บริษัท Autodesk โชว์ยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Generative Design ในการออกแบบ เพื่อเปลี่ยนโฉมใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในงาน Future Mobility Asia งานประชุมด้านพลังงานและยานยนต์พลังงานสะอาด และการจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 ณ บูท MF13 ศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา
ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) คาดว่ายานยนต์ 1 ใน 3 คันจะเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ด้วยนโยบายเชิงรุกการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลภูมิภาคเอเชีย กำหนดให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระดับโลกไปสู่การนำพลังงานสะอาดมาใช้ในธุรกิจยานยนต์ (Clean Mobility)
โดยบริษัท Tech Data Advanced Solutions (Thailand) ร่วมกับบริษัท Autodesk ผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีอาทิ Generative Design, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การผลิตขั้นสูง รวมถึงข้อมูลที่มีการเชื่อมต่อกันไปสู่การเปลี่ยนแปลงโฉมใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์
สำหรับไฮไลท์ที่ Autodesk นำมาจัดแสดงคือ Ultra-SkateboardTM เป็นแพลตฟอร์มออกแบบแชสซีรถยนต์อัจฉริยะที่ใช้พลังปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตัวแรกของโลกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดอุปสรรคด้านนวัตกรรมของการขับขี่อัตโนมัติ นอกจากนี้ยังช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งให้ประโยชน์ด้านความยั่งยืน พัฒนาโดย PIX Moving
ขณะที่Briggs Automotive Company (BAC) ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษที่รู้จักกันดีในรุ่น BAC Mono ได้ออกแบบขอบล้อรถใหม่โดยใช้ Generative Design ช่วยให้รถแข่งมีน้ำหนักรวมลดลงเหลือเพียงแค่ 570 กก. และสามารถเร่งความเร็วได้ถึง 100 กม./ชม. ในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
เทคโนโลยี Generative Design เพื่อพัฒนาล้อแบบใหม่ BAC สามารถลดน้ำหนักรถทั้งคันได้อีก 4.8 กก. สำหรับรถรุ่นล่าสุด ขณะที่ชิ้นส่วนของรถประมาณ 40 ชิ้นได้รับผลิตจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ และล้อถูกผลิตด้วยเครื่องกัด 5 แกน (5-ฤAxis Mill) โดยผู้ออกแบบได้กำหนดเงื่อนไขขอบเขตสำหรับการออกแบบ และอัลกอริทึมที่ใช้ Machine Learning รวมถึงการประมวลผลบนคลาวด์ ซึ่งจะช่วยจำลองตัวเลือกต่าง ๆ ขึ้นมาซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ เพื่อประเมินเท่านั้น ไม่เพียงแต่ข้อกำหนดทางเทคนิคและคุณลักษณะเฉพาะทางการผลิตจะได้รับการพิจารณาตั้งแต่เริ่มต้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อกำหนดด้านสุนทรียภาพด้วย ซึ่งล้วนเป็นคุณสมบัติสำคัญของแบรนด์ พร้อมทั้งเสริมด้วยวัสดุคุณภาพดีและฟังก์ชันการทำงานที่มีความต้องการสูงสำหรับรถรุ่น BAC Mono
ส่วนล้อ BAC ผลิตล้อที่มีน้ำหนักเพียง 2.2 กก. ซึ่งเบาลงกว่ารุ่นก่อนถึง 35% โดยสามารถผลิตได้ตามปกติบนเครื่อง CNC (Computer Numerical Control) ที่สำคัญคือ ล้อยังตรงตามข้อกำหนดด้านโครงสร้างสำหรับการขออนุมัติและการรับรองจากทางการในยุโรปด้วย
นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการพิมพ์ 3 มิติสำหรับทำชิ้นส่วนอื่น ๆ ของรถสปอร์ต เช่น ไฟหน้า กระจกมองข้าง และโครงไฟท้ายอีกด้วย
Detlev Reicheneder ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์อุตสาหกรรม Autodesk กล่าวว่า Generative Design ช่วยในการออกแบบอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถผลิตงานที่แปลกใหม่ สามารถผลิตออกเป็นชิ้นงาน ด้วย 3D Printing และทำการผลิตได้ ซึ่งจะช่วยวิศวกรลดระยะเวลาในการออกแบบ และลดต้นทุนการผลิต โดยสามารถทำงานบนคลาวด์ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ทำให้องค์กรไปสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
Pix Moving ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความยืดหยุ่น ปรับปรุงการทำงานร่วมกัน และทำให้กระบวนการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้พวกเขาเติบโตผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อุตสาหกรรมของเรากำลังเผชิญอยู
ด้านMatteo Barale ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ PIX Moving กล่าวว่า PIX Moving ใช้ Generative Design ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อปรับแต่งการออกแบบแชสซีให้เหมาะสำหรับการใช้งานมากที่สุด ซึ่งช่วยให้ทั้งรูปร่างของชิ้นส่วนและคุณสมบัติทางกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันตามการใช้งานของลูกค้า ด้วยการรวมวิธีการนี้เข้ากับ 3D Printing ทำให้การผลิตแบบไม่รวมศูนย์สามารถกระจายและผู้ใช้มีส่วนร่วม PIX Moving จึงสามารถผลิตแพลตฟอร์มและยานพาหนะที่ปรับแต่งได้หลากหลายแทบจะไม่จำกัดภายในระยะเวลาการผลิตที่สั้นกว่าการผลิตแบบปกติที่พึ่งพิงการผลิตแบบ OEM ของโรงงาน โดยลดเวลาจาก 2 วันเหลือเพียง 2 ชั่วโมง