เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ หัวเว่ย ประเทศไทย เผยกลยุทธ์ปี’66 มุ่งพัฒนา 6 ด้านหลัก หนุนไทยสู่ Digital Hubอาเซียน


เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่  หัวเว่ย ประเทศไทย เผยกลยุทธ์ปี’66  มุ่งพัฒนา 6 ด้านหลัก หนุนไทยสู่ Digital Hubอาเซียน

กรุงเทพฯ –  7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566  :บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ประกาศแต่งตั้ง เดวิด หลี่ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย นำทัพเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเผยกลยุทธ์ธุรกิจสำหรับตลาดประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ในงาน HUAWEI Meet the Press 2023 – Episode 1”   มุ่งเน้น 6 ด้านหลัก ได้แก่  5G, คลาวด์,  ICT Solution  &EBG,  พลังงานดิจิทัล (Digital Power),  Cyber Security  และ 6 Digital Talent โดยในปีนี้ หัวเว่ยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและนักพัฒนาที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย โดยเฉพาะนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญด้าน คลาวด์” และ “พลังงานดิจิทัล”

พร้อมกันนี้ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของหัวเว่ย ประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการร่วมผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน 5G คลาวด์ พลังงานดิจิทัล และอีโคซิสเต็มด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะอื่น ๆ ในประเทศไทย เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และยกระดับศักยภาพบุคลากรไอซีที

เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหารคนใหม่  หัวเว่ย ประเทศไทย เผยกลยุทธ์ปี’66  มุ่งพัฒนา 6 ด้านหลัก หนุนไทยสู่ Digital Hubอาเซียน

เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวถึงวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2566 ว่า หัวเว่ยจะร่วมผลักดันประเทศไทยให้ขึ้นสู่การขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียนและผลักดันภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ผ่านการดำเนินธุรกิจใน6 ส่วนสำคัญ  (Core) ได้แก่ 1. การยกระดับ5G   2. คลาวด์   3. ICT Solution  &EBG   4. Green (Digital Power)  5. Cyber Security  และ 6 Digital Talent

1.การยกระดับ 5G ประเทศไทยใช้ 5G  ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการช่วยทำ Digital Transformation  ทั้งนี้ หัวเว่ยจะใช้เครือข่ายไฟเบอร์เพื่อเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และจะขยายความครอบคลุมของโครงข่ายเข้าไปในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งในปีนี้เราจะมุ่งขยายความครอบคลุมของโครงข่ายแบบไฟเบอร์ในชนบทของประเทศ และทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการ 5G ที่มีคุณภาพและมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้

หัวเว่ยมีความร่วมมือกับท่าเรือ เพื่อพัฒนาสู่ Smart Port มีความร่วมมือกับโรงพยาบาล 6 แห่ง   เช่น โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นต้นแบบของ Smart Hospital   มีการทำ Smart City 5G เพื่อร่วมสร้างเมืองอัจฉริยะ 5G ในภาคตะวันออก และ Smart Factory ในภูมิภาคอาเซียน   ทั้งนี้ในประเทศเกาหลีใต้ มีการใช้ 5 G รวมทั้งAR และ VR  ครบทั้งหมด

2.คลาวด์ หัวเว่ยถือเป็น First Global Player ในไทย  โดยลงทุน 1.4 พันล้านบาท เพื่อให้คนไทยประยุกต์ใช้คลาวด์มากขึ้น ให้คนไทยมีความสามารถทางด้านคลาวด์ เพื่อเติบโตไปด้วยกัน หัวเว่ยส่งเสริมสตาร์ทอัปด้านคลาวด์ไปกว่า 1,700 ราย

3.ICT Solution  ในปีนี้ หัวเว่ยจะมุ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างบุคลากรไอซีทีในไทย โดยเฉพาะการมุ่งฝึกอบรมนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ได้ถึง 20,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม บ่มเพาะทักษะทางเทคโนโลยีที่มีความสำคัญให้แก่นักพัฒนาไทย และช่วยพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในไทย ผ่านการส่งมอบใบรับรองและต่อยอดโครงการด้านการฝึกอบรมต่าง ๆ ของหัวเว่ย ซึ่งหัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัย และนักศึกษา นำ Huawei Academy  มาบ่มเพาะเพื่อสร้าง Digital Talent  บุคลากรจำนวนมาก เช่น โครงการบ่มเพาะธุรกิจเอสเอ็มอี Spark Ignite โครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมซึ่งจะต่อยอดให้ครอบคลุมในพื้นที่ 10 จังหวัด ฝึกอบรมนักเรียนให้ถึง 2,000 คน งานสัมมนา Talent Talk เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลจากภาคส่วนต่างๆ และโครงการ Seeds for the Future ที่จะมีทั้งการฝึกอบรม มอบทุนการศึกษา และการแข่งขันในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้แรงงานไทยมีทักษะด้านดิจิทัล มีคุณภาพ และมีความพร้อมสำหรับตลาดดิจิทัลของไทยในอนาคต

ด้าน EBG (Enterprise  Business Group)  หัวเว่ยมีความร่วมมือกับธนาคาร ภาคขนส่งคมนาคม และโรงพยาบาล และจะยังคงสร้างความร่วมมือกับบริษัทในไทย (Local) เพื่้อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ

  1. พลังงานดิจิทัล (Digital Power) หัวเว่ยเดินหน้าสร้าง EV Hub ให้เกิดขึ้นในอนาคต ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่เกิดสถานการณ์ COVID-9 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคพลังงาน  โดย Digital Power Industry ของหัวเว่ย  ประกอบด้วย 1.Solar Power  2. Commercial เช่นธนาคาร มหาวิทยาลัย และบริษัทต่างๆ  เพื่อลดการบริโภคพลังงาน  และ 3. House  ครัวเรือน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ต่างๆ   โดยมุุ่งเน้นความยั่งยืน  ทำเป็นมาตรฐานและความปลอดภัย

“หัวเว่ยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานดิจิทัล และวางแผนจะขยายการเติบโตของกลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัลให้เป็นผู้นำตลาดประเทศไทย เพื่อช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (GDP) ให้เพิ่มขึ้น เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยสนับสนุนประเทศไทยได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ โซลูชัน และหลักปฏิบัติด้านพลังงานดิจิทัลของเรา ด้วยทีมบุคลากรและพาร์ทเนอร์ในประเทศระดับคุณภาพของเรา เราหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีและหลักปฏิบัติในระดับโลกมาช่วยผลักดันให้ประเทศไทยในการมุ่งสู่ผู้นำในอาเซียนด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน” เดวิด กล่าว

  1. Cyber Security หัวเว่ยสร้างงานให้คนทำงานมากกว่า 8,500 ตำแหน่ง พร้อมจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถมากกว่า 6 หมื่่นราย  เพื่อยกระดับ  Cyber Security ของไทยให้ได้มาตรฐานมากขึ้น   ในปีที่่ผ่านมาหัวเว่ย ประเทศไทยได้รับรางวัลPrime Minister Awards – Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2022จากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

หัวเว่ยจะสนับสนุนด้านการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในไทย และลูกค้าของเรา  รวมทั้งผู้หญิงและคนพิการให้ตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์  พร้อมกันนี้จะเดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลให้แก่โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่อีโคซิสเต็มด้านไซเบอร์ของประเทศ ในด้านการปกป้องข้อมูล

  1. Digital Talent  หัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัปต่าง ๆ ในไทยให้มาปรับใช้คลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก (GCI) ให้แก่ประเทศ  ทั้งนี้หัวเว่ยได้สร้างบุคลากรไปแล้วกว่า 60,000 คน ปีนี้ตั้งเป้าสร้างบุคลากรเพิ่มอีก 10,000 คน และ SME อีก 10,000 คน รวมทั้งสิ้น 20,000 คน

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า หัวเว่ยได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมาโดยตลอด ครอบคลุมทั้งด้านการผลักดันโครงข่ายและการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การติดตั้งศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่งและการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์กว่า 300 ราย การนำโซลูชันเข้าประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมของไทยกว่า 10 ประเภท การผลักดันพลังงานดิจิทัลเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็น กลางทางคาร์บอนของประเทศไทย การร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีไทยกว่า 60,000 ราย” เดวิด กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save