ซิสโก้ชี้ Workplace ในอนาคตเปลี่ยนการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นรับมือ COVID-19


ซิสโก้ชี้ Workplace ในอนาคตเปลี่ยนการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นรับมือ COVID-19

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ไปยังทั่วโลก ส่งผลให้องค์กรทั่วโลกมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมรูปแบบการทำงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และกลายเป็น New Normal หรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การทำงานของผู้คนในปัจจุบัน ทั้งนี้ WFH เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปแบบการทำงานในยุคดิจิทัลเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่ธุรกิจกำลังมองหาคือ ทำอย่างไรให้พนักงานมีการทำงานร่วมกันจากที่ไหนก็ได้ ประสานงานร่วมกันได้ทันทีเหมือนอยู่ที่เดียวกัน และแก้ปัญหาร่วมกันได้ทุกเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกว่า “Workspace Transformation” หรือการเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพบนข้อมูลเดียวกัน ซึ่งอาศัย 3 ปัจจัยหลักคือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี

เมื่อ 17 ปีที่ผ่านมา วิกฤต SARS ที่ประเทศจีน ได้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขณะที่วิกฤตเชื้อ COVID-19 ได้จุดเปลี่ยนที่สำคัญครั้งใหญ่ของรูปแบบการทำงาน และเป็นแรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์เข้าสู่โหมด “วิถีชีวิตแบบดิจิทัล”อย่างแท้จริง ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ได้ประเมินว่า ภายในปี พ.ศ. 2567 การทำงานแบบรีโมทจะส่งผลกระทบต่อการประชุมขององค์กร โดยการประชุมแบบ Face to Face จะเกิดขึ้นเพียง 25% ลดลงจากเดิมที่สูงถึง 60% และ 64% ของคนทำงานในปัจจุบัน นั่นหมายถึงว่าพวกเขาจะสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการทำงานในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงผลสำรวจ ETDA ฉบับล่าสุดชี้ว่า คนไทยกว่า 70% เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และกว่า 94% เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้เกิด Workplace Transformation อย่างรวดเร็ว

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์

Workplace ในอนาคต เปลี่ยนการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นรับมือ COVID-19

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า Workplace ในอนาคต ทำให้การทำงานต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรับมือ COVID-19 โดยในปี พ.ศ. 2563นี้ มีการสร้างข้อมูลใหม่ ๆ 500%ส่วนองค์กรจะมีสัดส่วนสูงถึง 90% ที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ไกลเกินจริง และปัจจุบันการทำงานจะสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก 35%

Workplace Transformation

ทั้งนี้ซิสโก้ได้นำประสบการณ์ในการทำ Workplace Transformation มาแบ่งปัน โดย Workplace Transformationประกอบด้วย 1. ทำงานที่บ้าน เหมือนทำงานที่ออฟฟิศ จะเห็นได้ว่าพนักงานมีความเป็น Mobile มากขึ้น สามารถเปลี่ยนเป็น Mobile Office ซึ่งซิสโก้ทำมากว่า10 ปีแล้ว 2.ให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้เกิดความคล่องตัวสูง Remote Mobility 3. TeleCommuteซิสโก้ให้โอกาสพนักงานทำงานจากบ้านเป็นเวลานานแล้ว 90% ของพนักงานซิสโก้ทำงาน TeleCommuteทั่วโลก โดยพนักงานซิสโก้ 48% ทำงานกับพนักงานในต่างประเทศทั่วโลก และ 59% ทำงานกับผู้บริหาร

“ในการทำ Work From Home ซิสโก้ได้ลองผิดลองถูกพอสมควร ซึ่งพบว่าพนักงานสามารถลดค่าใช้จ่ายปีละกว่า 30,000 บาท ทั้งค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ที่สำคัญทำให้พนักงานมีความพึงพอใจ และผูกพันต่อองค์กร 23% อัตราการลาออกของพนักงานต่ำกว่า30% อีกทั้งบริษัทฯ ยังสามารถลดจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ และค่าสาธารณูปโภคน้ำ-ไฟลงได้” วัตสันกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญ

3 ประสบการณ์หนุนทำ Work Place ที่ดี

Work Place

สำหรับประสบการณ์ในการทำ Work Place ที่ดี ประกอบด้วย 1. ปรับ Work Place ให้เหมาะสม มีความสบาย โดยมีขั้นตอน ระบบ และกระบวนการสุดท้าย ในเรื่องของการประชุม Collaboration, Virtual Private Network ตอบโจทย์ในการเข้ารหัส ที่สำคัญคือ การเชื่อมต่อเข้าระบบ 2. Collaborationเครื่องมือ แอพพลิเคชั่นต่างๆ ใช้ในการประชุมทางไกลเสมือนจริง3. รูปแบบการทำงานจากออฟฟิศไปยังคลาวด์ที่ โดยมีระบบความปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ซิสโก้มีโซลูชั่นตอบโจทย์ทั้ง 3 ประเภท โดยโซลูชั่นด้านเครือข่ายมีระบบ VPN ซอฟต์แวร์ Cisco Webex และระบบ Security การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) นอกจาก Collaboration จะต้องพูดถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ด้วย เช่น ความปลอดภัย VPN และ ดาต้าเซ็นเตอร์สรุปคือ WFH ต้องการพัฒนา Facility ให้ดีมากยิ่งขึ้น สามารถเลือกที่ทำงานได้ องค์กรต้องมี Feasibility ที่มั่นใจว่า ระบบนี้พนักงานจะทำงานจริงและคุ้มค่า” วัตสัน กล่าว

Cisco Webexนิยมใช้ประชุมระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เปิดให้ใช้งานฟรี 3 เดือน โดยไม่จำกัดเวลา

Cisco Webex

สำหรับ Cisco Webex ถือเป็น Cloud Base อย่างแท้จริง และถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่แก้ไขปัญหาขององค์กรที่เผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME โดย Cisco Webexเป็นเครื่องมือที่ไม่เพียงตอบโจทย์ชีวิตการทำงาน ยังตอบสนองการใช้ชีวิตส่วนตัวได้เป็นอย่างดี สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านวิดีโอได้ถึง 1,000 คนในคราวเดียวกัน นอกเหนือจาก วิดีโอคอล แชร์ไฟล์ แก้ไขงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ พร้อมบันทึกการประชุมแบบไม่มีการจำกัดเวลา โดยเป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่นิยมในการใช้ประชุมระดับภูมิภาค หรือระดับโลก เปิดให้ใช้งานฟรี 3 เดือน โดยไม่จำกัดเวลา

Cisco Webex มีทั้งในรูปแบบประชุม การฝึกอบรม-การเรียนการสอน มี Break Out เป็นกลุ่ม ๆ แล้ว ๆ ค่อยมาคุยกันใหม่ มีTest Engine ให้นักเรียนได้ทดสอบ พร้อมทำโพลสำรวจว่าเข้าใจหรือไม่ และการจัด Event สัมมนา รองรับผู้เข้าร่วมงานได้ถึง 3,000 คน

วัตสัน กล่าวว่า ในส่วนของค่าบริการในการใช้ Webex สำหรับการประชุมกว่า 10 เหรียญสหรัฐต่อคนสร้างห้อง (Host) รองรับผู้เข้าประชุมได้ 1,000 คน ส่วนการฝึกอบรมอยู่ที่ Option ต่าง ๆ ลักษณะของการ Customize ค่าใช้จ่ายทั้งปีราว 10,000 บาท และ Event สัมมนา อยู่ในช่วงเริ่มต้น ทั้งนี้คาดว่ากลุ่มฝึกอบรม และ Event จะเติบโตมากขึ้น

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทราฟฟิกการใช้งาน Webex เติบโตขึ้นกว่า 600% WebEx จึงกลายเป็นการให้บริการที่ไม่เพียงใช้เพื่อประชุมทางไกล แต่ยังใช้เป็นห้องเรียนเสมือน เปิดตัวสินค้า จัด Event ออนไลน์ แหล่งรวมพลปาร์ตี้ออนไลน์ของพนักงาน และเมื่อการทำงานจากที่บ้านกลายเป็น New Normal หรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การทำงานของผู้คนในปัจจุบัน Webex จึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)

ซิสโก้นำเทคโนโลยีสนับสนุนแพทย์ในเมืองอู่ฮั่น ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในไทย

วัตสัน กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซิสโก้ได้สนับสนุน Webexให้ภาคธุรกิจ รัฐ และทางการแพทย์ ภายใน 1 เดือน ยอดการใช้ Webexเติบโตมากขึ้น 3 เท่า ประมาณ 10,000 ล้านนาที คิดเป็น 14,000 ล้านนาที จากเดิม 4,000-5,000 ล้านนาทีในประเทศจีน มีการใช้ Webexในเมืองอู่ฮั่น ซิสโก้ได้นำอุปกรณ์ Collaboration ไปใช้ในโรงพยาบาลที่เมืองอู่ฮั่น เพื่อให้แพทย์สามารถประชุม Video Conference ผ่านทางไกล

พัฒนาระบบหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์

สำหรับประเทศไทย บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยนำอุปกรณ์ Video Conference/High Definition Camera ไปช่วยพัฒนาระบบหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา “FIBO AGAINST COVID-19” (FACO)ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้ความสนใจ แสดงถึงความสามารถทางด้านหุ่นยนต์ของวิศวกรไทย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save