สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับ พลังงานทดแทน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติ และ การควบคุม (Integration of Energy Storage System with Renewable Energy Sources: Policy, Planning, Design, Solutions, Operation and Control)” ในวันที่ 8 – 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
ทําไมพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เราเรียกว่า พลังงานหมุนเวียน… กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดได้ ในอนาคตโลกเรามีแนวโน้มและดูเหมือนว่ากว่า 50% ของพลังงานไฟฟ้าจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งจากการคาดการณ์จะเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2035-2050 โดยมี ปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่สําคัญ คือความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่มีเป้าหมายสําคัญตามการประชุม COP 26 และ 27 คือ ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความตกลงปารีส ซึ่งกําหนดเป้าหมายให้ประชาคมโลกต้องร่วมกันกําจัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส ให้ได้ภายใน ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) นอกจากนี้แล้ว พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจับต้องได้ เพราะทุกคนในทุกพื้นที่ได้ให้ความสนใจที่จะหาแหล่งพลังงานและจัดเตรียมพื้นที่สําหรับการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากกว่าพลังงานที่ได้จากฟอสซิล และปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่รองรับและส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียน
การนําพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต้องการเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ที่มีหลากหลายรูปแบบและมีส่วนช่วยลดความผันผวนและความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนซึ่งทําให้เราจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีเสถียรภาพ ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ระบบไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากผลกระทบอย่างมีนัยจากภาคการขนส่งด้วยไฟฟ้า (ยานยนต์ไฟฟ้า) ภาคครัวเรือน (บ้านและอาคารอัจฉริยะ) และภาคการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (แสงอาทิตย์และลม) เทคโนโลยีระบบสะสมพลังงานจึงเป็นจําเป็นในการนํามาประกอบเพื่อสร้างศักยภาพของการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติและการควบคุม (Integration of Energy Storage System with Renewable Energy Sources: Policy, Planning, Design, Solutions, Operation and Control)” โดยการ สนับสนุนวิชาการจาก พพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ผลิต บริษัท ผู้ประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง และเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมาเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์การจัดสัมมนา
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานและวิธีแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบ และเพื่อสามารถใช้เป็นแนวทางสําหรับศึกษา วางแผน ออกแบบ และลงทุนพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบจากการใช้พลังงานทดแทน ทําให้เราสามารถนําพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กําหนดนโยบาย วิศวกรและเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในกิจการไฟฟ้าและพลังงาน
- ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักลงทุน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน และผู้ให้บริการเทคโนโลยี Distributed Energy Resources (DERs), Microgrid, Energy Storage และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา อาจารย์ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป
สนใจเข้าร่วมสัมมนา ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/re/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com