สวทช. จับมือ เน็ตเบย์ นำ HAPYbot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ไปใช้งานจริงใน รพ.สังกัด ม.มหิดล 3 แห่ง


สวทช. จับมือ เน็ตเบย์ นำ HAPYbot  หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ไปใช้งานจริงใน รพ.สังกัด ม.มหิดล 3 แห่ง

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าว “ความสำคัญของเทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ และนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการสนับสนุนการใช้ Robot ในสถานการณ์ปัจจุบัน” พร้อมจัดพิธีรับมอบหุ่นยนต์ HAPYbot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ จำนวน 3 ตัว จาก บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้งานจริงภายในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ. นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์ขาดแคลนอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงได้ร่วมปรึกษากับทางภาครัฐ ภาคเอกชนที่มีงานวิจัยที่จะนำมาช่วยในการผลิตหุ่นยนต์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ที่สำคัญการนำหุ่นยนต์มาร่วมทำงานเสมือนเป็นผู้ช่วยแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ สามารถทำงานขนส่งอาหาร, อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ยาได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่ติดเชื้อในการเข้าหอผู้ป่วย และจากการทดลองนำไปใช้งานจริงทำให้เกิดการปรับแต่งดีไซน์การทำงานของหุ่นยนต์เพิ่มให้มีคุณสมบัติสามารถติดตั้งแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถซักถามอาการป่วยในแต่ละวัน, โต้ตอบกับญาติผ่านแท็บเล็ตช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด ซึ่งเบื้องต้นจากการนำโจทย์การสร้างหุ่นยนต์ที่เหมาะสมในการใช้งานจริงในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

หุ่นยนต์ทางการแพทย์

ทั้งนี้พบว่าหุ่นยนต์แต่ละตัวจากบริษัทต่าง ๆ มีประสิทธิภาพดีแต่ยังไม่ตอบโจทย์การทำงานของแต่ละโรงพยาบาล จนกระทั่งบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้คำแนะนำการพัฒนาจาก สวทช. นำเสนอหุ่นยนต์ HAPYbot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะให้โรงพยาบาลในสังกัดทดลองใช้งานจริงเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563 พบว่าการทำงานของหุ่นยนต์ HAPYbot ตอบโจทย์กว่าหุ่นยนต์ชนิดอื่น ๆ ที่นำมาทดลองใช้ดูแลผู้ป่วย แต่ยังมีหลาย ๆ ปัญหา เช่น ต้องมีการปรับแต่งโปรแกรมการใช้งานภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ เพื่อสื่อสารกับผู้ป่วยชาวต่างชาติ ปรับให้มีความกะทัดรัดในการเข้าพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัดในโรงพยาบาลอย่างทั่วถึงต่อไป

นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ

นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการทดลองใช้งาน HAPYbot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ มาใช้งานร่วมกับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์ COVID-19ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563 เมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ทางการแพทย์อื่น ๆ ก่อนหน้านั้น พบว่าหุ่นยนต์ HAPYbot ใช้งานง่ายด้วย QR Code สั่งงาน หรือเพียงแค่กดปุ่มเริ่มการทำงานบนหน้าจอสัมผัสที่ตัวหุ่นยนต์นี้โดยไม่ต้องใช้เน็ตเวิร์คของทางโรงพยาบาล, เคลื่อนที่เร็ว ไม่กีดขวางการทำงานในพื้นที่จำกัดของโรงพยาบาล ตามแพลตฟอร์มที่มีการสร้างขึ้นให้การเดินตามช่องทางที่กำหนดและหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อัตโนมัติ, ส่งสิ่งของตามที่ระบุได้ตรงตัวผู้ป่วยทุกราย, มีช่องเปิดปิดอัตโนมัติสามารถเก็บเวชภัณฑ์ น้ำดื่ม และอื่น ๆ , รองรับน้ำหนักได้ถึง 15-17 กิโลกรัม, มีหน้าจอแท็บเล็ตที่ดีไซน์ให้ผู้ป่วยและแพทย์ที่ทำการรักษา ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลพูดคุยสอบถามอาการป่วยในแต่ละวันเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ที่สำคัญทำงานต่อเนื่องได้ 210 นาที เมื่อทำงานเสร็จจะกลับเข้าพื้นที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่เองตามจุดต่าง ๆ หากเกิดเหตุฉุกเฉินแบตเตอรี่ใกล้หมด จะมีแบตเตอรี่สำรองให้ใช้โดยไม่ต้องกังวลในระหว่างการทำงาน

อย่างไรก็ตาม มีส่วนที่ต้องปรับปรุงในการทำงานของหุ่นยนต์ในพื้นที่บางจุดของโรงพยาบาลยังมีความลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ และอยากให้มีรูปแบบหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้ป่วยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ เช่น หุ่นยนต์สำหรับเด็กเล็ก ๆ และหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้ป่วยสูงอายุในการทำกิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น

พิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์

พิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดีไซน์หุ่นยนต์ HAPYbot สำหรับการใช้งานในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับหุ่นยนต์ส่งของในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์สำหรับการใช้งานบริการ และหุ่นยนต์ส่งของอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กที่มีช่วงทำงานไม่เกิน 210 ชั่วโมงในการชาร์จไฟฟ้าเต็ม 100 % เพราะวัสดุที่นำมาใช้ประกอบสร้างหุ่นยนต์นี้ใช้มีข้อจำกัด มีราคาที่แพงและค่อนข้างหายากในสถานการณ์ COVID-19 และต้องตรงกับข้อกำหนดมาตรฐานทางการแพทย์ที่ สวทช.กำหนดให้นำมาใช้งาน

สำหรับราคาหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นนี้ตัวละประมาณ 1.6 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับราคาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ใช้กันในต่างประเทศประมาณ 5 ล้านบาทนั้นถือว่าถูกมาก อีกทั้งการออกแบบ สร้างโดยฝีมือคนไทยหากมีขัดข้องสามารถที่จะซ่อมบำรุงใช้งานใหม่ได้ทันที ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศ ขณะนี้ทางบริษัทฯ กำลังผลิตเพิ่มอีก 7 ตัวเพื่อนำไปช่วยเหลือโรงพยาบาลอื่น ๆ ในการต่อสู้กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

ส่วนการผลิตหุ่นยนต์ HAPYbot เพื่อจำหน่ายในอนาคตนั้น ต้องรอดูกฎข้อบังคับทางการแพทย์และทิศทางความต้องการของตลาดทางการแพทย์ประกอบการพิจารณาอีกที


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save