สภาวิศวกร อนุมัติออก “ใบรับรองความรู้ความชำนาญวิศวกรไทย” 17 สาขา รองรับยุค Disruption เดินหน้ายกระดับองค์กรสู่ “สภาดิจิทัล”


กรุงเทพฯ  : เมื่อเร็วๆ นี้ สภาวิศวกร อนุมัติออก “ใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม 17 สาขา” เตรียมความพร้อมวิศวกรไทยสู่การแข่งขันบริการวิชาชีพวิศวกรรมระดับสากล และความเปลี่ยนแปลงยุค Disruption อาทิ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมยานยนต์ และวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ หลังพบกลุ่มวิชาชีพดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยที่ฟื้นตัวได้เร็วในปี 2565 – 2567 พร้อมเผยผลสำเร็จ 3 มิติ หลังขับเคลื่อนงานวิศวกรรมในรอบ 3 ปี ดังนี้ 1. ใช้ ‘องค์ความรู้’ เป็นตัวชี้วัดศักยภาพคนรุ่นใหม่ 2. เชื่อม ‘รัฐ-เอกชน’ เสริมแกร่งวิศวกรไทย และ 3. แชร์ ‘แนวทางแก้ไขตามหลักวิศวกรรม’ ช่วยเหลือสังคม โดยเร็วๆ นี้ สภาวิศวกร เตรียมเปิดอาคารที่ทำการสภาวิศวกรแห่งใหม่ ซอยลาดพร้าว 54 เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิศวกรรมแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์และลดการปล่อยของเสียออกสู่ชุมชน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร กล่าวว่า จากข้อมูลแนวโน้มอุตสาหกรรมไทย ในปี พ.ศ.2565-2567 ของศูนย์วิจัยกรุงศรี ประจำเดือนมกราคม 2565 ที่ได้ระบุถึงอุตสาหกรรมที่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว หลังผ่านพ้นปัจจัยด้านแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับมหภาคและปัจจัยเฉพาะในรายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ ฯลฯ อีกทั้งในปัจจุบันยังพบความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่ในหลากมิติ สภาวิศวกร โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริม จึงได้ออกเป็นประกาศกฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพิ่มเติมใน 17 สาขา ในรูปแบบ “ใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม” ดังนี้ วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมชายฝั่ง วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมต่อเรือ วิศวกรรมบำรุงรักษาอาคาร วิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมพลังงาน วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมสํารวจ วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมอากาศยาน และวิศวกรรมอาหาร เพื่อเตรียมพร้อมวิศวกรไทยให้พร้อมต่อการแข่งขันบริการวิชาชีพวิศวกรรมระดับสากล ตลอดจนพร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุค Disruption  

“สภาวิศวกร” ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รับรองหลักสูตรด้านวิศวกรรม เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ฯลฯ ภายใต้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัยและพร้อมก้าวสู่การเป็น “องค์กรดิจิทัล” ที่มีบริการหลากหลายรูปแบบที่เอื้อต่อการเข้าถึงของวิศวกรไทยได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การสมัครสอบภาคีวิศวกร การขอใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษ การขอหนังสือรับรองใบอนุญาต ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมตามหลักวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร กล่าว

 

ด้าน กิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 สภาวิศวกร กล่าวเสริมว่า จากการดำเนินงานของสภาวิศวกรสมัยที่ 7 ระหว่างปี พ.ศ.2562 – 2564 พบความสำเร็จจากการขับเคลื่อนองค์กร ตามนโยบาย “Online anywhere” มีปรับปรุงการขอใบอนุญาต การต่ออายุ วิธีการสอบภาคีและอบรมความพร้อมให้มีความสะดวกและการเข้าถึงของสมาชิกได้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว สภายังมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีด้วยระบบออนไลน์ ที่มีสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุดในประเทศไทย และยังมีนโยบายที่ขับเคลื่อนอีก 3 มิติ ที่สำคัญๆ ดังนี้ 

  1. ใช้ องค์ความรู้ ในการรับรองปริญญาเพื่อให้ได้ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และเป็นตัวชี้วัดศักยภาพในการประกอบวิชาชีพของคนรุ่นใหม่ ข้อกำหนดกรอบความสามารถการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (Competency Framework) การนากรอบความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (Professional Competency) มาใช้ในการส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรมของสภาวิศวกร เพื่อเป็นกรอบสำคัญในการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงลึกของวิศวกรรายบุคคล ในการเลื่อนระดับในอนุญาต เพื่อคัดกรองวิศวกรที่มีความชำนาญและความพร้อมต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอย่างแท้จริง สืบเนื่องจากผู้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จะต้องจบในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ที่มีการรับรองจากสภาแล้ว เพื่อเป็นการลดภาระของสถาบันศึกษาโดยสภาฯ ไม่ก้าวก่าย โดยให้สถาบันศึกษามีการรับรองตนเอง และเปลี่ยนวิธีการรับรองปริญญาจาก Input Base (กำหนดรายชื่อวิชา) มาเป็นการรับรองแบบองค์ความรู้ ทำให้การพัฒนาหลักสูตรมีอิสระ ปรับเปลี่ยนได้ทันตามพลวัตรของโลก ในขณะเดียวกันมีการกำหนดความรู้ด้านวิศวกรรมสาหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Program) ตามข้อตกลง Washington Accord เป็นต้น 
  2. เชื่อมรัฐ-เอกชนหน่วยงานกำกับ เสริมความแกร่งวิศวกรไทย การขยายความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้-ประสบการณ์ระหว่างหน่วยงาน และการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของวิศวกรไทยในทุกสาขา อาทิ สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ บริษัท นันทวัน จำกัด ภาคเอกชนที่คร่ำหวอดในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกระบวนการออกใบอนุญาตและการพิจารณาขึ้นทะเบียนการประกอบวิศวกรอาชีพข้ามชาติ คือ วิศวกรวิชาชีพอาเซียน( ACPE) วิศวกรวิชาชีพเอเปค (APEC Engineer)และการการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพต่างด้าว(RFPE) โดยใช้กรอบความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (Competency Framework) และเป็นไปตามข้อตกลงของ IEA

(International Engineering Alliance)

  1. แชร์ แนวทางแก้ไขตามหลักวิศวกรรม ช่วยเหลือสังคม นอกเหนือจากภารกิจหลักด้านการประกอบวิชาชีพ การศึกษาวิจัย การให้บริการวิศวกรแล้ว สภาวิศวกร ยังมีนโยบายในการช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง กรณีภาคประชาชนได้รับผลกระทบจากโครงสร้างสาธารณะไม่ปลอดภัย หรือกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม ผ่านการลงพื้นที่สำรวจปัญหาในนาม วิศวกรอาสา พร้อมถอดบทเรียน เพื่อเป็นแนวทางป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคต ตลอดจนจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐ ทั้งจากกรณีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอัคคีภัย อาคารเก่า/สิ่งปลูกสร้างพังถล่ม ชุมชนริมน้ำได้รับผลกระทบจากน้ำกัดเซาะและน้ำท่วมขัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโครงการสภาวิศวกรปันสุขให้ชุมชน กรณีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID19

ในอนาคตอันใกล้ สภาวิศวกร เตรียมเปิดอาคารที่ทำการสภาวิศวกรแห่งใหม่ ซอยลาดพร้าว 54 เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิศวกรรม และเป็นศูนย์บริการต่างๆ ของสภาวิศวกรผ่านระบบออนไลน์แบบครบวงจรแห่งแรกของไทย ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มและข้อมูลขอ 3 เสาหลักในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตั้งแต่ “ต้นน้ำ-สถาบันศึกษาที่สอนหลักสูตรวิศวกรรม” “กลางน้ำ-สภาวิศวกร” “ปลายน้ำ-ภาครัฐ/ภาคเอกชน/สมาคมวิชาชีพฯ” เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับใบอนุญาตได้ทันที และการพัฒนาการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของสมาชิกและสมาคมวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สมารถนำมาขับเคลื่อนงานวิศวกรรมของประเทศ สมาชิกจะมีฐานข้อมูลเสมือนเป็น Portfolio ตั้งแต่จบการศึกษาและประวัติการประกอบวิชาชีพ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการสมัครงาน การเลื่อนระดับใบอนุญาต  

“นอกจากนี้สภาแห่งใหม่ยังเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ชุมชนที่อยู่รอบๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่ที่มีคุณสมบัติเป็นอาคารเขียว ในขณะที่สภาวิศวกรก็จะมีการยกระดับการทำงานขององค์กรสู่ “สภาดิจิทัล และเป็นศูนย์ข้อมูลการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสีย ให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากลต่อไป กิตติพงษ์  กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save