อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ชวนคนโลหการมาเป็นนวัตกร พลิกโฉมให้ธุรกิจด้วยเครื่องจักรกลโลหการ 2,500 แบรนด์ในงานเมทัลเล็กซ์


METALEX 2023

อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ประกาศความพร้อมจัดมหกรรมรวมพลคนโลหการช่วงปลายปี “เมทัลเล็กซ์” มหกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับหนึ่งแห่งอาเซียน เผยปีนี้งานใหญ่ขึ้นกว่าปีที่แล้ว ยึดหัวหาดปิดทุกฮอลล์ของศูนย์ไบเทค พร้อมเปิดโซนพิเศษเพิ่ม 3 โซน เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีรุ่นใหม่สุดล้ำและโซนต่างประเทศที่ขนเครื่องจักรจาก 7 พาวิลเลี่ยนนานาชาติเจ้าเทคโนโลยีมาร่วมจัดแสดง คาดเม็ดเงินสะพัดในงานไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท

นางวราภรณ์ ธรรมจรีย์

นางวราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ (RX Tradex เดิมชื่อรี้ด เทรดเด็กซ์) ผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าแห่งอาเซียน ที่สร้างสรรค์งานแสดงสินค้าให้แก่หลากหลายอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของกระทรวงพาณิชย์พบว่า ในเดือนมกราคมถึงกันยายนที่ผ่านมา มีการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบมีมูลค่าสูงถึง 555,252.56 ล้านบาท หรือสูงขึ้นจากปีก่อน 2.89% ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเครื่องจักรที่นำเข้าคือเครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูปโลหะ ซึ่งมีการนำเข้าสูงขึ้น 4.59% หรือคิดเป็นมูลค่า 23,478.79 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยนำเข้าเครื่องจักรเหล่านี้ 5 อันดับแรกคือ ญี่ปุ่น, จีน, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), เยอรมนี และเกาหลีใต้ “ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นถึงความต้องการที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตด้านโลหการมากขึ้น ซึ่งตัวเลขนี้สัมพันธ์กับการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของสินค้าหลายประเภทที่ตลาดโลกต้องการ มีการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งอ้างอิงตัวเลขจาก BOI เปิดเผยว่า มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน EEC ในปีที่ผ่านมาเป็นมูลค่าที่กลับเข้าสู่ระดับปีก่อนโควิดแล้ว โดยเป็นมูลค่า 262,982 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนหลัก 5 อันดับแรกได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, จีน (ฮ่องกง), จีน และจีน (ไต้หวัน) ตามลำดับ และอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 อันดับแรกที่มีการลงทุนสูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

“ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่ามีความต้องการโลหะในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และด้วยความที่เกิดโจทย์ใหม่ ๆ ให้ผู้ประกอบการตอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้น หรือมาตรการทางการค้าที่มีความซับซ้อนขึ้น ที่จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับกระบวนการผลิตให้ตรงตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของมาตรการทางการค้านั้น ๆ เช่น กระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนอย่างมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่มาช่วยแก้โจทย์”

METALEX 2023

ด้วยความตั้งใจที่จะมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ องค์ความรู้ใหม่ พันธมิตรและคู่ค้าใหม่ ให้ผู้ประกอบการได้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นนั้น อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ จึงเตรียมจัดงาน “METALEX 2023” ที่จัดต่อเนื่องปีนี้เป็นครั้งที่ 37 แล้ว นางวราภรณ์กล่าวถึงแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ว่า “เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อมีบุคลากรที่มีทักษะหรือ Skilled Labor มาวางแผน ตั้งค่า ควบคุม และตรวจสอบ ในปีนี้ งาน METALEX ของเราจึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิดว่า ‘The Innovators’ หรือ ‘นวัตกรแห่งโลหการ’ เพราะเราต้องการสื่อว่า เบื้องหลังนวัตกรรมคือนวัตกรผู้สร้างสรรค์ และเราทุกคนสามารถเป็นนวัตกรที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ให้ธุรกิจและองค์กรของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องใหญ่ เราต้องการร่วมกระตุ้นและปลุกความเป็นนวัตกรในตัวนักอุตสาหกรรมในทุกสาขาให้ตระหนักและได้รับแรงบันดาลใจนั้น ทันทีที่คุณก้าวเท้าเข้ามาในงาน METALEX คุณสามารถเป็นนวัตกรได้ทันที”

METALEX 2023

งาน METALEX เป็นงานที่มีชื่อเสียงในวงการโลหการอาเซียนว่าเป็นเวทีเปิดตัวนวัตกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการใหม่ที่ครบเครื่องเรื่องโลหการเพราะมีเทคโนโลยีด้านการแปรรูปโลหะครบทุกประเภท ทั้งยังเป็นแหล่งนัดพบประจำปีของคนในวงการ “ปีนี้งานของเราขยายใหญ่ขึ้น 10% จะมีการจัดแสดงทั้งภายในฮอลล์และบริเวณโถงด้านหน้าฮอลล์ด้วย โดยรวมไว้ซึ่งเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการ 2,500 แบรนด์ จาก 50 ประเทศ ซึ่งนักอุตสาหการต่างพากันตั้งตารอคอยที่จะมาร่วมงาน โดยขณะนี้ลงทะเบียนล่วงหน้ามาแล้วนับหมื่นรายจากกว่า 40 ประเทศ คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานกว่า 95,000 คน และมูลค่าการลงทุนจากการเจรจาธุรกิจในงานและต่อเนื่องจากงานกว่า 7,000 ล้านบาท” นางวราภรณ์กล่าว

METALEX 2023

นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มาเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานปีนี้ มีหลายรายการ อาทิ

  • เครื่องพับโลหะระบบเซอร์โวร์รุ่นใหม่ล่าสุดจาก AMADA จากประเทศญี่ปุ่น แม่นยำ ทำงานได้รวดเร็ว มีระบบสั่งงานด้วยเสียง และฟีเจอร์อีกมากที่แม้ผู้ใช้ใหม่ก็สั่งการได้ง่ายดาย
  • เครื่องเลเซอร์แมชชีนใหม่ล่าสุดจากสวิตเซอร์แลนด์ แบรนด์ GF AgieCharmilles นำเข้าโดยบริษัท สหมิตร
    แมชชีนเนอรี่ เป็นโซลูชั่นการแกะสลักและมาร์กพื้นผิวด้วยเลเซอร์ ช่วยเพิ่มคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน
  • เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ หรือ เครื่องกัดโลหะ แนวนอนที่ให้ผลผลิตสูงและมีประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม แบรนด์ Brother จากญี่ปุ่น นำเข้าโดยบริษัท Yamazen (Thailand) ช่วยให้สามารถตัดเฉือนชิ้นงานขนาดใหญ่หรือยาวแบบหลายหน้าได้
  • หุ่นยนต์ Cobot ที่มีความเร็วและแม่นยำในการหยิบจับชิ้นงาน และมีความเร็วสูงสุดเทียบเท่ากับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จาก Nachi Technology Thailand
  • เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง แม่นยำสูง และมีประสิทธิภาพสูง มีทูลแมกกาซีน (Tool Magazine) สามารถสับเปลี่ยนทูลได้มากถึง 28 ทูล จาก Fanuc Thai

METALEX 2023

สำหรับไฮไลต์หลัก ๆ ของงานเมทัลเล็กซ์ในปีนี้ นอกจากการจัดโชว์นวัตกรรมใหม่ๆ จาก 7 พาวิลเลี่ยนนานาชาติ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ อิตาลี และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แล้ว ยังมีการจัดพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่เพิ่มอีก 3 ประเภท ได้แก่ Smart Materials หรือวัสดุอัจฉริยะ, Additive Manufacturing หรือการผลิตแบบเติมเนื้อหรือที่รู้จักกันในชื่อของการผลิตแบบ 3D Printing และ Artificial Intelligence หรือเทคโนโลยี AI ที่กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

METALEX 2023

นอกจากการจัดแสดงเทคโนโลยีแล้ว ภายในงานยังมีการจัดสัมมนารวม 35 หัวข้อ โดย อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ จัดร่วมกับสมาคมต่าง  ๆ และที่สมาคมต่างๆ จัดเอง รวม 29 สมาคม มีวิทยากรรวมทั้งสิ้น 50 คน อาทิ

  • METALEX AI Forum จัดขึ้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน ช่วงเช้า จัดร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และสมาคมไทยไอโอที ที่วิทยากรทั้งฝั่งผู้ใช้และผู้ให้บริการจะมาแชร์ประสบการณ์และแนวคิดการใช้ AI ให้ประสบความสำเร็จ ในหัวข้อ “ตัวจริงเสียงจริงคนเอไอ บริหารอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ” และช่วงบ่าย จัดร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พบทีมนักวิจัยด้าน AI จะมาเล่าถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ในหัวข้อ “จากนโยบายสู่การปฏิบัติ – ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิต”
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน มีสัมมนา 3 รายการ

– ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จัด Metallurgy Forum เป็นครั้งที่ 11 ในหัวข้อที่จะช่วยผู้ประกอบการตอบโจทย์มาตรการทางการค้าด้านคาร์บอน ในหัวข้อ “มาตรการรองรับ CBAM ของอุตสาหกรรมอลูมิเนียมไทย พร้อมมุ่งสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน”

– ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) โดยวิทยากรที่เป็นผู้บริหารจากองค์กรทั้งภาคส่วนการทำวิจัยด้าน EV และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จัดจำหน่าย BYD อย่างเป็นทางการ มาร่วมเสวนา “EV Tech Forum” ในหัวข้อ “ไลน์ธุรกิจเกิดใหม่ ตอบโจทย์กระแสระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า” มีคุณเปอร์ สุวิกรม อัมระนันทน์ ดารานักแสดงและพิธีกรชื่อดังมาเป็นผู้ดำเนินรายการ

– ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ นำเสนอสัมมนาใหม่ Additive Manufacturing Forum จัดวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาเจาะลึกถึงการค้นหาโอกาสและการผลิตด้วยเทคนิค Additive Manufacturing ให้สำเร็จในหัวข้อ “อุตสาหกรรมใหม่ ฝ่าข้อจำกัดอย่างไรให้เจอโอกาส”

METALEX 2023

งาน METALEX 2023 จัดขึ้นที่ ฮอลล์ 98-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00-18.00 น. ผู้สนใจเข้าชมงานโปรดแต่งกายสุภาพ งดสวมกางเกงขาสั้นและรองเท้าแตะ และสงวนสิทธิ์ไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าชมเนื่องจากภายในงานมีเครื่องจักรขนาดใหญ่และอาจมีประกายไฟจากการสาธิตการใช้เครื่องจักร สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ทาง  www.metalex.co.th  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2686 7222 หรืออีเมล: contactcenter@rxtradex.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save