ยูโอบี ประเทศไทย จับมือสสว. หนุน SME ปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล เตรียมจัดสัมมนาดิจิทัลให้ SME 1,000 รายใช้โซลูชันฟรี


กรุงเทพฯ :ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เตรียมจัดงานสัมมนาด้านดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) พร้อมให้ SME 1,000 ราย ทดลองใช้ดิจิทัลโซลูชันฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หวังสนับสนุนให้ SME เร่งปรับองค์กรและธุรกิจสู่ดิจิทัล มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ COVID-19

จากผลการสำรวจผู้ประกอบการ SME รวม 2,700 รายใน 21 ภาคธุรกิจโดยสสว. พบว่า SME สนใจนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน โดยร้อยละ 84.4  มีแผนที่จะเริ่มดำเนินการในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ดี พบว่าร้อยละ 61.4 ของ SMEไทยยังไม่มีช่องทางการขายออนไลน์  และอีกร้อยละ 64.1 ยังขาดระบบการรับสั่งสินค้าออนไลน์ ขณะที่ร้อยละ 20.7 ต้องการมีระบบการทำธุรกรรมออนไลน์

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ สสว. จะจัดงานสัมมนาออนไลน์แนะนำเทคโนโลยีและให้ความรู้ด้านดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการที่สนใจในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ซึ่งงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Smart Business Transformation Programme (SBTP) ดำเนินการโดย เดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) และธนาคารยูโอบี ประเทศไทยที่ช่วยส่งเสริม SME ให้ปรับองค์กรและธุรกิจสู่ดิจิทัล โดย SME ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะสามารถระบุดิจิทัลโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ซึ่งจะช่วยปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมถึงขยายฐานลูกค้า  ที่สำคัญผู้ประกอบการยังสามารถลงชื่อขอใช้ดิจิทัลโซลูชันฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลาสูงสุด 4 เดือน ประกอบด้วย Smart Point of Sale (POS) จากไมโครซอฟท์  Zaviago บริการแพลตฟอร์มสำหรับสร้างและจัดการเว็บไซต์ และ Kollective ซึ่งเป็นโซลูชันสำหรับการทำการตลาดโดยใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer)

สิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนไปสู่การทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการ SMEเป็นอย่างมากในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤตเช่นนี้ โครงการ SBTP ของเราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผู้ประกอบการ SME ที่สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลได้ในเชิงรุก นอกจากจะประสบความสำเร็จแล้ว ยังจะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย

สำหรับความร่วมมือกับสสว. และผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชันชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น ไมโครซอฟท์  Zaviago และ Kollective  จะช่วยให้ผู้ประกอบการSME ของไทยเปลี่ยนจากการทำธุรกิจแบบเดิมพลิกโฉมไปสู่การทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

กรณีตัวอย่างในประเทศสิงคโปร์ พบว่า SME ที่ปรับองค์กรสู่ดิจิทัลทั้งองค์กร สามารถเพิ่มรายได้ ร้อยละ 46 ส่วน SME ที่ปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเพียงบางส่วน สามารถเพิ่มรายได้ร้อยละ 33 ขณะที่ร้อยละ 40 มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี และร้อยละ 32 ให้ประสบการณ์ที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า

สิรินันท์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยได้เข้าไปช่วยเหลือ SME 2 แห่ง คือแหแบรนด์ Nappi Baby ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กผลิตจากใยไผ่ หลังปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล โดยใช้ระบบ e-Commerce  สามารถเพิ่มรายได้ร้อยละ 150 ในปีพ.ศ.2563 และนำระบบ Procurement มาใช้ ช่วยลดต้นทุนได้ร้อยละ 50 อีกทั้งธนาคารยูโอบีใช้เครือข่ายที่มีช่วยให้บริษัทฯ ได้พบปะคู่ค้าที่ประเทศมาเลเซีย ทำให้มียอดส่งออกเพิ่มขึ้น

ส่วนKingdom Organic หรือเครือข่ายอาหารที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นอีก SME ที่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยนำแนวทางการพัฒนาทั้งระบบการขาย การตลาด การบริหารจัดการด้วยระบบ ERP แม้ในพื้นที่ห่างไกลเพื่อควบคุมประสิทธิภาพและต้นทุน มีการจัดการด้วยระบบ Smart Faming และใช้ Big Data Management, ปัญญาประดิษฐ์(AI) และ Machine Learning เพื่อการตอบกลับได้ของผลผลิตผ่านระบบ  Block chain  มีการปรับตัวเข้าสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการ SME มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 34.2 ของ GDP ประเทศไทย ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19  ทำให้ผู้ประกอบการ SME ต้องประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก เพื่อให้ SME สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้และเพื่อการเติบโตต่อไปในอนาคต ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำธุรกิจมาอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล อีกทั้งยังต้องการใช้ดิจิทัลโซลูชันที่ตรงเป้าหมาย ใช้งานได้เห็นผลจริง และนำไปใช้งานได้ง่าย

“สสว.ได้กำหนดนโยบายที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อขยายธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มสาขาธุรกิจภาคบริการรายย่อย เช่น ร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เราจึงยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีแนวคิดเดียวกัน มาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย

ภักดี อัญญะกมล รองกรรมการผู้จัดการ ประสานงานกลุ่มลูกค้าองค์กรและกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการที่เราคลุกคลีกับลูกค้าธุรกิจ SME มานาน ทั้งยังได้เข้าไปช่วยเหลือองค์กรมากมายที่ต้องการก้าวข้ามความท้าทายในช่วงวิกฤตนี้ด้วยเทคโนโลยี

ไมโครซอฟท์ขอขอบคุณทางยูโอบี ประเทศไทย และ สสว. ที่เปิดโอกาสให้บริษัทฯ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือนี้ เพราะเราตระหนักดีว่าผู้ประกอบการ SMEต้องเผชิญความท้าทายมากมาย เราจึงได้นำ โซลูชันต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ เช่น Microsoft Smart POS แอปพลิเคชันบันทึกการขายที่ทำงานในรูปแบบของบริการบนคลาวด์

“Smart POS มีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบบันทึกการขายแบบเดิมมาก ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 150 บาทต่อเดือน และยังมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ของธุรกิจ ทั้งการสรุปยอดขายและส่งรายงานเป็น Excel แสดงยอดขายทุกรายการ ไปจนถึงการสร้างเว็บไซต์ และเครื่องมือการตลาดด้านการใช้ไมโครอินฟลูเอนเซอร์  นี่เป็นเพียงหนึ่งในโซลูชันที่น่าสนใจจากไมโครซอฟท์และพันธมิตร  เราหวังว่าในอนาคต เทคโนโลยีของเราจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าและต่อยอดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง”

ภักดี กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save