มจธ.-จุฬา-มข. นำมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ Time Higher Education Impact Ranking 2020 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDG)


มจธ.-จุฬา-มข. นำมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ Time Higher Education Impact Ranking 2020 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDG)

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 63 Times Higher Education ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือ Time Higher Education Impact Ranking 2020 พบมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมและได้รับการจัดอันดับ 19 แห่ง นำโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จาก 760 สถาบัน ใน 85 ประเทศ ทั่วโลก ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวใช้เกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ SDG ผ่านการประเมินตัวชี้วัดที่ได้รับการสอบเทียบอย่างรอบคอบ โดยครอบคลุมตัวชี้วัดที่สร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ในมิติการศึกษา การวิจัย การดำเนินงาน และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของสาธารณะ

มจธ.กับความยั่งยืน ตาม SDG2030

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)มีนโยบายและความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนตามเป้าหมายSDG 2030 โดยประกาศนโยบาย “KMUTT SUSTAINABLE UNIVERSITY FOR SDG 2030”ตั้งแต่ปีพศ.2560 และมีการดำเนินการด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals (SDGs)ของUnited Nations ใน17หัวข้อ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของ มจธ.จากการประเมินของ The Times Higher Educations Impact Ranking 2020

มจธ.เข้าร่วมส่งผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals (SDGs)ของสหประชาชาติ (United Nations) ใน17หัวข้อ ตามคำเชิญของTimes Higher Education ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยจัดขึ้นเป็นปีที่2 มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วม 788 แห่งจาก 85 ประเทศ มจธ.ได้นำส่งผลงานปีนี้เป็นปีแรก และได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 101-200 ของโลก และเป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ก้าวต่อไปของ มจธ. ในการดำเนินการด้านความยั่งยืน ตาม SDG2030

รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย

รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มจธ.มีจุดเด่นอยู่ที่ SDG เป้าหมายที่ 12 Responsible Consumption and Production (แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 2 Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) และเป้าหมายที่ 6 Clean Water And Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล)โดย SDGเป้าหมายที่ 12 ที่มีการวัดผลจากผลงานวิจัยและการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้านการบริโภคและการผลิตยั่งยืน ซึ่ง มจธ. ได้คะแนน81.4%และได้รับการจัดอันดับเป็นที่26 ของโลก ในขณะที่ SDG เป้าหมายที่ 2 ที่มีการวัดผลจากผลงานวิจัยด้านการขจัดความหิวโหย การเรียนการสอนหัวข้อความยั่งยืนด้านอาหาร ความมุ่งมั่นที่จะลดขยะเศษอาหาร และขจัดความหิวโหยในนักศึกษาและชุมชน ซึ่ง มจธ. ได้คะแนน76.5%และได้รับการจัดอันดับเป็นที่27 ของโลก

ส่วน SDG เป้าหมายที่ 6 Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล)ที่มีการวัดผลจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การใช้น้ำ และความมุ่งมั่นที่ให้ความมั่นใจว่าทำให้เกิดการจัดการน้ำที่ดีในชุมชนเป็นวงกว้าง ซึ่ง มจธ. ได้คะแนน 67.0%และได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 14 ของโลก ซึ่งถือได้ว่า การดำเนินงานของ มจธ.ในด้านการจัดการความยั่งยืนใน 3 เป้าหมายที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นอยู่ในระดับดี ในขณะที่ SDG เป้าหมายที่17 Partnerships for The Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)ซึ่งเป็นการวัดผลด้านการสนับสนุน SDG โดยผ่านความร่วมมือกับต่างประเทศ และมีผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี และได้รับการตีพิมพ์ซึ่งมจธ. ได้คะแนน70.7-80.6%ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับที่101-200ของโลก นอกจากนั้นใน SDG อีก 13 เป้าหมายที่เหลือมจธ.ได้มีการดำเนินการและเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกหัวข้อ

สร้างสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน

“มจธ.มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้เกิดความยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 17 ข้อตาม SDG2030 โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 เข้ามาประยุกต์ใช้หรือที่เรียกว่า SEP FOR SDG (Sufficient Economy Philosophy for SDG2030) ซึ่งเน้นการเรียนการสอน การวิจัยรวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างนักศึกษา ให้มีความเป็นหัวใจสีเขียว (Green Heart)และออกไปเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคม(Social Change Agents) เพื่อนำความรู้ในวิชาชีพที่ได้ศึกษา วิจัยมา เข้าไปแก้ปัญหาความยากจน ความหิวโหย และสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลกสืบต่อไป”ดร.สุวิทย์กล่าว

มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อความยั่งยืน

ศิวกร จิตร์ถาวรมณี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มจธ. หนึ่งในแกนนำนักศึกษากลุ่ม Green Heart มจธ. ที่ได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ความยั่งยืนที่ดีที่สุดคือความยั่งยืนในหัวใจของทุกคน พวกเราจึงเรียนรู้ และส่งต่อคุณค่าของหัวใจสีเขียว (Green Heart) ให้กับเพื่อนพี่น้องและชุมชน เพื่อสร้างสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน เพราะโลกแห่งอนาคต คือโลกที่ต้องการความยั่งยืนในทุกๆด้าน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save