อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์จัดงาน “Vitafoods Asia 2023” งานแสดงสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารครอบคลุมทุกมิติ คาดมีผู้เข้าชมงานกว่า 8,000 คน


บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย จัดงาน “Vitafoods Asia 2023” งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย มีผู้ผลิตและซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องด้านอาหารและอาหารเสริมเข้าร่วมงานกว่า 460 บริษัท บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  คาดมียอดผู้เข้าชมงานกว่า 8,000 คน รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพและเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกายมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสำหรับรายงานของ Healthy Marketing Team (HMT) ที่คาดว่าอุตสาหกรรมอาหารในตลาดเอเชียมีการเติบโตอยู่ที่ CAGR 6% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปจนถึงปี พ.ศ.2569 จากกระแสใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค และการตื่นตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย พร้อมกับการเข้ามาของเทรนด์สารสกัดใหม่ๆ จากทั่วโลก เช่นเดียวกันตลาดผู้บริโภคอาหารและอาหารเสริมในภูมิภาคเอเชีย ทำให้อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ จัดงาน “Vitafoods Asia 2023”  งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจัดเป็นครั้งที่สองในประเทศไทย เพื่อหวังช่วยปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในด้านคุณภาพสารสกัด และผู้ผลิตและผู้ให้บริการโซลูชันที่น่าเชื่อถือ ไปจนถึงการจัดกิจกรรมและโซนพิเศษต่างๆ และช่วยเพิ่มโอกาสของการเชื่อมต่อธุรกิจที่มากขึ้น ภายในงานมีผู้ผลิตซัพพลายเชนด้านอาหารและอาหารเสริมคลอบคลุมทุกมิติทั้ง วัตถุดิบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสกัดเสริมอาหารต่างๆที่ทันสมัยจากนานาชาติเข้าร่วมกว่า 460 บริษัท เป็นชาวต่างชาติ 355 บริษัท และจากประเทศไทย 5 บริษัท นอกจากนี้ ยังมีส่วนของพาวิเลียนนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น เบลเยี่ยม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี โปแลนด์ สเปน ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ที่จะมาจัดแสดงผลิตภัณฑ์และส่วนผสมเสริมอาหาร อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชันจากทั่วโลก บูธจัดแสดงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีงานวิจัยที่พร้อมนำไปต่อยอดผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริมกว่า 100 งานวิจัยจากทั้งที่เป็นงานวิจัยของประเทศไทยและต่างประเทศ มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคตจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมอาหารและผู้นำด้านธุรกิจตัวจริงในโซน “Main Stage” และ “Nutra Focus” และการจัดประกวด “Vitafoods Asia Nutraceutical Awards” เฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มโอกาสแข่งขันผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมเสริมอาหารไทยเติบโตในตลาดโลก เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าตลอดระยะเวลาในการจัดงาน 3 วันบนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร ระหว่างวันที่ วันที่ 20-22 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  จะมียอดผู้เข้าชมงานกว่า 8,000 คน ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช.ได้ขับเคลื่อนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร และสารกลุ่ม Functional Ingredients โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคนไทยทั้งเพศหญิงและเพศชาย มุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้รับประทานง่าย ใช้ง่าย ในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เช่น ส่วนผสมฟังก์ชันจากจุลินทรีย์ Probiotics Prebiotics Postbiotics Starter culture Food enzyme และ Peptides รวมทั้งสารสกัดสมุนไพรและจุลินทรีย์ มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค ลดความเครียดและช่วยในการพักผ่อนตามหลักทางวิชาการควบคู่ไปกับการวิจัยใหม่ๆเข้ามาเสริมองค์ความรู้ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยสูงอายุและกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ต้องการบริโภคอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ หรือกลุ่ม Vegan Food Plant Based การสร้างแบรนด์อาหารเสริม และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ ซึ่งจำเป็นที่แบรนด์ ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการในแต่ละช่วงวัย เช่น กลุ่มวัยทำงาน ที่มีพฤติกรรมที่ต้องใช้พลังกายและความคิดอย่างหนัก จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเองทั้งการเลือกรับประทานอาหารและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีโอกาสเสียสุขภาพไปกับการทำงานทั้งวันจนเหนื่อยล้า ทำให้สมองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติจึงต้องผลิตอาหารเสริมที่ค่อนข้างใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการฟื้นฟูร่างกาย เสริมความเข้มแข็งของกล้ามเนื้อมากกว่าวัยอื่นๆ เป็นต้น และต้องมีการทดสอบอาหารเสริมอย่างต่อเนื่องเก็บข้อมูลไว้ทำการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของ Ingredients ในด้านต่างๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการนำเข้าวัตถุดิบ และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุน ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการไทยให้แข่งขันได้ด้วยนวัตกรรมของคนไทยเอง นาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพรในประเทศไทย เป็นตลาดที่ใหญ่และมีโอกาสสูง สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันตลาดมีมูลค่าสัดส่วนสูงกว่า 30% ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับแนวโน้มในปี พ.ศ. 2566 นี้ พบว่า ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีโอกาสขยายตัวที่ดี มีศักยภาพ จากปัจจัยบวกการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่ต้องการอาหารเสริมที่รับประทานง่าย มีส่วนผสมของวิตามินอี โพรไบโอติก โอเมก้า 3 เคอคิวมิน ซึ่งช่วยเรื่องข้อกระดูกสมอง สายตา ความจำ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผิวพรรณ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีส่วนช่วยในการนอนหลับเพราะผู้สูงอายุหลับยาก นอกจากนี้อาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการป่วยจากโรคอุบัติใหม่ เช่น COVID-19 ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เทรนด์รักสุขภาพกลับมาเป็นได้รับความสนใจมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น ภายใต้กระแสความนิยมที่ขยายตัวสูง ยังต้องจับตาดูทิศทางการแข่งขันในตลาดของปีนี้ที่จะกลับมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และน่าจะมีผู้ประกอบการรายเล็กๆและผู้ประกอบการรายใหม่มากขึ้น “สำหรับความท้าทายของผู้ประกอบการธุรกิจเสริมอาหารของไทยควรมุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อาหารเสริม โดยเลือกวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การพัฒนาสูตรอาหารเสริมโดยใช้สารสกัดหรือวัตถุดิบที่ทันสมัยมีคุณภาพ และมีประสิทธิผล อีกทั้งเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมหรือโรงงานรับจ้างผลิตอาหารเสริม ที่มีมาตรฐานรองรับ เช่น GMP และ GHPs เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพมีมาตรฐานระดับสากล พร้อมสำหรับการขยายตลาด การสร้างแบรนด์อาหารเสริม ให้เติบโตทั้งในและนอกประเทศอย่างยั่งยืน”  นาคาญ์ กล่าว เมธา สิมะวรา ประธานกลุ่มสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตที่มีศักยภาพด้านสมุนไพรไทยและวัตถุดิบธรรมชาติที่หลากหลาย ซึ่งในช่วง COVID-19 สมุนไพรไทยหลายชนิดนำไปใช้เสริมสร้างภูมิช่วยป้องกัน COVID-19 เช่น ขิง นำไปผลิต เป็น เครื่องดื่มช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ ดื่มน้ำขิงร้อนๆช่วยให้จมูกโล่ง อาการไม่สบายจะลดลง และฟ้าทลายโจร รักษาอาการป่วยมีไข้ ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ เป็นต้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้สมุนไพรไทยไม่ได้รับความนิยมในการนำไปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพราะภาคการผลิตของไทยยังขาดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ หากสามารถยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ ปลอดภัยจากสารพิษและโลหะหนัก เป็นผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป เช่น ยาสมุนไพร อาหารเสริมสุขภาพและผสมในเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยดึงจุดเด่นของสมุนไพรในแต่ละชนิด ใช้เทคโนโลยีและการวิจัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า และการต่อยอดสารสกัดจากสมุนไพรไทยสู่ตลาดสากล ก็จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเสริมอาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save