วีซ่า เปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตในไทย


วีซ่า เปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตในไทย

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย

พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย และพิทยา วรปัญญาสกุล ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงานการตลาดและสื่อสารองค์กร บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC)  ร่วมเปิดตัว Google Wallet

 

กรุงเทพฯ15 พฤศจิกายน 2565 : วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศเปิดตัว Google Wallet สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตวีซ่าในประเทศไทยที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ และบัตรกรุงไทย (เคทีซี) โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยด้วย Google Wallet ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ไม่ว่าจะในร้านค้า การช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และยังสามารถจัดเก็บบัตรเครดิตไว้ภายใน Google Wallet ได้อีกด้วย

 

การเปิดตัวในครั้งนี้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเปิดรับวิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลและลดการใช้เงินสดลง จากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)[1] เผยให้เห็นว่าเกือบเก้าในสิบ (88%) ของชาวไทยในปัจจุบันที่ไม่ได้ชำระเงินแบบโมบายคอนแทคเลสต่างรับทราบเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยวิธีนี้ และมีถึง 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใจที่จะเริ่มใช้การชำระเงินในรูปแบบดังกล่าว

 

พิภาวิน สดประเสริฐ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การเกิดโรคระบาดเป็นตัวขับเคลื่อนการชำระเงินแบบคอนแทคเลส เพราะผู้บริโภคต่างมองหาช่องทางที่ปลอดภัยและสะดวกในการใช้จ่าย อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งในเรื่องการติดต่อ ทำธุรกิจ และให้ความบันเทิงไปในตัว เป้าหมายของวีซ่าคือการเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการชำระและรับเงินสำหรับทุกคน การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของเรา และเราเองภูมิใจที่ได้ส่งมอบประสบการณ์การชำระเงินที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคชาวไทย ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับเราที่ได้ร่วมสนับสนุนกูเกิ้ล ธนาคารกรุงเทพ และเคทีซี เพื่อมอบ Google Wallet และอีกหนึ่งประสบการณ์การชำระเงินที่ไร้รอยต่อและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งออนไลน์หรือแตะอุปกรณ์สวมใส่ของพวกเขาที่จุดรับชำระเงิน

 

แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2022 พบว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าการชำระเงินแบบดิจิทัลในไทยจะมีมูลค่าธุรกรรมรวม (Gross Transaction Value: GTV) สูงถึง 1.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนนิยมชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

 

“ เราจึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำ Google Wallet มาให้บริการในประเทศไทย  ด้วย Google Wallet ผู้ใช้งานในไทยสามารถแตะเพื่อจ่ายเงินในร้านค้า หรือเช็คเอาท์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งเข้าถึงบอร์ดดิ้งพาสสำหรับการเดินทางที่เร่งรีบในช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปลายปีได้อย่างง่ายดาย เปรียบเสมือนการรวมทุกกระเป๋าไว้ในที่เดียวในทุกการเดินทาง ซึ่งทั้งสะดวกและปลอดภัย” แจ็คกี้ หวา กล่าว

[1] การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2564 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของวีซ่าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ในแปดประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6,520 คน รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท

แจ็คกี้ หวาง (ซ้าย) Country Director, Google ประเทศไทย และ พิภาวิน สดประเสริฐ (ขวา) ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย
แจ็คกี้ หวาง (ซ้าย) Country Director, Google ประเทศไทย และ พิภาวิน สดประเสริฐ (ขวา) ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

ทั้งนี้วิธีการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลสไม่ต่างจากการชำระแบบผ่านบัตรคอนแทคเลส ที่ผู้บริโภคเพียงแค่แตะเพื่อจ่ายด้วยสมาร์ตโฟนที่เครื่องอ่าน ณ จุดรับชำระเงิน โดยผู้บริโภคชาวไทยบอกว่าข้อดีห้าอันดันแรกของการชำระเงินผ่านโมบายคอนแทคเลส คือ ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 (68%) ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด (65%) เป็นรูปแบบการชำระเงินที่ทันสมัย (59%) ง่ายต่อการใช้งานและติดตั้งระบบ (58%) และไม่จำเป็นต้องพกบัตรเพื่อการชำระเงิน (56%)[2]

 

Google Wallet ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย แอปจะทำงานโดยมีหน่วยประมวลผลร่วมที่ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้นที่ออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากนี้ Google Wallet ยังใช้โทเค็น ซึ่งเป็นชุดข้อมูลชั่วคราวแทนข้อมูลเลขบัญชีจริงที่จะช่วยรักษาข้อมูลของเจ้าของบัตรให้ปลอดภัย โดยชุดข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการเพิ่มบัตรไปที่ Google Pay หรือในแอปของธนาคารที่ติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในขณะที่ชุดข้อมูลตัวเลขโทเค็นที่สร้างขึ้นมาทดแทนเลขบัญชีจริงจะถูกส่งไปยังร้านค้าแทน

[1] การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2564 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของวีซ่าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ในแปดประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6,520 คน รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท

 

ผู้ถือบัตรวีซ่า จะสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android และ WearOS ตั้งแต่เวอร์ชั่น Android 5.2 เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอป Google Wallet ได้ที่ Play Store

 

[1] การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2564 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของวีซ่าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ในแปดประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6,520 คน รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท

[2] การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2564 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของวีซ่าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ในแปดประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6,520 คน รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save