สขค.ชี้ COVID-19 ส่งผล SME เสี่ยงแข่งขันทางการค้า เตรียมออกมาตรการช่วยรายย่อยรับมือวิกฤต


กรุงเทพฯ  : สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่ม SMEs ที่เป็นผลจากการระบาดของเชื้อ COVID–19 ที่ต้องเฝ้าจับตามอง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการประกอบธุรกิจจากการที่ SMEs ประสบปัญหาการประกอบการในช่วง COVID-19 ทั้งจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินที่ทำให้ SMEs จำนวนมากต้องล่มสลายและออกจากธุรกิจ รวมทั้งผลจากการเข้ามาของการทำธุรกิจที่นำเทคโนโลยี E-platform มาใช้มากขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้พบการควบรวมธุรกิจและการกว้านซื้อธุรกิจจากรายใหญ่ทั้งจากบริษัทในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีจากผู้ที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีมาใช้สร้างอำนาจเหนือตลาดต่อผู้ประกอบการ SMEs

นอกจากนี้ สขค. ยังได้ชี้แนวทางเอาตัวรอดจากเรื่องดังกล่าวที่ต้องใช้ทักษะใหม่ที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมีจินตนาการให้ได้ว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะเปลี่ยนไปอย่างไร ต้องศึกษาความท้าทายจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับแข่งขันทางการการค้าเพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ ฯลฯ บทบาทของ สขค. ยังได้เร่งสร้างบรรยากาศทางการค้าให้เป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผ่านการเร่งออกแนวปฏิบัติที่จะใช้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการให้บรรลุเป้าหมายของการมีสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมกับทุกๆราย โดยแนวปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติสำหรับการประกอบธุรกิจค้าปลีก 2) แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) กรณีผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม (SMEs) เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการ 3) แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ 4) แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร รวมทั้งการเปิดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงและทางออนไลน์ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการค้า

ศาสตราจารย์ ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า  กล่าวว่า จากข้อมูลของ สสว. ได้แสดงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID -19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกผู้ประกอบธุรกิจทุกภาคส่วน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เมื่อพิจารณาจาก GDP ของ SMEs ปีพ.ศ. 2563 พบว่า ขนาดของผลประกอบการของ SMEs มีอัตราการลดลงถึง  – 9.1% เมื่อเทียบกับ GDP ประเทศที่ลดลงประมาณ – 6.1% ซึ่งมีการปรับลดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงเริ่มระบาด

นอกจากนี้ จากการติดตามสถานการณ์ของ SMEs มาอย่างต่อเนื่องของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ยังคาดว่าสิ่งที่ SMEs ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องในระยะหลังจากนี้คือ

  • โครงสร้างทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะที่มาจากการรุกคืบของเทคโนโลยี E-platform ต่างๆ
    ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น E – Service , E – Logistic และ E – Commerce ทำให้ธุรกิจ
    แบบดั้งเดิมไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ต้องถูกแย่งพื้นที่ตลาด โดยเฉพาะธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งออนไลน์ รวมถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
  • การควบรวมธุรกิจ หรือที่เรียกกันว่า Mergers & Acquisitions: M&A ที่รวมถึงการกว้านซื้อธุรกิจรายใหญ่
    ซึ่งปัจจุบันหลายธุรกิจทั่วโลกได้เดินหน้าขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการควบรวมกิจการ
    มากขึ้น ที่มักมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจจากการรวมธุรกิจ และจะเป็นการสร้างทางรอดของธุรกิอย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ตามมาคือทำให้โอกาสการแข่งขันโดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs และ MSMEs ลดลง หรือไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากไม่มีอำนาจทางการค้าที่มากพอ อีกทั้งยังอาจจะตามมาซึ่งการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ จากธุรกิจรายใหญ่อีกด้วย
  • การใช้อำนาจเหนือตลาดจากผู้ที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยี ซึ่งหาก SMEs ไม่สามารถปรับตัวหรือ
    รู้เท่าทันกับเรื่องดังกล่าว ก็จะเป็นผู้เสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้า และนำมาซึ่งช่องว่างในการถูกรังแก
    จากผู้ที่มีความสามารถที่มากกว่าอย่างต่อเนื่อง

 

“สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่บีบบังคับให้กลุ่มผู้ประกอบการทุกระดับต้องเร่งปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด และเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สำหรับกลุ่ม SMEs นั้น สขค.มองว่า ทักษะที่ SMEs จำเป็นต้องตระหนักรู้คือทักษะใหม่ซึ่งจะต้องจินตนาการให้ได้ว่าธุรกิจที่ SMEs ทำอยู่จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และต้องคิดว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นอยู่ที่ไหนในห่วงโซ่การประกอบธุรกิจของตนเอง เช่นหากอยู่ที่สินเชื่อก็ต้องคิดว่าจะเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างไร จะใช้ประโยชน์ของสินเชื่อที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญในการพลิกฟื้นตัวเอง มิฉะนั้นการขับเคลื่อนหรือพัฒนาตัวเองอาจจะเป็นไปอย่างผิดเป้าหมาย ทำให้ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นหรือเกินความสามารถได้”  ศาสตราจารย์ ดร. สกนธ์ กล่าว

นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ Pain Point หรือจุดอ่อนของการทำธุรกิจที่ทำอยู่ว่าสินค้าและบริการที่มอบให้แก่ผู้บริโภคคืออะไร เพื่อหาจุดเชื่อมในการแก้ปัญหา ศึกษาความท้าทายของเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยต้องคิดว่าจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการแข่งขันในตลาดได้อย่างไร ในโลกที่เป็นยุคของข้อมูลและไร้พรมแดน ที่มีการแข่งขันการค้าที่เข้มข้นมากขึ้นทั้งจากวิถีธุรกิจเดิมและจากการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ ที่ผู้ประกอบ SMEs ละเลยไม่ได้ที่ต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับแข่งขันทางการการค้า เพราะโลกธุรกิจหลังจากนี้จะมีรูปแบบการใช้อำนาจเหนือตลาดรูปแบบใหม่ ที่มีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบการด้วยกัน

ศาสตราจารย์ ดร. สกนธ์ กล่าวว่า ขณะนี้สขค.ได้ออกแนวปฏิบัติเรื่องระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าหรือ Credit Term สำหรับใช้กำกับดูแลระยะเวลาของให้สินเชื่อทางการค้าที่เป็นกลไกช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ SMEs และผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ได้ใช้กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้าสำหรับภาคการค้า การผลิต และภาคบริการไว้ไม่เกิน 45 วัน  และสำหรับภาคการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูปขั้นต้นที่มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน กำหนดไว้ไม่เกิน 30 วัน เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2564 ที่จะถึงนี้ รวมทั้งเข้มงวดการบังคับกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งสร้างบรรยากาศทางการค้าให้เป็นธรรมและไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ สขค. ยังได้ออก แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับความนิยมของ SMEs มีจำนวนผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก โดยตั้งเป้าที่จะสร้างมาตรฐานทางการค้าระหว่างผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) และผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี (Franchisee) ผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีธรรมาภิบาลและมีบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน รวมถึงแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารที่อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจ  E-commerce เพื่อลดการเอาเปรียบหรือใช้อำนาจเหนือตลาดของเจ้าของแพลตฟอร์มและทำให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ COVID–19


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save