“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน หารือ ส.อ.ท. เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน คาดประกาศทันปีใหม่เป็นของขวัญแรงงานไทยทุกคน


พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ร่วมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน หารือ เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  พร้อมด้วยรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เกี่ยวกับประเด็นการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาแรงงานได้ตรงจุด โดยไม่กระทบต่อนายจ้างและลูกจ้าง

พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า  การหารือกับ ส.อ.ท.ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่มีความเข้าใจในปัญหาแรงงาน ในครั้งนี้  เพื่อหารือในประเด็นค่าแรงขั้นต่ำที่จะมีการปรับขึ้นตามนโยบายรัฐบาลและการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพตรงตามการใช้แรงงานภาคอุตสาหกรรมต่างๆโดยไม่กระทบต่อนายจ้างและลูกจ้างสามารถยอมรับได้  สำหรับประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเบื้องต้น 400 บาทนั้น จะต้องหารือกับคณะกรรมไตรภาคี ประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาลเพิ่มเติม ว่าจะสามารถปรับได้ในส่วนใด และอุตสาหกรรมใดได้บ้าง เช่น อาจจะปรับได้ในส่วนอุตสาหกรรมที่มีทักษะชั้นสูง แต่จะไม่ประกาศเป็นค่าแรงขั้นต่ำ  เนื่องจากจะกระทบนายจ้างในหลายภาคอุตสาหกรรมที่แบกรับภาระเพิ่มค่าแรงลูกจ้างไหวไหว  ทั้งนี้จะต้องเห็นใจนายจ้าง พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่น ๆประกอบอย่างรอบด้าน ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่จะตามมาหากปรับค่าแรงขั้นต่ำทันที  คาดว่าการหารือไตรภาคีจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้  เพื่อประกาศใช้ให้ทันเป็นของขวัญปีใหม่แก่แรงงานไทยทุกคน

ด้านกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่วันละ 328-354 บาท จากการหารือเรื่องการปรับค่าแรง400 บาท ตามทักษะฝีมือแรงงานและไม่ประกาศเป็นค่าแรงขั้นต่ำนั้นเป็นเรื่องที่ทาง ส.อ.ท.เห็นด้วย เพราะหากประกาศจะทำให้เกิดปัญหาหลายเรื่องตามมา เช่น ปัญหาราคาสินค้าปรับขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาแรงงานต่างด้าวย้ายเข้าประเทศไทยสูงขึ้นเพราะค่าแรงไทยปรับสูงกว่าหลายประเทศ ส่วนเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้มีทักษะและฝีมือที่ดีขึ้นได้แรงงานตรงตามงานนั้น  ส.อ.ท.ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ซึ่งมีการขับเคลื่อนทั้งอุตสาหกรรมเดิม (First Industries) ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-GEN Industries) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม  เช่น 1.เปลี่ยนจาก ผู้รับจ้างผลิต  (Original Equipment Manufacturer : OEM ) เป็นผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัท (Original Design Manufacturer : ODM ) และผู้ผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง  (Original Brand Manufacturer : OBM ) 2. เปลี่ยนจากใช้แรงงานเป็นใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องจักร และระบบ Automation 3. เปลี่ยนจากผลิตเพื่อกำไร เป็นการผลิตควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และ 4.เปลี่ยนจากแรงงานไม่มีฝีมือ (Unskilled Labor) เป็นแรงงานที่มีฝีมือขั้นสูง (High-skilled Labor) ผ่านการเสริมสร้างทักษะให้แรงงานไทยมีความแข่งขันได้กับประเทศต่างๆ โดยทั้ง 45 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิก ส.อ.ท. พร้อมที่จะรับนโยบายภาครัฐและนำไปชี้แจงกลุ่มสมาชิกเพื่อปรับการดำเนินอุตสาหกรรมต่างๆให้สอดรับกับแนวนโยบายภาครัฐต่อไปและให้ทุกภาคส่วนอยู่ร่วมกันได้

สุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสายงานแรงงาน กล่าวว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคีแต่ละจังหวัดเป็นผู้พิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ความเดือดร้อนของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และผลิตภาพแรงงาน ให้ปราศจากการแทรกแซงจากหน่วยงานภายนอก หากจะให้ปรับขึ้นจากอัตราในปัจจุบันเป็นวันละ 400 บาท หรือปรับขึ้น 13-20% นั้น จะสร้างภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้นปัจจุบันมีความต้องการอยู่ที่ 300,000คน โดยภาคเอกชนจะเสนอให้รัฐบาลใช้แนวทางการจัดทำความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและปลอดภัยต่อความมั่นคงของประเทศ   นอกจากนี้ ส.อ.ท.มีข้อเสนอด้านแรงงานที่ต้องการให้กระทรวงแรงงานช่วยผลักดัน 8 เรื่องหลักๆ ได้แก่

1.เพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของไทยกับประเทศคู่แข่ง และผลักดันประเด็นผลิตภาพแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาทักษะให้ตรงความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงาน เพื่อสอดรับเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยภาครัฐควรมีการสนับสนุนงบประมาณ และประสานความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเอกชน ภาคการศึกษา จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน สนองความต้องการตลาดแรงงาน (STEM)

2.ส่งเสริมและพัฒนา SMEs ในการนำระบบ Automation มาปรับใช้ โดยภาครัฐควรมีนโยบายและจัดสรรงบประมาณมาใช้ในระบบบริหารจัดการและการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทดแทนกำลังแรงงานที่ขาดแคลน และสร้างความสามารถในการแข่งขัน

3.จัดทำฐานข้อมูล (Big Data) ที่ทันสมัย ถูกต้องแม่นยำและครบถ้วน เพื่อบริหารจัดการอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ด้านแรงงาน แก้ไขปัญหาการทำงานไม่ตรงกับทักษะ (Mismatching) และการขาดแคลนแรงงาน โดยมีหน่วยงานเฉพาะกิจมารับผิดชอบ เพื่อวางแผน รวบรวม ประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เพื่อใช้ในการพัฒนากำลังคน สร้างความสมดุลด้านกำลังแรงงาน

4.กระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ในการผลิตบุคลากรตามความต้องการของตลาดแรงงาน (STEM) ให้มีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ

5.แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและจ้างงานแรงงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน และค่าใช้จ่าย เพื่อลดภาระผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ ควรมีการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวระยะยาว เช่น เจรจากับประเทศต้นทางในการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงฯ หรือ MOU ที่ไทยทำกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย

6.แก้ไขปัญหาประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยภาครัฐควรออกมาตรการจูงใจผู้ประกอบการ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงวัย ลดการขาดแคลนแรงงาน ลดปัญหาครอบครัวและสังคม เช่น ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงวัยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ออกมาตรการลดหย่อนภาษี และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหารือกับทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาทักษะผู้สูงอายุทั้งด้าน Upskill และ Reskill รวมทั้งส่งเสริมผู้สูงอายุปรับตัวตามตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป

7.เพิ่มรายได้ให้กับแรงงาน สนับสนุน ส่งเสริมให้จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน (Pay by Skills) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับนายจ้าง และสามารถลดต้นทุนต่อหน่วย ปรับปรุงระบบสวัสดิการแรงงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน เช่น ลดค่าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของครัวเรือน ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น เพื่อลดภาระให้กับแรงงานและสามารถดำรงชีพได้

8.ออกนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save