สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE Power & Energy Society – Thailand หรือ IEEE PES – Thailand) จัดงาน IEEE PES Dinner Talk 2023 ได้รับเกียรติจาก ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวเปิดงาน IEEE PES Dinner Talk 2023 พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษหัวข้อเรื่อง Meeting the Energy Needs of a Dynamic World การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานในโลกที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมี วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง และนายกสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) กล่าวรายงาน ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
IEEE PES – Thailand และสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) ได้ร่วมจัดงาน IEEE PES Dinner Talk มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลรวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนโยบายและทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานและอุตสาหกรรมไฟฟ้าไทย ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ
ดร.จิราพร ศิริคำ รักษาการผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายระดับชาติ ไทยเราพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ใน ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ใน ค.ศ. 2065 ในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน RE ไม่น้อยกว่า 50% และมีการพิจารณาระบบกักเก็บพลังงาน ESS ร่วมด้วยโดยไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าระยะยาวสูงขึ้น ส่งเสริมการผลิตและการใช้ RE ให้มากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นขึ้น
เพราะ กฟผ. สร้างความมั่นใจด้วยระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เพราะเราเป็นองค์การหลักเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมเพื่อความสุขของประเทศไทย จากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถูกเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายของระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง เพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วทุกภูมิภาค นำความสว่างไสว ทำให้ประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ทั้งด้านอุตสาหกรรม การแพทย์สาธารณสุขการคมนาคมการศึกษา การท่องเที่ยว และการสื่อสารระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงเป็นส่วนความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของพลังงานไฟฟ้า ที่ส่งจ่ายไฟฟ้าไปยังระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งจะปรับลดระดับแรงดันไฟฟ้าก่อนส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ความมั่นคงในระบบส่งไฟฟ้าต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ปราศจากไฟตก ไฟดับ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดบ่งบอกถึงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า โดยจะส่งผลต่อความน่าเชื่อมั่นในการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่จะเป็นภาคส่วนในการช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า Meeting the Energy Needs of a Dynamic World MEA ในการพัฒนาธุรกิจ Smart Energy ในพื้นที่โครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้าน District Cooling ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นองค์กรชั้นนำด้านพลังงานที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
เพราะ MEA สร้างสรรค์นวัตกรรมขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร และจะมีการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนจะเป็นคงอค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้รถ EV เป็นพัธนธมิตรหลักใน Green Business Ecosystem และต้องเป็นผู้นพในการบริหารจัดการพลังงางแบบครบวงจร โดยใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Metro Grid
โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติพายุ ลมแรงที่อาจพัดกิ่งไม้ แผ่นสังกะสี หรือป้ายโฆษณามาเกี่ยวสายไฟฟ้าทำให้เสาไฟฟ้าล้ม อุบัติเหตุจากรถชนเสาไฟฟ้า หรือเกี่ยวสายสื่อสาร ทำให้เสาไฟฟ้าล้มได้เช่นกัน และที่สำคัญเมื่อนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดินเรียบร้อยแล้ว พร้อมรื้อถอนเสาไฟฟ้าออก ก็จะทำให้ประชาชนได้เห็นทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองหลวงได้เต็มตาอย่างแท้จริง
ศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า PEA นำเสนอในหัวข้อบทใหม่พลังงานสีเขียวของประเทศไทยโอกาสและความท้าทายของ PEA ตามนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนพลังงานสะอาด Solar Roof ให้สำนักงาน PEA ทั่วประเทศและการให้บริการในรูปแบบ ESCO Model สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า บูรณาการ EV Platform/ Application PEA Volta Business Model พัฒนาธุรกิจชาร์จรถไฟฟ้า ให้บริการระบบบริหารจัดการสถานีชาร์จในเครือข่ายโดยผู้ประกอบการไม่ต้องพัฒนา Platform เอง เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถไฟฟ้าไม่ต้องดาวน์โหลดหลาย Application การพัฒนาระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ ของ PEA โครงการระบบมิเตอร์อัจฉริยะ โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลพยากรณ์พลังงานหมุนเวียน PEA นำร่องขยายเขตไฟฟ้าให้บ้านเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยพลังงานทดแทนในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ ‘โมเดลเศรษฐกิจ BCG’ อันเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดรับกับนโยบาย Carbon Neutrality ของประเทศไทย ที่ต้องมีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน พ.ศ. 2593
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดพลังงานช่วงนี้ที่ค่อนข้างผันผวนซึ่งส่งผลมาจากหลายปัจจัย เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการด้านพลังงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน และกล่าวถึงความท้าทายของพลังงานที่ต้องการบริหารจัดการ 3 ด้าน (Energy Trilemma) ให้สมดุล คือ 1.การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน 2.การดูแลสิ่งแวดล้อม 3.การเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม ซึ่งความท้ายทายนี้มีโอกาศลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ ซึ่งสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ ซึ่งเป็น 4 ประเภทธุรกิจ คือ Electrification, Power Grid, Hydrogen, CCUS ซึ่งทำให้รูปแบบการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานเปลี่ยนไป และมียอดในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่วิศวกรและผู้ที่มีผลงานโดดเด่น น่ายกย่อง โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัล จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย
ภายในงานยังมีการเสวนาเปิดมุมมองใหม่ของผู้บริหารหญิงจากองค์กรเอกชนชั้นนําด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ได้แก่
- คุณโศภชา ดํารงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (มหาชน)
- คุณศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน)
- ดร.รสยา เธียรวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
- คุณสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเมนส์ จํากัด
สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นครั้งนี้ยังเป็นกลไกสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านนโยบายและทิศทางการตอบสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการแสดงวิสัยทัศน์และบทบาทของผู้นําในองค์กรชั้นนําด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันในการขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมพลังงานในอนาคตต่อไป