BOI เผยยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกในระยะ 4 ปี เน้น 5 อุตสาหกรรมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ พร้อมอนุมัติ 6 โครงการ เงินลงทุน 41,086 ล้านบาท


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เผยผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) นัดแรกภายใต้รัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า บอร์ดบีโอไอเดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกในระยะ 4 ปีข้างหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2567 – 2570 โดยให้ความสำคัญกับ 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่จะผลักดันประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมกลุ่ม BCG โดยเฉพาะเกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด 2.อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของผู้ผลิตรถยนต์รายเดิมไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และส่งเสริมการบริหารจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้แล้ว 3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำต้นน้ำและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 4.อุตสาหกรรมดิจิทัลและสร้างสรรค์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และ5.การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาค (Regional Headquarters:RHQ) รวมถึงการดำเนินชีวิตแก่ชาวต่างชาติอย่างครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ พร้อมอนุมัติ 6 โครงการ ลงทุน 41,086 ล้านบาท

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) นัดแรกภายใต้รัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้มอบหมายให้ ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานบอร์ดบีโอไอ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกในระยะ 4 ปี ข้างหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2567 – 2570 โดยให้ความสำคัญกับ 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่จะผลักดันประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมกลุ่ม BCG โดยเฉพาะเกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด 2.อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของผู้ผลิตรถยนต์รายเดิมไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และส่งเสริมการบริหารจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้แล้ว 3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำต้นน้ำและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 4.อุตสาหกรรมดิจิทัลและสร้างสรรค์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และ5.การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ

โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาค (Regional Headquarters:RHQ) รวมถึงการดำเนินชีวิตแก่ชาวต่างชาติอย่างครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ ตอบโจทย์กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้แก่ 1.การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Transformation) 2.การพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technology Development) 3.การพัฒนาและดึงดูดบุคลากรทักษะสูง (Talent Development & Attraction) 4. การส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ (Cluster-based Investment) และ 5. การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน (Ease of Investment) ซึ่งBOI จะทยอยออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก

“สำหรับในช่วง 2 – 3 ปีจากนี้ เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการลงทุนทั่วโลก เพราะมีการปรับโครงสร้างซัพพลายเชนครั้งใหญ่ และเกิดการย้ายฐานการลงทุนมุ่งหน้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ถือเป็นโอกาสทองของประเทศไทย เนื่องจากมีความโดดเด่น ด้วยจุดแข็งที่อยู่ใจกลางอาเซียน มีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ไทยถือเป็นประเทศที่มีซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมสำคัญที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญในการผลักดันการลงทุนอย่างมาก เพราะเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน การเสนอยุทธศาสตร์เชิงรุกในครั้งนี้ บีโอไอจะร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสร้างมาตรการใหม่ ๆ และพัฒนาระบบนิเวศ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป” นฤตม์ กล่าว

นอกจากนี้บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการลงทุน รวม 6 โครงการ มูลค่า 41,086 ล้านบาท ได้แก่

  1. โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และรถยนต์แบบผสมเสียบปลั๊ก บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด มูลค่าลงทุน 8,862 ล้านบาท มีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) 58,000 คันต่อปี และรถยนต์แบบผสมเสียบปลั๊ก (PHEV) 36,000 คันต่อปี
  2. โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องด้วยเครื่องกังหันไอน้ำ บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์ขยะมูลฝอยหนองแขม กรุงเทพมหานคร
  3. โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องกังหันไอน้ำ บริษัท นิวสกาย เอ็นเนอร์จี (แบงค็อก) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร
  4. โครงการ Data Center บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด มูลค่าการลงทุน 3,586 ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  5. โครงการขนส่งทางอากาศ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าการลงทุน9,314 ล้านบาท ในการจัดซื้อเครื่องบินโดยสาร จำนวน 5 ลำ ความจุผู้โดยสารรวม 1,670 ที่นั่ง สามารถบรรจุสินค้ารวม 303 ตัน
  6. โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยว บริษัท ส้งเฉิง โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 9,540 ล้านบาท จังหวัดชลบุรี

นฤตม์ กล่าวว่า สำหรับสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี พ.ศ.2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ.2566 เงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีมูลค่า 270,908 ล้านบาท จาก 533 โครงการ รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง 111,810 บาท จาก 576 โครงการ อันดับสาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29,428 ล้านบาท จาก 74 โครงการ อันดับสี่ ได้แก่ ภาคเหนือ 14,281 ล้านบาท จาก 66 โครงการ อันดับห้า ภาคใต้ 12,529 ล้านบาท จาก 71 โครงการ และ อันดับหก ภาคตะวันตก 11,376 ล้านบาท จาก 38 โครงการ

ในส่วนคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี พ.ศ.2566 ระหว่างเดือน มกราคม-สิงหาคม พ.ศ.2566 มีจำนวน 801 โครงการ เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี พ.ศ.2565 เงินลงทุน 365,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี พ.ศ.2566 โดยประเทศจีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด 90,346 ล้านบาท จาก 228 โครงการ โดยส่วนใหญ่ ลงทุนในอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อันดับสอง ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เงินลงทุน 76,437 ล้านบาท จาก 114 โครงการ เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และแผ่นวงจรพิมพ์ และอันดับสาม เงินลงทุน 40,554 ล้านบาท จาก 156 โครงการ ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นอกจากนี้สถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกของปี พ.ศ.2566 ระหว่างเดือน มกราคม-สิงหาคม พ.ศ.2566 มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 1,375 โครงการ เพิ่มขึ้น 33% และมีมูลค่าเงินลงทุน 465,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี พ.ศ.2565 ทั้งในแง่จำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุน แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 152 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 184,961 ล้านบาท อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร 188 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 55,959 ล้านบาท อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 135 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 37,406 ล้านบาท ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 80 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 21,124 ล้านบาทและการท่องเที่ยว 7 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12,933 ล้านบาท

ส่วนอุตสาหกรรมใหม่ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการแพทย์ 35 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 5,262 ล้านบาท อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 12 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2,492 ล้านบาท อุตสาหกรรมดิจิทัล 64 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1,833 ล้านบาท อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ 14 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1,640 ล้านบาท และอุตสาหกรรมอากาศยาน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุน 344 ล้านบาท รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สาธารณูปโภค นิคมอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ มูลค่าการลงรวม 141,104 ล้านบาท

นฤตม์ กล่าวว่า สำหรับการออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด ในช่วง 8 เดือนแรกของปี พ.ศ.2566 ระหว่างเดือน มกราคม-สิงหาคม พ.ศ.2566มีการออกบัตรส่งเสริมจำนวน 1,106 โครงการ เพิ่มขึ้น 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี พ.ศ.2565 เงินลงทุนรวม 288,708 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี พ.ศ.2565 ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจริงจำนวนมากในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้า

ส่วนปัจจัยเสี่ยงในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติทั้งรายเดิมและรายใหม่ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่มาจากความเชื่อมั่นในนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการโรดโชว์มาตรการสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนเพื่อแสดงความเชื่อมั่นและพบปะกับนักลงทุนให้มากยิ่งขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save