RISE จัดงาน CIS 2020 ใหญ่ 5 เท่าเพิ่มหัวข้อ 240 เวิร์คชอป พร้อมรับผู้บริหารไทย-ต่างชาติมากกว่า 20,000 คน


RISE จัดงาน CIS 2020 ใหญ่ 5 เท่าเพิ่มหัวข้อ 240 เวิร์คชอป พร้อมรับผู้บริหารไทย-ต่างชาติมากกว่า 20,000 คน

สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร (RISE) เร่งเครื่องจัดงาน Corporate Innovation Summit 2020 (CIS 2020) งานสัมมนาด้านนวัตกรรมองค์กรที่ผู้ร่วมงานจะได้เรียนรู้การสร้างและขับเคลื่อนนวัตกรรมองค์กรผ่านประสบการณ์การลงมือทำจริง เป็นครั้งที่ 2 ขยายงานเพิ่มจากงานครั้งแรก 5 เท่าโดยรวบรวม 240 เวิร์คชอปที่ดำเนินการโดยผู้นำทางความคิดทางด้านนวัตกรรมระดับโลกที่จะแชร์ ความรู้และประสบการณ์จริง ภายใต้ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Corporate Innovation , Future of Work, Deep Technology, Creative Innovation และ Social Innovation and Sustainability นวัตกรรมเพื่อสังคม และพร้อมจัดแสดง Startup Showcase มากกว่า 450 ราย รองรับผู้บริหารทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงานมากกว่า 20,000 คน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

งาน Corporate Innovation Summit 2020 (CIS 2020) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2563 ณ ย่านราชประสงค์ ใจกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล และ Gaysorn Urban Resort

นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์

นพ.ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อร่วมตั้ง RISE กล่าวว่า RISE มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product – GDP) ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากผลการค้นคว้าในหัวข้อ นวัตกรรมองค์กรในเอเชีย พบว่า 7 ใน 10 ของกลุ่มผู้บริหารในองค์กรชั้นนำ เชื่อว่า Disruption เป็นความท้าทายที่ทุกองค์กรต้องเผชิญและต้องหาทางรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีเพียงแค่ 3 ใน 10 เท่านั้นที่คิดว่าองค์กรของตนนั้นมีแผนการพร้อมที่จะเผชิญกับ Disruption

ในปัจจุบัน นวัตกรรมนั้นได้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของทุก ๆ องค์กร แต่ทว่าแค่การรับรู้และการเข้าใจเปลี่ยนแปลงยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ แต่การเรียนรู้วิธีการดำเนินการนวัตกรรมผ่านการลงมือทำจริง โดยการทำ เวิร์คชอปจะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมได้จริง

งาน Corporate Innovation Summit ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีนี้ได้สานต่อความสำเร็จจากปีที่ผ่านมา พร้อมขยายงานเพิ่มเป็น 5 เท่า ด้วยจำนวนเวิร์คชอปมากกว่า 240 หัวข้อ จากในปีแรกที่มีเพียงหัวข้อ 40 เวิร์คชอป ซึ่งผู้นำในองค์กรสามารถเรียนรู้และร่วมปฏิบัติจริงได้ด้วยตนเอง (Experimental Conference) รวมถึงทอล์คและช่วงเสวนาจากนวัตกรระดับโลกมากกว่า 200 ท่าน ที่จะร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์จริง ภายใต้ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Corporate Innovation (นวัตกรรมองค์กร) Future of Work (การทำงานในอนาคต) ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในปีนี้ Deep Technology (เทคโนโลยีขั้นสูง) เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Blockchain Creative Innovation (นวัตกรรมสร้างสรรค์) และ Social Innovation and Sustainability (นวัตกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน) ซึ่งเป็นเทรนด์ในปีนี้ และ Startup Showcase มากกว่า 450 ราย พร้อมรองรับผู้บริหารที่เข้าร่วมงานมากกว่า 20,000 คนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

งาน Corporate Innovation Summit 2020 ในครั้งนี้ RISE มุ่งเป้าจัดงานสัมมนาเรือธงระดับสากล ที่ไม่ได้ช่วย Transform ให้เกิดขึ้นจริงในแค่คนและองค์กรด้วยองค์ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือใหม่ ๆ เท่านั้น แต่หวังผลักดันประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กลายเป็นหนึ่งในย่านธุรกิจและนวัตกรรมของโลก” นพ.ศุภชัย กล่าว

สำหรับความท้าทายในการจัดงานครั้งนี้คือ การเชิญนวัตกรระดับโลกมาร่วมงานมากขึ้น RISE จึงใช้เวลาในการเตรียมงาน 1 ปีเต็ม พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายทั่วโลก 20 รัฐบาล และสร้างเครือข่ายธุรกิจในไทย ในงานสัมมนาครั้งที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับ CEO ร่วมงาน 80% โดยให้ความสำคัญอยู่ที่งานทั้ง 2วัน ปีนี้ให้ผู้บริหารระดับ CEO ต่างชาติมาร่วมงานด้วย โดยจัดโรดโชว์ทั่วทวีปเอเชีย สัปดาห์หน้าจะไปที่อินโดนีเซีย และปลายเดือนมกราคมจะไปที่สหรัฐอเมริกา

RISE ต้องการให้งานสัมมนาในครั้งนี้มีลักษณะเหมือน World Economic Forum โดยเป็น World Economic Forum ในระดับ Southeast Asia Version ทั้งนี้ไทยมีจุดเด่นด้าน Agro Tech Tourism Tech และ Health Tech หากโฟกัสไปที่ 3 อย่างนี้ ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงได้ หลังจากการจัดงานครั้งนี้ คาดว่าจะมีการจ้างงาน 10 ล้านตำแหน่งทั่วเอเชีย” นพ.ศุภชัย กล่าว

อรุณเทพ แสงวารีทิพย์ และ ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา
อรุณเทพ แสงวารีทิพย์ (กลาง) Executive Transformation Coach จากเอสซีจี และ ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา (ขวา) ผู้อำนวยการ Advanced Imaging Research Center สจล.

อรุณเทพ แสงวารีทิพย์ Executive Transformation Coach จากเอสซีจี หนึ่งใน Keynote Speaker คนไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำ Transformation มา 10 ปี กล่าวว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการสร้างสูตร Transformation ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะ Corporate อย่างเดียว โดยจะให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รู้ว่าจะต้องตั้งคำถามอะไร เกี่ยวกับTransformation และทำ Transformation ต่ออย่างไร

“จากประสบการณ์ในการทำ Transformation ในองค์กรมา 10 ปีพบว่า องค์กรที่ใช้เวลา Transform สั้นที่สุดคือ 18 เดือน โดย Transform จากธุรกิจ Telco เป็น Digital Business ส่วนองค์กรทั่วไปจะใช้เวลาราว 2-3 ปี ในส่วนของเอสซีจี คาดว่าจะเปลี่ยน Core Businessได้ทั้งหมดภายใน 5-6 ปี ซึ่งขณะนี้เอสซีจีมีการ Transform บางส่วนแล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนองค์กรไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหมด 100% แต่ต้องการคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจริง 2-3% ที่จะดึงกลุ่มคนที่เปลี่ยนโมเมนตัมให้เป็น 20-30% ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว รวมทั้งให้พวกมาลากไป และกลุ่มสุดท้ายที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก็ต่อเมื่อคนส่วนใหญ่ 80% เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงถึงจะเข้ามา ซึ่งคนกลุ่มนี้พร้อมเปลี่ยนแปลงและมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร” อรุณเทพ กล่าว
ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา ผู้อำนวยการ Advanced Imaging Research Center สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในงานจะมี Keynote Disrupt Technology ด้าน Medical ในสังคมผู้สูงวัย และช่วยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีกระบวนการความคิด (Thinking Process) เพื่อนำนวัตกรรมออกสู่ตลาดได้

ที่ผ่านมา สจล.ได้ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ Digital Technology เป็นเวลา 3 ปี จึงไม่ได้รับผล
กระทบในเรื่องจำนวนนักศึกษามากนัก เฉกเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 อันดับของไทย แต่ต้องยอมรับว่าจำนวนนักศึกษาระดับหัวกะทิจะลดลง

“ณ เวลานี้ สจล. คือ Open University ไม่ใช่มหาวิทยาลัยปิดอีกต่อไป มีหลักสูตร Live Long Learning เพื่อให้คนที่มีอายุมาก สามารถศึกษาและต่อยอดได้ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเด็กเล็กเพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ ให้สอดรับกับ Digital Technology บุคลากรจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ” ดร.วิบูลย์ กล่าว

งาน CIS 2020

โฉมหน้านวัตกรระดับโลกที่ตอบรับเข้าร่วมงาน CIS 2020

สำหรับนวัตกรระดับโลกที่ตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว ได้แก่

  • Eric Ries, New York Times Bestselling Author, The Lean Startup
  • Ed Catmull, Co-founder and Former President, PIXAR
  • Austin Kleon, New York Times Bestselling Author, Steal Like An Artist
  • Mary McBride, Chair of Design Management, Pratt School of Art
  • Kotchakorn Vorrakhom, CEO and Founder, LANDPROCESS / Porous City Network
  • Artak Melkonyan, COO, UNDP SDG Innovative Finance
  • Andreas Weigend, Director, Social Data Lab / Former Chief Scientist, Amazon
  • Alvin Tse, General Manager, Xiaomi Indonesia
  • Rashmi Sharma, Global Learning & Wellbeing, Unilever (SEA & ANZ)
  • Dror Shaked, SVP Business Development, Wix.com
  • Kinari Webb, Founder, Health In Harmony
  • Em Roblin, Co-Founder, Inner Circles
  • Patrik Sandin, Chairman, The Natural Step

ส่วนเวิร์คชอปจากนวัตกรระดับโลก อาทิ

  • Lean Startup In-depth for Practitioners
  • Pixar’s Creative Process for Innovative Content
  • Mission 2050: Designing Smart and Soft Cities
  • Steal Like An Artist
  • Radical Listening for Sustainable Innovation
  • Startup Investment 101
  • Let’s Dive into Design Sprints
  • The Responsibility Process® Leading and Coaching workshop
  • Unlearn: Let Go of Past Success to Achieve Extraordinary Results
  • Inclusive Leadership: How You Can Maximize Innovation by Unleashing People’s Full Potential
  • Rapid Ideas Generation for New Products and Services
  • How Corporate Jumpstart Innovation to Drive Sustainability Impact?


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save