การแข่งขัน James Dyson Award ประจำปี 2565 ปิดรับผลงาน 6 ก.ค.นี้ เตรียมชมผลงานนักประดิษฐ์รุ่นใหม่จากไทยบนเวทีโลก


การแข่งขัน James Dyson Award ประจำปี 2565 ปิดรับผลงาน 6 ก.ค.นี้ เตรียมชมผลงานนักประดิษฐ์รุ่นใหม่จากไทยบนเวทีโลก

กรุงเทพฯ –  6 มิถุนายน 2565 : หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทยไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การแข่งขันออกแบบนวัตกรรม James Dyson Award ประจำปี 2565 ก็เหลือเวลารับสมัครผลงานจากวิศวกรและนักออกแบบรุ่นใหม่ในประเทศไทยเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยจะเปิดรับถึงวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ นับเป็นอีกหนึ่งเวทีที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากจะได้เห็นผลงานจากนักออกแบบรุ่นใหม่แล้ว ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 220,000 บาทเพื่อใช้ในการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ พร้อมทั้งมีสิทธิในการประกวดในระดับนานาชาติที่มีเงินรางวัลสูงถึง 1,330,000 บาทด้วย เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะได้เห็นความสามารถของเยาวชนไทยบนเวทีโลก

เพื่อเตรียมความพร้อมต้อนรับผลงานการออกแบบของเยาวชนไทย เรามาดูสิ่งประดิษฐ์จากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลในการประกวด James Dyson Award ที่ผ่านมา ว่าแต่ละชิ้น แต่ละไอเดียมีความโดดเด่นอย่างไร และสามารถต่อยอดได้อย่างไร้บ้าง

การแข่งขัน James Dyson Award ประจำปี 2565 ปิดรับผลงาน 6 ก.ค.นี้ เตรียมชมผลงานนักประดิษฐ์รุ่นใหม่จากไทยบนเวทีโลก

HOPES หรือชื่อเต็ม Home Eye Pressure E-skin Sensor เป็นสิ่งประดิษฐ์ของทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่คุณพ่อของหนึ่งในสมาชิกมีความจำเป็นต้องตรวจความดันในตาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกระบวนการตรวจมีความยุ่งยากและต้องทำที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเท่านั้น จึงทำให้เกิดเครื่อง HOPES ที่เป็นเครื่องวัดความดันตาแบบไม่รุกล้ำ ทำได้เองที่บ้าน และมีราคาไม่แพง การแก้ปัญหาที่เผชิญของทีมนี้ทำให้ HOPES ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติไปเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา

AuREUS: Aurora Renewable Energy & UV Sequestration สิ่งประดิษฐ์จากประเทศฟิลิปปินส์ ที่แก้ไขได้ถึง 3 ปัญหาใน 1 ชิ้น เพราะ AuREUS เป็นเสมือนโซลาร์เซลล์จากเศษขยะเกษตรกรรมที่สามารถดูดซับ UV ได้ ทำให้นอกจากจะสามารถแก้ไขทั้งปัญหาเรื่องการป้องกันรังสี UV การผลิตพลังงานอย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถลดขยะที่เกิดจากเกษตรกรรมโดยการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย ทำให้เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จาก Mapua University ประเทศฟิลิปปินส์คว้ารางวัลในสาขาความยั่งยืนประจำปี 2020 ไปครอง

สิ่งประดิษฐ์สุดท้ายนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เจ้าของไอเดียเป็นคนไทย Aerolyze เป็นผลงานจาก ภูมิ ธิปก ชลสายพันธ์ นักประดิษฐ์ชาวไทยที่ไปชนะรางวัลไกลถึงสหรัฐอเมริกา โดย Aerolyze เกิดจากการที่พ่อของภูมิผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นไอเดียในการประดิษฐ์เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดแบบที่ไม่ต้องเจาะเลือด และง่ายดายเพียงแค่หายใจ โดย Aerolyze สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้เพียงแค่เป่าลมหายใจไปที่เครื่อง ทำให้ภูมิกลายเป็นผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ในประเทศสหรัฐอเมริกาไปเมื่อปี 2020

อีกเพียง 1 เดือนเท่านั้นก็จะเป็นอันสิ้นสุดการเปิดรับสมัครผู้เข้าประกวดรางวัล James Dyson Award ประเทศไทย ยังพอมีเวลาสำหรับนิสิตนักศึกษาหรือผู้ที่มีคุณสมบัติในการลงสมัคร ที่จะนำเสนอไอเดียที่อาจจะเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก มาร่วมเอาใจช่วยเยาวชนไทยและสนับสนุนนักประดิษฐ์รุ่นใหม่จากประเทศไทยสู่เวทีในระดับโลก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save