วีซ่า เผยผลสำรวจคนไทยใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดได้นาน 8 วัน คาด COVID-19 เร่งให้สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นอีก 5 ปีข้างหน้า


สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

วีซ่า (Visa) ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี พ.ศ. 2563 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของ วีซ่า เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ใน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยมีการทำแบบสอบถามทั้งหมด 7,500 ราย ซึ่งรวมถึง 1,000 รายในประเทศไทย พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างมี 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด และโดยเฉลี่ยคนไทยสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน นอกจากนี้ มีสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนหน้า 17% หากเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วน 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3% และมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย เผยผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี พ.ศ. 2563 ของวีซ่าว่า ผลสำรวจดังกล่าว จัดทำโดย CLEAR ในนามของ วีซ่า เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ใน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียรนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยมีการทำแบบสอบถามทั้งหมด 7,500 ราย ซึ่งรวมถึง 1,000 รายในประเทศไทย ในกลุ่มคนอายุระหว่าง 18 – 65 ปี และมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างมี 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด และโดยเฉลี่ยคนไทยสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน นอกจากนี้ มีสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนหน้าที่ 17% และหากเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วนที่ 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3% และมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

ผลจากการสำรวจนี้สะท้อนมาจากการเกิดสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งแพร่ระบาดทั่วโลกส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากเดิมที่ใช้จ่ายเงินสดมากกว่าทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางออนไลน์ไร้เงินสด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และมีความสะดวกจากการจ่ายผ่านชองทางอีคอมเมิร์ชสั่งซื้อของออนไลน์ต่างๆที่ผู้บริโภคสนใจ โดยผู้บริโภคเลือกทดลองแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับแรกถึง 26% รองลงมาเป็นการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส ประมาณ 23% และสแกนจ่ายผ่าน QR Code 21%

คาดอีก 5 ปีประเทศไทยจะเข้าสุ่ระบบไร้เงินสดเต็มรูปแบบ

สุริพงษ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ผลการสำรวจที่ได้ยังพบอีกว่าการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดที่เร็วกว่าการคาดการณ์ก่อนเกิดการระบาดของ COVID -19 ซึ่งประเมินกันไว้ว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีมาเป็นประมาณ 4-5 ปีจากนี้ หรือประมาณปี พ.ศ. 2569   โดยผู้บริโภคชาวไทยรับรู้และคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่าน QR Code มากที่สุดประมาณ 94% ,วิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทกต์เลส (Contactless) 89% เป็นต้น ใ

ในด้านของการใช้งานจริงนั้น ประมาณ 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด, การสแกนชำระผ่าน QR Code ประมาณ 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทกต์เลสประมาณ  41% ส่วนในปีพ.ศ.2564 นี้จะเป็นปีแห่งการค่อยๆฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของทั้งโลกเนื่องจากความไม่แน่นอนทางสถานการณ์ COVID-19 ที่ยากคาดเดา และภาวะเศรษฐกิจ การเมืองทั่วโลกผันผวนต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทุกๆไตรมาสประกอบการดำเนินนโยบายกระตุ้นความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้า

สำหรับข้อดีของการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Cociety) 3 เรื่องที่พบจากการสำรวจแบบสอบถามนี้ ประกอบด้วย 1.การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรค 61% 2.ไม่ต้องต่อคิวในธนาคาร 60% และ3.ช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่ายขึ้น 59%

สุริพงษ์ กล่าวว่าวีซ่า กำลังมองว่าจะหาแผนกลยุทธ์ในการทำอย่างไรให้ Payment เกิดขึ้นได้ในสภาวะอย่างนี้ ซึ่งเทรนด์หนึ่งที่เราเห็นก็คือ Contactless แตะเพื่อจ่ายโดยที่ไม่ต้องแตะต้องธนบัตรที่อาจจะมีการปนเปื้อน และยังเป็นเทรนด์ที่น่าจะไปได้ต่อเนื่อง เพราะปี พ.ศ.2564 นี้ทั้งปี COVID-19 ก็ยังคงอยู่กับเราเพราะการฉีดวัคซีนยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง นอกจากนี้ มีลูกค้าได้ลองใช้แล้วก็มักจะใช้ต่อไปหรือใช้เพิ่มขึ้นเพราะมีความสะดวก โดยทางวีซ่าเองก็มีแนวทางเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนการเพิ่มสัดส่วนลูกค้าที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้ใช้ Contactless เพิ่มขึ้นเป็น 20% ของธุรกรรมทั้งหมดในปีพ.ศ.2564นี้ จากเดิมที่ประมาณ 15% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากก่อนหน้าที่มีแค่ 0.1% โดยมองว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกรรมจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนบัตรเดบิต-เครดิตที่หมดอายุของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรรุ่นใหม่จะเป็นคอนแทคเลส รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องรับบัตร (EDC) ที่รับชำระได้ 4 in 1 ได้

“ขณะที่วีซ่าเองก็จะมีแคมเปญออกมาส่งการใช้ รวมถึงจับมือพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางการใช้ เช่น หมวดการเดินทางเชื่อมโยง ทั้งทางเรือและรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งคาดว่าระบบเรือจะได้เห็นเป็นลำดับแรกภายในปลายปีพ.ศ.2564 นี้ ส่วนการขนส่งอื่น ๆต้องรอการประสานการทำงานและปรับเปลี่ยนระบบให้ทำงานตรงกัน” ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย  กล่าว

สำหรับตลาดประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของเอเชีย โดยมีจำนวนผู้ถือบัตรกว่า 70-80 ล้านใบ และมีประชากรที่เข้าถึงบัญชีธนาคารสัดส่วนค่อนข้างสูงประมาณ 83% ทำให้สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สูงถึงประมาณ 72% และใช้เงินสดประมาณ 28% เท่านั้น โดยมาจากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการกระตุ้นการใช้ผ่านบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ (พร้อมเพย์) และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทย 78% มีสมาร์ทโฟน 134% และใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 79%

ส่วนลูกค้าทั่วโลกของวีซ่าใน 200 ประเทศ ซึ่งมีฐานลูกค้ากว่า 3,500 ล้านบัญชี ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพด มีธนาคารพาณิชย์พันธมิตร 15,300 แห่ง ร้านค้า 70 ล้านร้านค้า จำนวนธุรกรรมกว่า 100,000 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save