สสว.จับมือ ISMED สถาบันอาหาร และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัว 3 โครงการ ยกระดับ SME สร้างมาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สถาบันอาหาร และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SME ก้าวสู่ตลาด 4.0, โครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และโครงการยกระดับชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SME เพื่อยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SME ให้ได้ตามมาตรฐานของไทยและก้าวสู่มาตรฐานโลกอย่างมืออาชีพ

SME Standardization

สสว. จับมือ 3 หน่วยงาน ยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการ ผ่าน 3 โครงการสำคัญ

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า การยกระดับผู้ประกอบการ OTOP จากรายย่อยกว่า 2.3 ล้านรายสู่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่มีความมั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น 100,000 บาท ภายใน 5 ปี และมีความสามารถในการอยู่รอดในตลาดการค้าในยุคที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเป็นเรื่องที่สำคัญและท้าทาย ดังนั้นสสว.จึงได้ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED), สถาบันอาหาร และศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันขับเคลื่อน 3 โครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SME ก้าวสู่ตลาด 4.0 (SME & OTOP Transformation), โครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และโครงการยกระดับชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพก้าวสู่ SME โดยทั้ง 3 โครงการจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 1,200 คนจากทั่วประเทศเหลือเพียง 100 คน เข้ารับการพัฒนาเชิงลึกและสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจ ก่อนนำสู่การทดสอบตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเฟ้นหา 10 ผู้ร่วมโครงการที่มีศักยภาพสูงสุด นำมาพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจชุมชนที่มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจ การจัดการ และการตลาดที่ทันสมัย แข่งขันได้ และมีคุณภาพมาตรฐานต่อไป เพื่อให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับนำไปต่อยอด ขยายผล สร้างเครือข่ายต้นแบบระดับจังหวัด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ใหม่ๆ ซึ่งะจจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy)

สร้าง SME Standardization มุ่งยกระดับวิสาหกิจชุมชน -SME สู่มาตรฐานโลก

วัตถุประสงค์ในการร่วมมือกับ 3 องค์กรในการจัดทำ 3 โครงการในครั้งนี้ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SME ให้ได้ตามมาตรฐานของไทยและก้าวสู่มาตรฐานโลกอย่างมืออาชีพ ภายใต้ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้มาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก จึงใช้โจทย์ว่า SME Standardization ผ่านการเปลี่ยนแปลงความรู้ผ่านกระบวนการทางความคิดของผู้บริโภค ในการทำต้นแบบขึ้นมาแล้วพัฒนาต้นแบบที่ได้ไปสู่ลูกค้าสู่ตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สร้างความคาดหวังให้กับลูกค้า สร้างความใกล้ชิด สร้างโมเดลขึ้นมาเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ เริ่มมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน ทำให้มีการสร้างยอดขายในตลาดที่สูงขึ้น

โครงการประชารัฐเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ SME ก้าวสู่ตลาด 4.0 (SME & OTOP Transformation) ซึ่งเป็นโครงการที่ สสว.ดำเนินการร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จะเน้นในเรื่องการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจและการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SME ไทยก้าวสู่มาตรฐานไทยก่อนต่อยอดสู่มาตรฐานโลก ตามแนวคิด SME Standardization มาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลกมีการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การทำงานและต่อยอดการทำงาน หาปัจจัยเสี่ยงให้เจอแล้วนำมาปรับแก้ และที่สำคัญ สสว. ได้นำระบบดาต้าเก็บข้อมูล มีโซเชียลที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการกับทาง สสว. เข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึง สสว.มากขึ้น

“ โดยทั่วไปมาตรฐานจะมีความหลากหลายมากในกลุ่มสินค้าอาจจะยังมีการจำแนกออกเป็นส่วนต่าง ๆอีก ในการจัดการที่สสว.จะต้องตอบโจทย์ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการคือ การที่สสว.จะต้องปกป้องสินค้าของผู้ประกอบการการันตีการเข้าร่วมโครงการแล้วจะมีมาตรฐานที่ดีขึ้น สอนให้ผู้ประกอบการเข้าใจขั้นตอนการซื้อขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากให้ผู้ประกอบการจัดการเข้าใจเรียนรู้ตั้งแต่ต้นแล้วค่อยๆสอนการทำตลาดผ่านสื่อโซเชียลในช่องทางต่าง ๆ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการทุก ๆระดับให้มีมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานตามข้อกำหนดทุก ๆข้ออย่างสมบูรณ์แบบมืออาชีพ” สุวรรณชัย กล่าว

นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการ สสว.จะคอยมีคณะกรรมการให้คะแนนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อมอบรางวัลต่าง ๆให้กับผู้ประกอบการที่มีความโดเด่นในแต่ละด้านในการเข้าร่วมโครงการ อาจจะเรียกว่าเฟ้นหาช้างเผือก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้ง OTOP และ SME มากมายที่ได้รับรางวัลจากสสว.ในการเข้าร่วมในแต่ละโครงการ

จากซ้ายไปขวา ธนนนทน์ พรายจันทร์, สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล, ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ และดร.เฉลิมพล คงจิตต์
จากซ้ายไปขวา ธนนนทน์ พรายจันทร์, สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล, ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ และดร.เฉลิมพล คงจิตต์

ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการสู่การพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน

ธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (ISMED) กล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปแจ้งผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ OTOP SME และอื่น ๆนั้น จะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ จึงต้องมีกระบวนการหลอมรวมความคิดปรับพฤติกรรม สร้างความคุ้นเคยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการ มีการสอน คำแนะนำและตัวอย่าง และทดลองทำให้เห็นคล้ายๆกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และการตลาดที่ต้องนำไปค่อยๆสอน ตั้งแต่กระบวนการแรกเริ่ม การทำการตลาด การสร้างจุดแข็งของสนค้า การสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย

“ต้องแสดงให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราทำธุรกิจเล็ก ๆของเราต้องมีการจัดการและจะต้องจัดทำมาตรฐานอย่างไร หลายคนถามว่ามาตรฐานที่จะทำนั้นยุ่งยากไหม ตอบกลับไปว่าไม่ยาก หากมีเครื่องมือที่พร้อม มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำและมีเงินทุนสนับสนุน และยิ่งถ้าเราทำให้ภูมิปัญญาของคนไทยสืบทอดกันมามีมาตรฐานสามารถขายได้ก็จะเป็นสิ่งที่ต่อยอดไปได้อีกนาน โดยเช็คในเรื่องของวัตถุดิบ ในทุกๆการผลิตสินค้าแต่ละครั้งให้เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แต่เดิมอาจจะมีอะไรที่สูญเสียและผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้นหากเรามีภูมิปัญญามีมาตรฐานที่กำกับชัดเจนก็จะส่งผลดี มาตรฐานเหล่านี้คงไม่ใช่ผู้ประกอบการคิดเอง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการจะได้เรียนรู้จากลูกค้าและนำมาปรับปรุงให้เป็นที่ต้องการ โดยลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน คือจะเป็นคนตัดสิน ถ้าเขาซื้อสินค้าของเรานั่นคือเขายอมรับในมาตรฐานของเรา ในการจัดการที่เป็นภูมิปัญญาเราก็ควรมีการจัดการที่เป็นระบบมีการจัดระดับความสำคัญเป็นขั้นตอนตรวจสอบได้กำหนดเป็นมาตรฐานภูมิปัญญาแต่ละพื้นที่และควรมีเจ้าหน้าที่รับรองในแต่ละภูมิปัญญานั้น ๆด้วย ซึ่งจะเป็นการรับรองมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น” ธนนนทน์ กล่าว

เผยอุตสาหกรรมอาหารของไทยอยู่ในอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน และอันดับ 12 ของโลก

ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในเรื่องอาหารนั้นแน่นอนว่า ความอร่อยย่อมมาก่อนและจะเป็นมาตรฐานสำคัญลำดับแรกที่จะเป็นที่ถูกใจลูกค้าและกลับมาซื้อสินค้าอาหารของผู้ประกอบการอีก ซึ่งทุกครั้งที่ผลิตต้องทำให้มีมาตรฐาน มีการผลิตที่เป็น Food Safety จะทำให้การผลิตแต่ละครั้งมีคุณภาพ มีความปลอดภัย มีการบรรจุที่ป้องกันอย่างถูกหลักโภชนาการ ในอุตสาหกรรมอาหาร ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียแล้ว อุตสาหกรรมอาหารของไทยอยู่ในอันดับ 2 ของเอเชียอยู่ในอันดับ 12 ของโลก รองจากประเทศจีน ซึ่งเป็นอันดับ 5 ของโลก ทั้งนี้ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ด้านอาหารของไทยนั้นเชื่อใจในอาหารของผู้ประกอบการไทยว่ามีรสชาติอร่อย และดียิ่งขึ้นหากมีการนำเทคนิคการวิจัยเข้าไปเป็นส่วนประกอบ จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจในกระบวนการผลิต

ในการแข่งขันที่สูงขึ้นตลอดเวลาในห้วงปัจจุบัน จะต้องทราบรายละเอียดของลูกค้าแต่ละประเภทที่เข้ามาทำธุรกิจการค้าด้วยว่าต้องการสินค้าแบบไหน ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องผลิตสินค้าให้ลูกค้าสามารถดูย้อนไปถึงแหล่งผลิต และทำการตลาดผ่านโซเชียลให้มากขึ้น รวมทั้งการติดต่อจะต้องทันสมัยผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

สสว.จับมือ ISMED สถาบันอาหาร และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัว 3 โครงการ ยกระดับ SME สร้างมาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก

“วันนี้จะต้องก้าวข้ามการผลิตให้มีการแปรรูปเพื่อเก็บไว้ทานได้นานขึ้น จัดการให้เกิดการจัดการที่เป็นประโยชน์ในการที่จะใส่นวัตกรรม กรรมวิธีผลิตให้เป็นที่ถูกใจตลาดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ในประเทศ ต้องเอาผู้ประกอบการทั้งหลายจัดระเบียบมาคัดเลือกเพื่อแสดงการจัดระบบให้เข้าถึง เพื่อที่จะได้หาผู้ซื้อรายใหญ่ มีระบบการลงบันทึกไว้เป็นข้อมูลตรวจสอบย้อนหลังในการจัดการลูกค้าที่มีจำนวนมาก เรียนรู้จัดการต้นทุน ผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้อย่างไร ดูแลการประเมินผลที่ไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในวัตถุดิบที่นำมาปรุงใส่อาหารนั้นปลอดภัย สะอาด ในการจัดการนั้นมีการผลิตที่เป็นการจัดการที่เป็นต้นทางที่ดีได้ ในการจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดจะต้องทำการทดสอบตลาดเพื่อให้รับทราบว่าตลาดตอบรับไหม เจรจาคุยเรื่องธุรกิจแล้วจะได้รู้ว่าของจริงในสินค้านั้นขายได้หรือไม่ ที่สำคัญควรมีที่ปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐเข้าไปให้คำแนะนำ” ยงวุฒิ กล่าว

สถาบันอาหารจัดทำ Roadmap จัดการอาหาร เน้นรสชาติอาหารที่เป็นไทยแท้

ทางสถาบันอาหารได้จัดทำ Roadmap ในการจัดการเรื่องอาหาร โดยจะดูเรื่องรสชาติอาหารที่เป็นไทยแท้ที่มีในทุกภาคประกอบ ซึ่งเริ่มต้นให้ผู้ประกอบการ OTOP ในระดับ 3-5 ดาว จำนวน 500 ราย มาทดลองร่วมดำเนินการเพื่อศึกษาว่ามีการจัดการไปได้ในระดับใดแล้วบ้างติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด ในการจัดการที่เป็นเรื่องรสชาติไทยแท้เบื้องต้น ต้องมีมาตรฐานทุกอย่าง ทุกวันนี้ถ้าผู้ประกอบการจะดำเนินการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นอกจากการจัดการที่เป็นมาตรฐานไทยแล้ว ยังต้องศึกษามาตรฐานของคู่ค้าต่างประเทศด้วยว่า มีมาตรฐานกำหนดสินค้าอาหารไว้อย่างไรบ้าง เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะลูกค้าในประเทศยุโรป เชื่อว่าหากทำได้จะสามารถเพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่าย และขยายตัวทางธุรกิจได้ไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท

สสว.จับมือ ISMED สถาบันอาหาร และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัว 3 โครงการ ยกระดับ SME สร้างมาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก

เผยอ.ลี้ จ.ลำพูน สินค้าโดดเด่นในเชิงอัตลักษณ์ มีศักยภาพพร้อมก้าวสู่ SME

ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การคัดเลือกชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านสินค้าอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ เน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองรอง ซึ่งยังขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสมหลายประการ เริ่มจากไม่มีการดีไซน์ออกแบบ ไม่มีเงินทุน ขาดกระบวนการคิดการมีส่วนร่วมในวงกว้าง ขาดการนำงานวิจัยจากโมเดลในห้องทดลองสร้างเป็นสินค้าที่มีมูลค่า ขาดการลงพื้นที่ศึกษาชุมชนที่มีอัตลักษณ์มีความเข้มแข็งเรื่องการสร้างกระบวนการสร้างเครือข่าย กระบวนการทางการตลาดที่คนในชุมชนมีรายได้ต่อเดือนที่เลี้ยงดูครอบครัวได้แบบพึ่งตนเองได้แม้ไม่ได้มีเงินอุดหนุนภาครัฐมากนัก ขาดบุคลากรจากส่วนกลางลงไปวางมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ขาดการสอนเรื่องการสร้างมาตรฐานและการทำมาตรฐานอัตลักษณ์ของชุมชนของไทยโดยแท้จริง รวมถึงการต่อยอดและยกระดับความรู้ที่มีอัตลักษณ์เดิมที่กำลังจะหายไปให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

“จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการ ศักยภาพความพร้อม และความโดดเด่นเชิงอัตลักษณ์ พบว่าพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของผ้ายกดอกพื้นเมือง และผ้าฝ้ายทอมือกะเหรี่ยง รวมถึงเครื่องเงิน ซึ่งถือเป็นลายที่มีความเฉพาะตัว รวมทั้งยังมีปลาสังกะวาด (สังฆวาส) ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่คนในพื้นที่ยังใช้วิธีการจับปลาด้วยตุ้มแบบดั้งเดิม ในขณะที่พื้นที่บ้านธิเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีอัตลักษณ์ด้านผ้าทอลวดลายของไทลื้อ ไม้สักแกะสลักศิลปะไทลื้อ และการทำข้าวแคบ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีการผลิตเฉพาะในพื้นที่” ดร.เฉลิมพล กล่าว

ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำที่อาจจะมีอยู่แล้วหรือได้รับการอบรมจากภาครัฐเอกชนหรืออื่น ๆ เข้ามาเป็นผู้นำร่วมขับเคลื่อนก็จะทำให้ชุมชนนั้น ๆมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าที่รวดเร็วและพัฒนาที่ดีขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save