สวทช. จับมือ กรอ. ขับเคลื่อนการพัฒนาโรงงานไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตั้งเป้าปี’67พัฒนาโรงงานไทยสู่ระดับที่สูงขึ้น 500 โรงงาน


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงงานไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตั้งเป้าปี 2567 จะพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมของไทยให้ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 500 โรงงาน

ศ. ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ในส่วนการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมนั้น สวทช.ได้พัฒนาและนำหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยต่างๆใช้พัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆของประเทสไทยให้พัฒนาจากที่ปัจจุบันระดับภาคอุตสาหกรรมของไทยเฉลี่ยอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 2.5-2.7 ให้มาอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายรัฐบาลให้ได้ แต่การที่จะยกระดับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีอยู่จำนวนมากเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้นั้นต้องนำองค์ความรู้ที่มีเข้าไปส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งประเมินภาคอุตสาหกรรมแต่ละประเภทแต่ละสาขาว่า อุตสาหกรรมเหล่านั้นอยู่ในระดับใดบ้าง และขาดแคลนองค์ความรู้ด้านใด เมื่อนำองค์ความรู้ไปส่งเสริมสนับสนุนแล้วจะได้ผลในทิศทางใด ซึ่งการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนั้นต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ถึงจะเห็นผลและต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลภาคส่วนอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านองค์ความรู้ เห็นผลการปรับปรุงการทำงาน การปรับนำเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆนำไปใช้ในภาคส่วนอุตสาหกรรม และที่สำคัญช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนที่จะนำไปยกระดับอุตสาหกรรมให้มีแนวทางในการลงทุนที่คุ้มค่า สามารถแข่งขันได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2566 มีการประเมิน Thailand i4.0 Index แล้วกว่า 200 โรงงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาคอุตสาหกรรม 140 โรงงาน และฝึกอบรมบุคลากร 600 คน และในปี 2567 ภายหลังจากการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงงานไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 กับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีระยะการทำงานร่วมกันจากนี้ 3 ปี  การทำงานจะร่วมกันพัฒนารูปแบบการประเมินแบบออนไลน์และทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถรู้ผลได้ทันที เพื่อนำไปปรับปรุงยกระดับสถานประกอบการ อีกทั้งยังเชื่อมกลไกสนับสนุน และสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ดร. จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า แพลตฟอร์ม ดัชนี้อุตสาหกรรม 4.0 Thailand i4.0 Index ที่ทาง สวทช.พัฒนาขึ้น เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย หาจุดแข็งจุดอ่อนของภาคอุตสาหกรรมของตนเองแล้วไปปรับจุดอ่อน เสริมจุดแข็งให้แข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปปรับองค์กรให้มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุน สินเชื่อต่างๆของภาครัฐ รวมทั้งเข้าถึงแหล่งเสริมความรู้ต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจาก สวทช และกรมโรงงานที่จะร่วมกันถ่ายถอดองค์ความรู้ให้อุตสาหกรรมไทยทั้งที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์  ให้มีความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งสานต่อแนวคิดอุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ใน 4 มิติ ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม ความลงตัวกับกติกาสากลและการกระจายรายได้สู่ชุมชน พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมทุกๆอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ เพื่อส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนที่ตอบโจทย์ประเทศไทยและประชาคมโลก

นอกจากนี้ กรอ. ยังสนับสนุนให้มีการนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ ผ่านการวิจัยและพัฒนาสู่การเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นวัตถุดิบในอีกอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสิ้นสุดของการเป็นของเสีย (End of Waste) รวมถึงการพัฒนามาตรฐานสำหรับวัตถุดิบทุติยภูมิเพื่อให้เกิดการเลือกใช้วัสดุทดแทน เพื่อรักษาต้นทุนของธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และลดการเกิดของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

“สำหรับการทำงานร่วมกัน กับ สวทช. ต่อจากนี้อีก 3 ปี กรมโรงงานอุตสาหกรรมหวังว่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมของไทยให้ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 500 โรงงาน เช่น โรงงานที่อยู่ในระดับ 2.5 จะนำองค์ความรู้ บุคลากรลงไปแนะนำข้อมูล เสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยในการทำงานให้เป็นระบบมีระเบียบ สามารถตรวจสอบย้อนหลังการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆของการค้า เพื่อหวังว่าจะช่วยยกระดับโรงงานให้ขยับระดับอุตสาหกรรมเป็น 2.7-3.0 ได้” ดร. จุลพงษ์ กล่าว

ส่วนผู้ประกอบการโรงงานในระดับอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ปัจจุบันมีหลายภาคอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการอยู่ในระดับ 4.0 อยู่บ้างแล้ว ทาง สวทช.และกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเข้าไปเสริมองค์ความรู้ให้แข็งแกร่งขึ้น นำแพลตฟอร์มต่างๆที่ควรใช้ไปสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0  ประเมินระดับความพร้อมโรงงานโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องมาตรการปรับคาร์บอนทางการค้าที่ผู้ผลิตจะนำเข้าไปจำหน่ายในตลาดยุโรป หรือมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน  CBAM  (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์จากโรงงานต้องรับทราบรายละเอียดและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ได้ตามมาตรการ CBAM กำหนด เพราะหากผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ CBAM กำหนดจะถูกกีดกันทางการค้าได้

ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า Thailand i4.0 Index  เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อวัดระดับอุตสาหกรรมในแต่ละอุตสาหกรรมว่าอุตสาหกรรมนั้นๆอยู่ในระดับใด ตั้งแต่ อุตสาหกรรม 1.0 -อุตสาหกรรม 4.0 ตอนนี้ได้พัฒนาให้เข้าถึงได้ง่ายผู้ใช้งานสามารถที่จะประเมินวัดระดับอุตสาหกรรมของตนเองได้ตามข้อมูลการวัดระดับต่างๆที่มีในแพลตฟอร์มตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด  เบื้องต้นการประเมินระดับความพร้อมด้วย Thailand i4.0 Checkup  เช่น การพัฒนาความสามารถขอบเขตของพนักงาน ความพร้อมของระบบการผลิต ความสามารถของระบบการผลิต การบูรณาการระบบและการจัดการภายในองค์กรโดยเชื่อมกับกระบวนการห่วงโซ่อุปทานของตลาดการค้า การจัดการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้บริโภคและกระบวนการทำงานเพื่อนำพาองค์กรให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้น นำพาองค์กรรอดพ้นในทุกๆวิกฤต รวมทั้งมองหาโอกาสในการขับเคลื่อนนำพาองค์กรสู่ Industry 4.0ถือเป็นบันไดขั้นแรกในการก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0

ภายหลังจากการเข้ารับประเมินแล้ว ยังสามารถเข้าใช้บริการด้านอื่นๆ จาก สวทช. ได้ เช่น การให้คำปรึกษา การฝึกอบรม เช่น หลักสูตรรับรองผู้ประเมิน Thailand i4.0 Index หลักสูตร Industry 4.0 สำหรับผู้บริหารระดับสูง หลักสูตรสำหรับ System Analyst (SA)  หลักสูตรสำหรับ System Integrator (SI) ถ่ายทอดเทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา ที่จะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมในการปรับตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0  เช่น เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยี AI Robot & Automation System เป็นต้น เช่น การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในโรงงานอุตสาหกรรม การนำไอทีเทคโนโลยีและดาต้าต่างๆมาใช้วัดผล วิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของบุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มจะทราบข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนในการประกอบอุตสาหกรรม ทางเจ้าหน้าที่ สวทช.และกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะได้แนะนำการกำจัดจุดอ่อนที่เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของผู้ประกอบการ

การประเมินผลแบบเดิมที่มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจประเมิน ให้คำแนะนำและแบบแพลตฟอร์ม Thailand i4.0 Index  สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเอง โดยวัดระดับความพร้อมขององค์กรในแต่ละด้านตามระดับที่ Industry 4.0 กำหนด ซึ่งทั้งสองแบบการประเมินผลอุตสาหกรรมแต่ละประเภทยังคงประเมินแบบคู่ขนานกัน  เพื่อเก็บข้อมูลและผลการประเมินโรงงานอุตสาหกรรมไทยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแม่นยำมากยิ่งขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save