หัวเว่ยอวดโฉมWi-Fi 7 ในงาน APAN 57 เดินหน้าสนับสนุุนสถานศึกษาปฏิวัติเครือข่าย รับการเรียนยุคใหม่


หัวเว่ยร่วมงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advance Network (57th APAN Meeting) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย
หัวเว่ยร่วมงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advance Network (57th APAN Meeting)
จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย

กรุงเทพฯ – 5 กุมภาพันธ์ 2567 : หัวเว่ยสนับสนุนภาคการศึกษายกระดับโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเผยโฉม “AirEngine Wi-Fi 7” โซลูชันเน็ตเวิร์คไร้สายมาตรฐานล่าสุดสำหรับองค์กรที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุด พร้อมแบนด์วิธที่กว้างขึ้น ตอบโจทย์การเรียนการสอนยุคอัจฉริยะ เช่น เมตาเวิร์ส และการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์

 

เชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในโอกาสร่วมงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advance Network (57th APAN Meeting) ว่า แนวโน้มของเทคโนโลยีในภาคการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงจากการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้งานเฉพาะบางส่วนสู่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดให้รองรับการทำงานแบบอัจฉริยะ ซึ่งหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์เทคโนโลยีไอซีทีที่หลอมรวมไอซีทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการเชื่อมต่อ การประมวลผลบนคลาวด์ บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์เข้ากับกระบวนการการศึกษาทั้งหมด เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการเรียนการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการ และบริการ

นอกจากนี้เทคโนโลยีของหัวเว่ยได้ผนวกรวมเครือข่ายแบบใช้สาย ไร้สาย สํานักงาน และเครือข่าย IoT เข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เครือข่ายออพติคและไว-ไฟ 7 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายในสถานศึกษาและการวิจัย และอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่ปลอดภัย เสถียร และมั่นคง ซึ่งช่วยปรับปรุงความสามารถในการรองรับระบบบริการตลอดจนประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดําแบบเดิมๆ มาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้ในสถานที่ตายตัวเป็นปัจจุบันทุกที่ทุกเวลา และจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวเป็นการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น
“การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จําเป็นต้องแก้ปัญหางานด้านการประมวลผลและการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง (HPDA) บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น” เชลดอน หวัง กล่าว

หัวเว่ยได้เตรียมพร้อมนำเสนอความรู้และความเชี่ยวชาญจากการทำงานในอุตสาหกรรมระดับโลกเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีซึ่งบริษัทมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของภาคการศึกษา พร้อมด้วยโซลูชันสำคัญอย่าง “อินเทลลิเจนท์ เอ็ดดูเคชัน” ที่จะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสร้างสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและห้องเรียนให้มีความอัจฉริยะสามารถเรียนรู้ได้แบบสมจริง และส่งเสริมการพัฒนาทักษะได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอย่าง “ไว-ไฟ 7” เข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการศึกษาด้วยมาตรฐานของเทคโนโลยีไร้สายใหม่ที่มีช่องสัญญาณกว้างขึ้น อัตราการดีเลย์ต่ำ

ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังได้จัดเวทีพิเศษ “Thailand Medical Research HPDA Infrastructure Innovation Panel” เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานนำทางการด้านการแพทย์และการวิจัยทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศิริราช ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติและโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ แนวทางการเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ โดยโซลูชัน HPDA การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของหัวเว่ยนําการออกแบบที่รองรับการทำงานขั้นสูงมาใช้ ทั้งในแง่ของความจุและประสิทธิภาพการทํางาน เพื่อประหยัดพื้นที่ห้องอุปกรณ์ได้อย่างมาก ส่งผลให้ต้นทุนรวม (TCO) ลดลง นำโดยประยุทธ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ประเทศไทย ผู้บริหารและบุคลากรสำคัญจากหน่วยงานชั้นนำทางการด้านการแพทย์และการวิจัยทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศิริราช ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติและโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

ผศ.อนุพล พาณิชย์โชติ ผู้จัดการโครงการปัญญาประดิษฐ์ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ดาต้าที่ดีจะนำไปสู่การทำเอไอ และบิ๊กดาต้าที่ดี ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาต้องเก็บแบบที่สามารถนำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ ซึ่งตอนนี้เราเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Medical Record (EMR) ทั้งรูปภาพและวิดีโอ สำหรับแผนงานในปีนี้คือ นำข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ที่เก็บแบบกระจัดกระจายตอนนี้มาจัดเก็บให้ดีขึ้น ซึ่งเรามุ่งหวังว่าข้อมูลที่มีระดับการเก็บที่ดีขึ้นก็น่าจะนำไปสู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ดีขึ้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า จุดแข็งของไทยในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร คือการให้บริการการแพทย์ ดูแลรักษาและป้องกัน ถ้าเราต่อยอดจุดแข็งของการเป็นผู้นำในด้านบริการ คือทำอย่างไรให้บริการของเราทำได้ดียิ่งขึ้น ใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลรักษาโรคซับซ้อน เราต้องหาความโดดเด่นของไทยให้เจอ อย่างน้อยในด้านการแพทย์แม่นยำคือ เรามีฐานข้อมูลพันธุกรรมของคนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเพาะกับคนในภูมิภาคนี้ ข้อมูลนี้นอกจากใช้ได้กับคนไทย ยังสามารถต่อยอดกับประชากรในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) ได้ด้วย และการบูรณาการเพื่อเชื่อมข้อมูลพันธุกรรมเข้ากับข้อมูลสุขภาพจะยิ่งสร้างความแตกต่างของการบริการทางการแพทย์เราได้มากยิ่งขึ้น

รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และเทคโนโลยีสุขภาพ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร กล่าวว่า ความท้าทายสำคัญขณะนี้คือการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันของคณะแพทย์หรือแม้แต่คณะต่างๆ เพื่อเกิดเป็นฐานข้อมูลสำคัญในอนาคต ซึ่งโรงพยาบาลของเรากำลังทำเรื่องของ Aging และ Telehealth ที่มีการนำอุปกรณ์ Wearable รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ( AI) เข้ามาปรับใช้ แต่สิ่งสำคัญคือการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปสู่เทคโนโลยีเพื่ออนาคตได้

พร้อมกันนี้ หัวเว่ยยังได้เข้าร่วมนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษาภายในงาน APAN 57 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “Leading Infrastructure to Accelerate Education Intelligence” เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษายุคใหม่

โดยได้นำเสนอโซลูชันไฮไลต์เพื่อสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สายล่าสุด ซึ่ง Huawei Air-Engine Wi-Fi 7 ที่ให้แบนด์วิธสูง พร้อมรองรับการทำ e-classroom ที่สามารถใช้ภาพและเสียงได้อย่างคมชัดระดับ HD และการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมจริงและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ดีกว่าเดิม รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับการเรียนการสอนยุคใหม่อย่าง Converged Campus Network และ Scientific Research HPDA ซึ่งมีจุดเด่นของขีดความสามารถในการประมวลผลขั้นสุด ประหยัดพลังงานและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบองค์รวมภายใต้ Digital Talent Ecosystem ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีทีให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมให้ได้ 50,000 คน ภายในปี 2570


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save