สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและ สมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหาผู้รับเหมา ระเบียบ มาตรฐานการติดตั้ง และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์สำาหรับระบบผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และบนพื้น (Solar Farm)” ในระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. พร้อมหลักสูตรพิเศษ การออกแบบและการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน โดยใช้โปรแกรม PVsyst และ Home Pro ในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
พลังงานจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนา พลังงานทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีวันหมด ดังนั้น เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหา ผู้รับเหมา รวมทั้งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า และข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและ สมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัด ให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหาผู้รับเหมา ระเบียบ มาตรฐานการติดตั้ง และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์สำหรับระบบผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และบนพื้น (Solar Farm)” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., บีโอไอ, กฟผ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติ โดยตรง
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/solar2
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 e-mail : seminar@greennetworkseminar.com