คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จัดประชุมครั้งที่ 2/2562 เผยความก้าวหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ ใน EEC


คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จัดประชุมครั้งที่ 2/2562 เผยความก้าวหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ ใน EEC

การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2562 วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 โดยมี อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในการประชุม
อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในการประชุม

1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

จากการลงนามร่วมลงทุนโครงการฯ เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาโครงการ เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน โดย

1.1 คณะทำงานส่งมอบพื้นที่ ฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้ประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา พิจารณาแผนเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภค ตามที่ กบอ. เห็นชอบในหลักการแล้ว โดยคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ฯ ได้พิจารณากิจกรรมที่จำเป็นของทุกหน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร(กทม.) การประปานครหลวง(กปน.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การปะปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งประกอบด้วย การเวนคืน การโยกย้ายผู้บุกรุก การรื้อย้ายสาธารณูปโภค การก่อสร้างทดแทน ช่วงดอนเมือง – พญาไท และลาดกระบัง – อู่ตะเภา และได้กำหนดระยะเวลาทำงานให้สอดรับกับกรอบกำหนดเวลาตามแผนการส่งมอบพื้นที่

1.2 พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล คณะกรรมการบริหารสัญญา และโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อให้การบริหารสัญญาโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นโครงการ ฯ ที่มุ่งเน้นการออกแบบและการก่อสร้างเป็นหลัก ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

2.ความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

2.1 จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษด้านการแพทย์จีโนมิกส์

  • การยกระดับด้านการแพทย์จีโนมิกส์ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และสร้างความรู้ทางการแพทย์จีโนมิกส์ที่จำเป็นให้แก่ประเทศ นำไปสู่การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ
  • เมดิคัลฮับ ด้านการแพทย์จีโนมิกส์ โดย สกพอ. พิจารณาความเหมาะสมการจัดตั้งพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษด้านการแพทย์จีโนมิกส์ ตามคำขอการจัดตั้งจากมหาวิทยาบูรพา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 3.8 ไร่ เป็นอาคารรวม 12 ชั้น พื้นที่อาคารรวมประมาณ 24,000 ตารางเมตร มีการลงทุนในระยะแรก 1,700 ตารางเมตร และมีเงินลงทุนเครื่องมือทางด้านเทคนิคเพื่อนำไปสู่การให้บริการจากเอกชน ประมาณ 1,250 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายนักลงทุนจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จัดประชุมครั้งที่ 2/2562

2.2 โครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

  • ที่ประชุม ได้พิจารณาหลักการโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่อีอีซี (Thailand Genome Sequencing Center) เพื่อสร้างความรู้ พัฒนาการให้บริการด้านแพทย์จีโนมิกส์ (GenomicMedicine) นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยให้มีหน่วยงานจีโนมิกส์แห่งประเทศไทย (Genomics Thailand) ซึ่งเกิดประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ช่วยดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการป่วย และลดค่าใช้จ่ายการรักษาที่ไม่แม่นยำ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงไว้บริการ ใน Medical Hub และด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทย
  • เสนอให้ กพอ. เห็นชอบ กรอบวงเงิน 750 ล้านบาท ของโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ให้แก่ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ทุกปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เพื่อซื้อบริการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จำนวน 50,000 ราย รายละไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ สกพอ. ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการ พร้อมเร่งศึกษารูปแบบ แนวทางการจัดตั้ง และบริหารจัดการ

3. การจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีอย่างยั่งยืน

จากสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซี ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 4,200 ตัน/วัน ในปีพ.ศ.2561 เพิ่มขึ้นเป็น 6,800 ตัน/วัน ในปีพ.ศ.2580 แต่การจัดการขยะในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพ และไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีฝังกลบ ซึ่งเกิดผลเสียจากปัญหาการใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างจนไม่สามารถรองรับขยะที่เกิดขึ้น และขยะสะสมใหม่ได้ อีกทั้งเกิดผลกระทบต่อการปนเปื้อนน้ำใต้ดินจากการรั่วซึม ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน

1.) กบอ. จึงได้พิจารณามอบให้ สกพอ.ประสานจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อเสนอโครงการจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี สู่ต้นแบบการกำจัดขยะอย่างยั่งยืน ทั้งขยะบก ขยะบนเกาะ และขยะในทะเล ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และให้กลุ่มบริษัท ปตท. บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด มหาชน (GPSC) เข้าร่วมในการศึกษาเพื่อพัฒนาการลงทุนโครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร ในปริมาณตามความต้องการ

2.) ให้จังหวัดในพื้นที่อีอีซี เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งโรงงานขยะ และโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ โดยให้กระทรวงพลังงานพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะในพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

ผู้บริหาร EEC แถลงข่าวภายหลังการประชุม กบอ. ครั้งที่ 2/2562
ผู้บริหาร EEC แถลงข่าวภายหลังการประชุม กบอ. ครั้งที่ 2/2562


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save