สวทช. ก่อสร้างโครงการเมืองนวัตกรรม EECi ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำแห่งใหม่ในอาเซียน


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดพิธีเปิดหน้าดินก่อสร้างโครงการจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) โดยได้รับเกียรติจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงาน ณ พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งได้เริ่มต้นก่อสร้างกลุ่มอาคารเมืองนวัตกรรมภาคตะวันออก ระยะที่ 1 ในเดือนมีนาคม 2562 นี้

สวทช. ก่อสร้างโครงการเมืองนวัตกรรม EECi ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำแห่งใหม่ในอาเซียน

การก่อสร้างเมืองนวัตกรรม EECi ดังกล่าว นับเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันประเทศไทยขึ้นแท่น “ศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำ” แห่งใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมสมบูรณ์ ยกระดับงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมระดับประเทศ ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน

EECi เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 ด้าน ตามนโยบาย Thailand 4.0

ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนา EECi ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในทุกภาคส่วน ให้เป็นศูนย์กลางการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อต่อยอดไปสู่การใช้งานจริงเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ตามนโยบาย Thailand 4.0

โดย EECi มีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 ด้าน ได้แก่ 1. เกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 3. แบตเตอรีประสิทธิภาพสูงและขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอวกาศ และ 6. เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งจะร้อยเรียงร่วมกันพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) ของไทยให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนต่อไป

EECi จึงนับเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง และพิธีการเปิดหน้าดินวันนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ โดยภายในระยะเวลา 3-5 ปีจากนี้ พื้นที่กว่า 3,455 ไร่นี้ของวังจันทร์วัลเลย์จะได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองแห่งนวัตกรรม ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมสมบูรณ์ มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ โดยตั้งเป้าที่จะให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งรวมนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต ประกอบไปด้วย สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย ห้องทดลอง โรงงานต้นแบบ โรงงานสาธิต และศูนย์วิเคราะห์ทดสอบชั้นนำ พร้อมสิทธิประโยชน์สำหรับเอกชนที่เข้ามาดำเนินการวิจัยและสรรสร้างนวัตกรรม รวมถึงยังมีโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นอีกมากมาย เช่น ที่พักอาศัย โรงพยาบาล โรงแรม และ Community Market รวมไปถึงมีการผ่อนปรนกฎหมาย เพื่อเอื้อต่อการทดสอบนวัตกรรมใหม่ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ” ดร.ณรงค์ กล่าว

เมืองนวัตกรรม EECi

เฟสแรกก่อสร้างในส่วนของอาคารหลัก มูลค่าลงทุนกว่า 1,100 ล้านบาท

สำหรับการก่อสร้างในเฟสแรกในช่วงระยะเวลา 2 ปีต่อไปนี้ จะเป็นการก่อสร้างในส่วนของอาคารหลัก มูลค่าการลงทุนกว่า 1,100 ล้านบาท โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ EECi, โรงงานต้นแบบ และโรงเรือนอัจฉริยะของ BIOPOLIS (เมืองนวัตกรรมชีวภาพ) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ARIPOLIS (เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ), SPACE INNOPOLIS (เมืองนวัตกรรมด้านการบิน และอวกาศ) ระยะเริ่มต้น ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในต้นปีพ.ศ.2564

EECi Timeline

นอกจากนี้ ยังจะมีการลงทุนในส่วนของโรงงานต้นแบบ ไบโอรีไฟเนอรี มูลค่ากว่า 3,400 ล้านบาท ต่อเนื่องในปี 2563 – 2565 เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของไทยต่อไป

ภาคเอกชนจากอุตสาหกรรม สนใจลงทุนในพื้นที่ EECi

ดร.ณรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EECi อาทิ อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรก้าวหน้า อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน อุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ โดยสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับประกอบด้วย สิทธิการเช่าที่ดินระยะยาวสำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัย และการเช่าพื้นที่ในอาคารเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้สอยร่วมกัน อาทิ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ โรงงานผลิตชิ้นงานต้นแบบ โคเวิร์คกิ้งสเปซ สนามทดลองและทดสอบ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% คงที่สำหรับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง การอำนวยความสะดวกในเรื่องวีซ่าทำงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ การเข้าถึงพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อการทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) และการเข้าถึงนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญของรัฐต่าง ๆ

สวทช. ก่อสร้างโครงการเมืองนวัตกรรม EECi ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำแห่งใหม่ในอาเซียน

ทั้งนี้ การลงทุนในพื้นที่ EECi ได้แบ่งสัดส่วนการลงทุนแบบ 30:70 คือ มาจากภาครัฐไม่น้อยกว่า 33,170 ล้านบาท และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นกว่า 110,000 ล้านบาท ภายในเวลา 20 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการลงทุนดังกล่าวได้กว่า 271,000 ล้านบาท

ทำความรู้จักเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi)

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” หรือ EECi ประกอบไปด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมที่สมบูรณ์ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่มีความเข้มข้นของงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ห้องปฏิบัติการวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ห้องทดลองภาคสนาม (Living Lab) ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบชั้นนำ โรงงานต้นแบบและโรงงานสาธิต ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังมีองค์ประกอบของระบบนิเวศนวัตกรรมและแนวทางการดำเนินงานหลักดังนี้

  • เป็นแหล่งวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มข้น (R & I Focus) เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ไปตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่ EEC และทั่วประเทศ โดยเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย และภาครัฐ
  • ศูนย์รวมห้องปฏิบัติการวิจัยของรัฐและเอกชน (Concentration of Public & Private Laboratory) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
  • สนามทดสอบและการพัฒนาสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม (Scale-up, Testbeds & Living Lab, Green House, Field Demo) มุ่งเน้นขยายศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ รวมถึงโรงงานต้นแบบและโรงงานสาธิตในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมได้
  • ยกระดับอุตสาหกรรมเดิม (Existing Industry Upgrade) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ EEC และพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้สามารถพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 0 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งลดระยะเวลาและแรงงานลง
  • พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ (New Industry Development) ที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนากำลังคนของอุตสาหกรรมและสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต
  • กำหนดให้เป็นเขตผ่อนปรนกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (Sandboxes for Regulatory Adjustment) เพื่อให้เป็นสนามทดสอบ ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ แพลตฟอร์ม และแอพพลิเคชันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Startups & SMEs Support) ด้วยการบ่มเพาะผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ การเร่งสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยี รวมถึงการสนับสนุนระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการจัดตั้งชุมชนนวัตกรรมที่สะดวก และเป็นศูนย์รวมของเครือข่ายการลงทุนของนักลงทุน (Venture Capital & Angel Funding) ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • สร้างชุมชนขนาดใหญ่ของนวัตกร (Large Community of Innovators) ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกร นักคิดค้นเทคโนโลยี นักลงทุนด้านนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมระหว่างเครือข่ายนวัตกรภายในประเทศกับเครือข่ายต่างประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากบริษัทและสถาบันวิจัยระดับโลกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (Advance National Quality Infrastructure) เพื่อการตรวจสอบและประเมินตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการรับรองคุณภาพของสินค้าและบริการ และคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (Solution for Community) โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปช่วยสนับสนุนในการทำงาน และการดำเนินชีวิต รวมทั้ง ช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน
  • แก้ปัญหาและให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรม (Solution for Industry) โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรม ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม ช่วยยกระดับกระบวนการผลิตให้สามารถพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งลดระยะเวลาและแรงงาน

เมืองนวัตกรรม EECi


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save