กรุงเทพฯ – ประเทศไทย- 18 พฤศจิกายน 2562 : แม้เทคโนโลยีจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB ในประเทศไทยยังคงใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่า อีกทั้งขาดการวางแผนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สำคัญอย่าง คลาวด์ และ โมบิลิตี้
จากผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 หรือราว 34% ของ SMB ในประเทศไทยยังคงใช้คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปี และใช้ระบบปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมหาศาลให้แก่ธุรกิจ โดยจากผลสำรวจ มากกว่า 63% ของ SMB ในประเทศไทยยอมรับว่า พวกเขาเคยประสบปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปีที่ผ่านมากับตัวเอง และเมื่อกล่าวถึงนโยบายด้านโมบิลิตี้ ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่ามีเพียง 1 ใน 4 ของ SMB เท่านั้นที่มีการวางแผนการใช้งานโมบิลิตี้ในธุรกิจ
ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำขั้นโดยไมโครซอฟท์เอเชีย1 ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัทสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสำหรับธุรกิจ SMB ระดับโลกอย่าง TechAisle ทำการสำรวจธุรกิจประเภท SMB ในประเทศไทยกว่า 330 ราย
สมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีคือตัวสร้างโอกาสที่แท้จริงให้กับธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ผู้ประกอบการ SMB ในประเทศควรให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาธุรกิจทั้งในปัจจุบันและเพื่ออนาคต ประเทศไทยมีธุรกิจขนาดเล็กและกลางอยู่มากถึงราว 3 ล้านราย2และแรงงานในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 35 ปี2ซึ่งเป็นช่วงอายุที่คุ้นเคยและให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะช่วย SMB ในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เพื่อธุรกิจจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีอยู่มาก
ลดช่องว่างในการปรับตัว
จากผลสำรวจพบว่า สาเหตุที่ทำให้ SMB ในประเทศไทยมีการปรับตัวทางเทคโนโลยีช้าเนื่องจาก SMB มีความกังวลว่า ระบบความพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่จะไม่รองรับกับระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม ทำให้ต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากการอัพเกรดอุปกรณ์ (53%) นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งหรือราว 56% ของ SMB ที่ถูกสำรวจกล่าวว่า บริษัทไม่ได้ทำตามนโยบายในการอัพเกรดอุปกรณ์ไอที อีกทั้งบางบริษัทที่ตอบแบบสอบถามไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการอัพเกรดอุปกรณ์ไอที
การที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMB ไม่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการเปลี่ยนหรืออัพเกรดอุปกรณ์ไอทีนั้นอาจส่งผลเสียระยะยาวให้แก่ธุรกิจ รายงานจากไมโครซอฟท์ระบุว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 4 ปีนั้นมีโอกาสเสียมากกว่าอุปกรณ์ใหม่ถึง 3.3 เท่า ซึ่งเทียบเป็นเงินราว 1,631 USD ต่อเครื่อง (หรือราว 50,561 บาท) และเสียเวลาในการทำงานมากถึง 208 ชั่วโมงต่อปี
เทคโนโลยีที่สำคัญที่ SMB สามารถใช้เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้แก่ การใช้งานอุปกรณ์ผ่านระบบคลาวด์ โดย 54% ของ SMB ในประเทศไทยที่ถูกสำรวจกล่าวว่า พวกเขารู้จักบริการ PC-as-a-Service หรือการเช่าใช้คอมพิวเตอร์ และ 38% มีการวางแผนที่จะใช้บริการดังกล่าวใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งสาเหตุที่ธุรกิจต้องการเปลี่ยนมาใช้บริการดังกล่าวเป็นเพราะ ต้องการอุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น (72%) และช่วยลดงานด้านไอทีซัพพอร์ทสำหรับธุรกิจ (62%)
นอกจากนี้ Windows-as-a-Service หรือการเช่าใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ SMB สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากระบบปฏิบัติการณ์ใหม่มีการอัพเดตระบบให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ช่วยปิดช่องโหว่ที่อาจส่งผลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ธุรกิจ ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 10 นั้นรองรับแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายได้มากกว่าระบบปฏิบัติการณ์รุ่นเดิม มาพร้อม app telemetry, รองรับ ISV partnerships สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้าง feedback loops และในอนาคตอันใกล้ที่การสนับสนุน Windows 7 จะสิ้นสุดลง ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Windows 7 ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอัพเดตซอฟต์แวร์จาก Windows Update อีกต่อไป ผู้ประกอบการณ์ SMB ควรเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่ เพื่อรองรับการอัพเดตด้านความปลอดภัย, non-security hotfixes, บริการความช่วยเหลือทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย และการอัพเดตเนื้อหาทางด้านเทคนิคออนไลน์