ส.อ.ท.แนะภาครัฐเร่งสนับสนุนและส่งเสริมประสิทธิภาพแรงงานไทย ยกระดับสู่มาตรฐานสากล


กรุงเทพฯ – 27 เมษายน 2566 : มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าเนื่องจากวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันแรงงานแห่งชาติ” ซึ่งแรงงานถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคการผลิตของไทย ส.อ.ท. จึงได้มีการสำรวจความเห็น FTI Poll ครั้งที่ 28 ในเดือนเมษายน 2566 ภายใต้หัวข้อ “มุมมองของภาคอุตสาหกรรมต่อการจ้างงานและการปรับตัวของแรงงานในอนาคต” โดยผลสำรวจพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่มองว่า อัตราการจ้างงานในปัจจุบันได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน COVID-19 แล้ว โดยคาดว่าในปีนี้การจ้างงานจะยังมีแนวโน้มคงที่ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและชะลอตัวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการปรับตัวในหลายมิติโดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการแรงงานและการจ้างงาน ที่ได้ให้ความสำคัญกับการ Upskill/Reskill และสร้าง New Skill เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับการดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ รวมถึงมีการเริ่มใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตทดแทนการใช้แรงงานมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานและปัญหาประสิทธิภาพแรงงาน

มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ได้เสนอให้ภาครัฐเร่งสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน (Labor Productivity) โดยเฉพาะการสนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) และการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งการขยายสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานเพื่อ Upskill/Reskill เป็นลดหย่อนภาษีได้ 250% เท่ากับการอบรมทักษะขั้นสูงที่ได้รับการรับรองจาก สอวช. เพื่อจูงใจภาคเอกชนให้มีการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกด้าน

นอกจากนี้หากพิจารณาจากทักษะที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 เป็น ทักษะทางวิศวกรรม (Engineering Skills) อันดับ 2 เป็น ทักษะทางดิจิทัล (Digital Skills) และอันดับ 3 เป็น ทักษะทางการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 218 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก
45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด
มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 28 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้

  1. ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการจ้างงานในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 อยู่ในระดับใด (Single Choice)

อันดับที่ 1 : เท่าเดิม 48.6%                                                                         48.6%

อันดับที่ 2 : เพิ่มขึ้น 10-20%                                                                         24.8%

อันดับที่ 3 : ลดลง 10-20%                                                                            19.3%

อันดับที่ 4 : ลดลงมากกว่า 20%                                                                      5.0%

อันดับที่ 5 : เพิ่มขึ้นมากกว่า 20%                                                                     2.3%

  1. ปัจจัยใดส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต (Multiple Choices)

      อันดับที่ 1 : ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว                                                       59.6%

อันดับที่ 2 : ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น ระบบ Automation,                     48.2%
การใช้ Robotics และ AI

อันดับที่ 3 : การเกิด Digital Disruption ที่มีผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจ          45.4%

อันดับที่ 4 : นโยบายรัฐ กฎหมายกฎระเบียบ และมาตรการจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง     39.4%
ด้านแรงงาน

  1. ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวในเรื่องการจ้างแรงงานในปัจจุบันอย่างไร (Multiple Choices)

อันดับที่ 1 : ให้ความสำคัญกับการ Upskill/Reskill และสร้าง New Skill                    67.0%

                   เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับธุรกิจใหม่

อันดับที่ 2 : เริ่มมีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตทดแทน         65.6%
การใช้แรงงาน

อันดับที่ 3 : รูปแบบการจ้างงานและการบริหารจัดการแรงงานมีความยึดหยุ่นมากขึ้น         55.5%

เช่น การใช้ Outsource เป็นต้น

อันดับที่ 4 : ปรับลดขนาดองค์กรและยุบรวมตำแหน่งงานให้เกิดความคล่องตัว                  45.4%

และลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน

  1. ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน (Labor Productivity)
    ในเรื่องใด (Multiple Choices)

อันดับที่ 1 : สนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill)            69.3%

                   และการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากล      

อันดับที่ 2 : ขยายสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงาน              65.6%
เพื่อ Upskill/Reskill เป็นลดหย่อนภาษีได้ 250%

(เท่ากับการอบรมทักษะสูงของ สอวช.)

อันดับที่ 3 : พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน       60.1%

และแก้ไขปัญหา Skill Mismatch

อันดับที่ 4 : จัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการฝึกอบรม Upskill/Reskill/Multi Skill/        54.6%

Future skill รวมทั้งเพิ่มงบประมาณสนับสนุนกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

  1. บริษัทท่านมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะในด้านใด (Multiple Choices)

อันดับที่ 1 : ทักษะทางวิศวกรรม (Engineering Skills)                               68.8%

อันดับที่ 2 : ทักษะทางดิจิทัล (Digital Skills)                                                          63.3%

อันดับที่ 3 : ทักษะทางการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)                                  53.7%

อันดับที่ 4 : ทักษะทางการตลาด (Marketing Skills)                                             46.8%

 

  1. ภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการจ้างแรงงานในปี 2566 อย่างไร (Single Choice)

อันดับที่ 1 : คงที่                                                                                 50.0%

อันดับที่ 2 : เพิ่มขึ้น                                                                                  35.3%

อันดับที่ 3 : ลดลง                                                                                     14.7%


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save