สมาคมโรคเต้านมฯ – ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมฯ ดึงบุ๋ม -ปนัดดา เปิดตัวแคมเปญ HER WILL เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมะเร็ง


กรุงเทพ: เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงไทยห่างไกลจากภัยมะเร็งเต้านม  ล่าสุด สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย (Thai Breast Disease Society: TBS) ร่วมกับชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย (Thai Breast Cancer Community: TBCC) นำร่องแคมเปญเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ HER WILL “เพื่อเธอเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมเปิดตัว แคมเปญแอมบาสซาเดอร์   บุ๋มปนัดดา วงศ์ผู้ดี ในฐานะผู้หญิงแกร่งที่จะมาร่วมเป็นกระบอกเสียงเพื่อต่อสู้กับมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตหญิงไทยเป็นอันดับหนึ่ง โดยภายในงานได้รับเกียรติจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลายท่าน อาทิ   นุ๊กซี่อัญพัชญ์ วัฒนาตันติรัตน์ ที่เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์การการวินิจฉัย แนวทางการรักษา และมุ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองและปัญหาด้านช่องว่างทางการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อผลักดันการขยายโอกาสทางการรักษาที่เท่าเทียม รวดเร็ว และมีคุณภาพยิ่งขึ้น

 

พลโท.รศ.นพ. วิชัย วาสนสิริ นายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มะเร็งเต้านมถือเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งมีแนวโน้มของอัตราการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[1] โดยในปี พ.ศ. 2563 เพียงปีเดียวพบผู้ป่วยรายใหม่สูงถึง 22,158 ราย[2] และยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ดี หากตรวจพบในระยะแรกเริ่ม มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ถึง 90% – 100%  ด้วยเหตุนี้ จึงริเริ่มแคมเปญ HER WILL ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งกระตุ้นเตือนสตรีไทยให้ตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ และเริ่มต้นการรักษาให้เร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการหายขาดมากขึ้น”

ปัจจุบัน นวัตกรรมการรักษามะเร็งเต้านมมีหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับประเภทความผิดปกติของยีนและระยะของโรค ไม่ว่าจะเป็นยามุ่งเป้าที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับผลข้างเคียงที่น้อยลงเมื่อเทียบกับแนวทางการรักษาในอดีต จากสถิติพบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักพบ HER2-positive ซึ่งส่งผลให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้นและตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนน้อยลง[3]

“นวัตกรรมยามุ่งเป้าที่พัฒนาขึ้นใหม่จึงนับได้ว่ามีส่วนยกระดับคุณภาพการรักษา เนื่องจากกลไกการทำงานของยามุ่งเป้าชนิดใหม่นี้ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง ช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้ดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีอัตราการรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ว่าแนวทางการรักษาโดยใช้ยามุ่งเป้าชนิดใหม่ควบคู่กับยามุ่งเป้าชนิดเดิมที่มีอยู่ ประกอบกับการทำเคมีบำบัดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้ดียิ่งกว่าการใช้ตัวยามุ่งเป้าชนิดเดิมเพียงอย่างเดียว และสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งในระยะแรกก่อนผ่าตัด ไปจนถึงระยะแพร่กระจาย โดยช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ลดขนาดของก้อนมะเร็ง รวมไปถึงลดโอกาสการกลับมาของมะเร็งหลังผ่าตัด จนอาจกล่าวได้ว่ายามุ่งเป้าชนิดใหม่สามารถเพิ่มโอกาสการหายขาดของโรคมะเร็งเต้านมได้ในผู้ป่วยบางรายด้วย” พลโท.รศ. .นพวิชัย กล่าว

อรวรรณ โอวรารินท์ ประธานชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางชมรมฯ เป็นพันธมิตรกับสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม  แม้มะเร็งเต้านมจะเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย  แต่กลับพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังขาดข้อมูลหรือความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษาที่เหมาะสม  อาทิ ผู้ป่วยบางรายหันไปพึ่งพาการรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แนวทางการรักษามาตรฐานที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทางการแพทย์ อีกทั้งพบผู้ป่วยบางรายแยกตัวโดดเดี่ยวอย่างไร้ความหวังในชีวิต ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ดูแล อดีตผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีจิตอาสาจากโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือกันของกลุ่มผู้ป่วยในประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูลการดูแลร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วย จัดกิจกรรมเย็บเต้านมเทียมเพื่อแจกจ่าย ที่สำคัญคือผลักดันให้เกิดความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นและอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น  ดังนั้น ชมรมมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมสานต่อแคมเปญดี ๆ อย่าง HER WILL ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้หญิงและผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย

 นอกจากนี้ ภายในงานเปิดตัวแคมเปญยังเผยแพร่คลิปวิดีโอ HER WILL “เพื่อเธอเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์การรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะต่างๆ รวมทั้งเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเป็นด้านการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย หรือการรักษา โดยหวังว่าคลิปวีดีโอนี้จะมีส่วนกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงใส่ใจการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมถึงเข้ารับการตรวจ Mammogram อย่างสม่ำเสมอเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป หรืออายุ 25 ปีขึ้นไปควรตรวจเดือนละครั้ง เพราะหากพบแพทย์แต่เนิ่นๆ ย่อมมีแนวโน้มที่อัตราการรอดชีวิตจะสูง แต่หากเข้ารับการรักษาในระยะแพร่กระจายแล้ว การเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพก็มีส่วนสำคัญต่อเส้นทางการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเช่นกัน

รู้ไว เริ่มเร็ว หายทัน

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี หรือ บุ๋ม แคมเปญแอมบาสซาเดอร์ กล่าวว่า  ได้ลงพื้นที่ทำด้านนี้เป็นระยเวลา 8 ปีแล้ว พบว่าพอมีผู้ป่วยมะเร็ง 1 คน  ทำให้คนในครอบครัวลำบากมากขึ้น มีกรณีแม่เป็นมะเร็งเต้านมระยะมากแล้ว  มีลูกชายในวัยไม่กี่ขวบต้องนอนใต้เตียง เพราะเตียงนอนไม่พอ ต้องให้แม่นอนรักษาตัว   และทุกวันนี้มีผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงมาก

“จะเห็นได้ว่าทุกชีวิตและทุกช่วงเวลามีค่าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารักและคนที่รักเรา อยากขอใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นกระบอกเสียงเพื่อเน้นย้ำถึงปัญหาสุขภาพระดับชาติอย่างมะเร็งเต้านม และความสำคัญของการ ‘รู้ไว เริ่มเร็ว หายทัน’ ที่มีค่าอย่างยิ่งต่ออัตราการรอดชีวิตและโอกาสการในการหายขาดของผู้หญิงไทย ดังนั้น เราไม่ควรนิ่งนอนใจที่จะเอาใส่ใจดูแลตัวเองและคนที่คุณรักก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป บุ๋มขอเชิญชวนผู้หญิงทุกคนหมั่นตรวจคลำเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอและเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง Mammogram ทุกปี โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อยและหมดประจำเดือนช้า ยังไม่มีบุตร มีภาวะอ้วน และรับประทานยาคุมกำเนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน”  ปนัดดา กล่าว

ทั้งนี้ ขอฝากแคมเปญ HER WILL กับทุกคน เพื่อโลกที่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมลดลง เพื่อโลกที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถหายขาดได้ เพื่อโลกที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมยังสวยและมั่นใจได้ เพราะไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออก และเพื่อโลกที่มะเร็งเต้านมไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป เราทุกคนจะสู้ไปด้วยกัน เพื่อเธอ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

อัญพัชญ์ วัฒนาตันติรัตน์  หรือนุ๊กซี่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่พบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม (ประมาณ 5 เดือน) กล่าวว่าคนจำนวนไม่น้อยอาจเข้าใจผิดว่าการรู้ไวเป็นเรื่องน่ากลัว แต่กลับกัน โรคมะเร็งเต้านมเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ดังนั้น การรู้ไวและวินิจฉัยเร็วจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยชีวิตผู้หญิงไทยหลายต่อหลายคน รวมถึงตัวเอง เพราะนั่นคือการเพิ่มแนวโน้มที่จะหายขาดจากโรคมะเร็งเต้านม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมและปลดล็อคความหวาดกลัว เตรียมสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย รวมถึงร่วมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมคนหนึ่ง

“การรักษาของตัวเอง คือ การ Balance  ชีวิต มองการไปโรงพยาบาลเป็นเรื่องของความสนุก   ยอมรับ และปรับชีวิตของตนเอง”  อัญพัชญ์ กล่าว

ล่าสุดมีแคมเปญ HER WILL คอยอยู่เคียงข้างผู้หญิงไทย เพื่อรณรงค์การรู้ไว เริ่มเร็ว หายทัน และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างเพื่อนผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่กำลังต่อสู้กับโรคร้ายนี้ไปด้วยกัน  อัญพัชญ์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่แคมเปญดังกล่าว

และขอเป็นอีกกระบอกเสียงร่วมสร้างความตระหนักและรณรงค์ให้ผู้หญิงไทยเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และหมั่นตรวจคลำเต้านมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก เพื่อโลกที่มะเร็งเต้านมจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

ไอรีล ไตรสารศรี  (ขวา)

 ไอรีล ไตรสารศรี  หรือ ออย กล่าวว่า ตนเองมีประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ทำให้มีแรงบันดาลใจในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง โดยในปีพ.ศ.2554  ได้ตรวจพบเซลล์มะเร็งระยะที่ 2 ตั้งแต่อายุ 21 ปี    ทั้งๆ ที่เป็นนักกีฬาเทควันโดร่างกายแข็งแรงที่สุดในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว โดยมะเร็งได้ลุกลามมาที่ต่อมน้ำเหล่อง    ขณะนั้นไม่รู้ว่าเวลาในชีวิตจะเหลือเท่าไร จึงมองเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นพลังบวก เพราะป่วยเป็นมะเร็งนานแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่ ในเมื่อเลือกที่จะไม่เป็นไม่ได้ แต่ขอเลือกที่จะมีมุมมองด้านบวก

ในประเทศไทย ยังมีผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่มีความรู้ด้านข้อมูลการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากมีข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก แต่หลายข้อมูลยังไม่ถูกต้อง และผู้ป่วยยังแยกแยะไม่ได้ และไม่สามารถนำมาปรับใช้ในการรักษา จึงเสนอให้  1.มีการพัฒนาแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง  2. ประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่เหมาะสมและถูกต้อง

“ส่วนตัวเคยให้ยามุ่งเป้า ที่เข้าถึงได้ เพราะมีกำลังจ่ายต้องเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 2 แสนบาท  ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งยามุ่งเป้ามี Effect ที่ต่างกันและสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับยามุ่งเป้าแบบนี้” ไอรีล  กล่าว

ในเรื่องดังกล่าว สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย โดย พลโท.รศ.นพ. วิชัย วาสนสิริ นายกสมาคมฯ  ได้เรียกร้องไปถึงผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องให้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมะเร็งได้ใช้ยาต้าน HER2-positive   ในวงกว้างมากขึ้น จากเดิมที่ให้สิทธิ์ต่อเมื่อมะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองก่อนถึงจะใช้สิทธิ์เบิกได้  เพราะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากมะเร็งสูงถึง 50%

แคมเปญ HER WILL ยังได้รับการอนุเคราะห์จาก บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด บริษัท แพลน บี มีเดีย จํากัด (มหาชน) และ TikTok ที่จะร่วมสร้างและส่งต่อความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และร่วมรณรงค์การ  ‘รู้ไว เริ่มเร็ว หายทัน’ ในลำดับต่อไป

ขอเชิญชวนชาวไทย ร่วมทำแบบสอบถามประเมินความเสี่ยงมะเร็งเต้านมฟรีได้ที่ https://herwill.wellcancer.com  เพื่อร่วมรณรงค์ต่อสู้กับมะเร็งเต้านม เพื่อชีวิตของเขาและเธอ ไปพร้อม ๆ กัน

หมายเหตุ

[1] สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/148394)

2 Global Cancer Obsrvatory, World Helath Organisation (https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheets.pdf)

3 สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=305


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save