียนรู้ในการทำงานจริงแล้วยังส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง และการมีส่วนช่วยในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นด้วย โครงการ อว.สร้างงาน เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งทำให้เกิดคนว่างงานจำนวนมาก โดยใช้หน่วยงานภายใต้ อว. จำนวน 42 หน่วยงาน ประกอบด้วย 39 มหาวิทยาลัยรัฐ และ 3 หน่วยงานวิจัยของ อว. จ้างงานประชาชนประมาณ 10,000 คน เป็นระยะเวลา 4-5 เดือน โดยได้รับค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท โดยผู้ได้รับการจ้างจะได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นในด้านต่าง ๆ และงานที่มอบหมายผู้จ้างงานจะเป็นไปตามภารกิจของหน่วยจ้างงานที่ได้ทำงานในชุมชนเหล่านั้นอยู่ก่อน เช่น การทำแผนที่ป่า, การพัฒนาการเกษตรปลอดภัย, การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน, การจัดการน้ำชุมชนและการจัดการขยะชุมชน เป็นต้น สำหรับในระยะที่ 2 เป็นการจ้างงานในรูปแบบเดียวกับระยะที่ 1 โดยขยายหน่วยจ้างงานเป็น 72 หน่วยงาน ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งจะจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 32,000 คน มีภารกิจครอบคลุมการทำงานในชุมชนเช่นเดียวกับระยะที่ 1 และการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการรายย่อย SME, การทำงานกับหน่วยวิจัยและหน่วยราชการ ซึ่งการจ้างงานในระยะที่ 2 นี้ยังอยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลาง พ.ศ. 2563 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน โดยใช้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการดูแลพื้นที่ในระดับตำบลแบบบูรณาการ ในพื้นที่ 1 ตำบลที่มีโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐเข้าไปดำเนินการจะมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 1 มหาวิทยาลัยในการบูรณาการโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน, การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน มีแผนการพัฒนาที่มีความชัดเจน ในแต่ละตำบลจะจ้างงานประชาชนไม่น้อยกว่า 20 คน และนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม มาพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน การพัฒนาการตลาดและสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ การส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน การส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน และด้านอื่น ๆ โดยในระยะแรกจะครอบคลุม 3,000 ตำบลและจะขยายให้ครบ 7,900 ตำบลทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณจาก พ.ร.บ.เงินกู้แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โครงการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะชั้นสูง ตามความต้องการของประเทศ (Manpower : Reskill-Upskill) อว.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ใช้จุดแข็งของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาออกแบบหลักสูตร เสริมทักษะ Reskill/Upskill ระยะสั้น-ระยะยาว ใน 8 กลุ่มทักษะนำร่องขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มและทุกภาคส่วนของประเทศ ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการหางานในอนาคตหลังวิกฤต COVID-19 สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาทักษะของตนเอง และ SME ที่ต้องการพัฒนาทักษะแรงงานให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดย อว. สนับสนุนค่าลงทะเบียน 95-100% และเป็นหลักสูตรในรูปแบบ Online, โครงการจัดตั้งหน่วยรับรองมาตรฐานหลักสูตรและหน่วยฝึกอบรมเพื่อการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ ภายใต้มาตรการ Thailand Plus Package สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ โดยผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่ายตามประกาศกำหนด Future Skills Set ทักษะความเชี่ยวชาญซึ่งเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน จากการสำรวจข้อมูลตำแหน่งงานซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ, โครงการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC : Eastern Economic Corridor Human Development Center) เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ตามนโยบาย Demand Driven เน้นการพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่กลุ่มการศึกษาพื้นฐาน, กลุ่ม STEM และในระดับอาชีวะและอุดมศึกษา ปรับสู่ Demand Driven Education ที่มีการจัดการศึกษาในแบบ EEC Model Type A เพื่อลดการศึกษาแบบแก่งแย่ง สู่ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการในพื้นที่ สนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่างภาครัฐกับเอกชนในสัดส่วน 50:50 เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สร้างทักษะได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมภายใต้แพลตฟอร์ม Future Skill New Career Thailand มุ่งเป้าไปที่3 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต และอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนาและจัดหลักสูตร Non Degree ที่สามารถตอบโจทย์พัฒนาทักษะกำลังคนได้อย่างแท้จริง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save