กระทรวงอุตฯ จับมือบสย. และ 4 สถาบันการเงิน สั่งการดีพร้อมเพิ่มโอกาสให้ SMEเข้าถึงแหล่งเงินทุน คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 8,000 ล้านบาท


กรุงเทพฯ – 6 กุมภาพันธ์ 2567 : พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานและสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเข้าถึงหลักประกันและแหล่งเงินทุน ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อมบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่ง เพื่อร่วมกันพัฒนากลไกสนับสนุน SMEs ให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินผ่านการช่วยค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย.ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจทั่วโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งผลให้ SMEs ไม่สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจได้อย่างอย่างเต็มกำลัง อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สู่ความยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัปให้มีความเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ และความท้าทายรอบด้าน

กระทรวงอุตสาหกรรมพบว่าอุปสรรคหนึ่งที่สำคัญต่อการก้าวข้ามปัญหา และความท้าทายดังกล่าว คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ทำได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน รัฐบาลโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ออกกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อช่วยให้ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกันได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ยังมี SMEs จำนวนมากต้องใช้ทรัพย์สินของกิจการเพื่อค้ำประกันในสัดส่วนที่สูงเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส และทำให้เ SMEs ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ต้องแบกรับภาระต้นทุนทางการเงินมากเกินความจำเป็นจากการใช้สินเชื่อผิดประเภท

“กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว และนำมาเป็นโจทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข
อย่างต่อเนื่อง จึงได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งหากลไกการค้ำประกันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกัน ได้รับวงเงินสินเชื่อธุรกิจที่เพียงพอกับความต้องการในการต่อยอดธุรกิจ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ จนสามารถสร้างงาน
สร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ จนส่งผลให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในระดับประเทศและสากลได้”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อมตอบรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.พัฒนากลไกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยการใช้การค้ำประกันสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นโดยใช้หนังสือค้ำประกันแทนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีการให้คำปรึกษาทางการเงิน ผ่าน โครงการ “ติดปีกเอสเอ็มอี หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้” ซึ่งมี 4 พันธมิตรสถาบันการเงินเข้าร่วมสนับสนุน สอดรับกับนโยบาย Reshape the Future: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ผ่านกลยุทธ์การปรับตัวเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (Reshape the accessibility) ภายใต้นโยบาย DIPROM Connection เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือ สร้างโอกาสและยกระดับขีความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม กับหน่วยงานพันธมิตรทั้ง 5 ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นเรื่องผ่านดีพร้อมเพื่อขอรับการพิจารณาการค้ำประกันและส่งต่อให้กับทางสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดย ดีพร้อม และ บสย. ร่วมกันพิจารณาการค้ำประกัน และสามารถแจ้งผลพิจารณาเบื้องต้นภายใน 7 วันทำการ ซึ่งคาดว่าจะมีเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้วงเงินไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท และสามารถต่อยอดการเริ่มต้นธุรกิจและสร้างโอกาสเติบโตคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท

สิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า บสย.มั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้ บสย. โดย ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน “บสย. F.A. Center” จะช่วยให้ SMEs ที่มีมากกว่า 3.2 ล้านรายโดยเฉพาะรายที่ขาดหลักประกันสินเชื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน    โดยใช้กลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ร่วมกับธนาคารพันธมิตรทั้ง 4 สถาบันการเงิน ภายใต้แนวนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม DPROM Connection เชื่อมโยงกับทิศทางการเป็น Digital SMEs Gateway       ของ บสย. กับบทบาทการเป็นตัวกลางทางการเงิน (Credit Mediator) เพื่อยกระดับการเข้าถึงสินเชื่อพร้อมการค้ำประกัน และการให้คำปรึกษาทางการเงิน การปรับแผนธุรกิจ และการแก้หนี้ให้กับ SMEs ในลักษณะการปรับโครงสร้างหนี้ โดย บสย. F.A. Center

“บสย. ได้เปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่สมัครและผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถลงทะเบียน Online เข้าร่วมโครงการผ่าน LINE Official Account @tcgfirst ได้ โดยผู้ประกอบการที่สมัครภายใน 30 วันหลังจากวันที่เปิดรับสมัครและได้รับอนุมัติสินเชื่อพร้อมวงเงินค้ำประกัน 100 รายแรก       จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันหรือค่าออกหนังสือค้ำประกันทันที” สิทธิกร กล่าวทิ้งท้าย

หัวเว่ยเผยโฉมไว-ไฟ 7 ในงาน APAN 57

สนับสนุุนสถานศึกษาปฏิวัติเครือข่ายรับการเรียนการสอนยุคใหม่

หัวเว่ยร่วมงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advance Network (57th APAN Meeting) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย โดยได้โชว์วิสัยทัศน์ พร้อมจัดเต็มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษายุคใหม่ ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท

 


ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติและโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เทคโนโลยีบางอย่างเกิดขึ้นมาช่วงที่มี COVID-19 ซึ่งเราไม่ได้มีการเตรียมตั้งรับมาก่อนทำให้เกิดเป็นนวัตกรรม เช่น การใช้หูฟังตรวจคนไข้ผ่านบลูทูธเพื่อลดความเสี่ยงในการใกล้ชิดกับคนไข้ ซึ่งหลายๆอย่างก็ค่อยเริ่มพัฒนาและสร้างความร่วมมือกัน

ผศ.อนุพล พาณิชย์โชติ ผู้จัดการโครงการปัญญาประดิษฐ์ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ดาต้าที่ดีจะนำไปสู่การทำเอไอ และบิ๊กดาต้าที่ดี ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาต้องเก็บแบบที่สามารถนำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ ซึ่งตอนนี้เราเก็บ EMR ทั้งรูปภาพและวิดีโอ แผนการในปีนี้คือ นำข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ที่เก็บแบบกระจัดกระจายตอนนี้มาจัดเก็บให้ดีขึ้น ซึ่งเรามุ่งหวังว่าข้อมูลที่มีระดับการเก็บที่ดีขึ้นก็น่าจะนำไปสู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ดีขึ้น

ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า จุดแข็งของไทยในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร คือการให้บริการการแพทย์ ดูแลรักษาและป้องกัน ถ้าเราต่อยอดจุดแข็งของการเป็นผู้นำในด้านบริการ คือทำอย่างไรให้บริการของเราทำได้ดียิ่งขึ้น ใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลรักษาโรคซับซ้อน เราต้องหาความโดดเด่นของไทยให้เจอ อย่างน้อยในด้านการแพทย์แม่นยำคือ เรามีฐานข้อมูลพันธุกรรมของคนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเพาะกับคนในภูมิภาคนี้ ข้อมูลนี้นอกจากใช้ได้กับคนไทย ยังสามารถต่อยอดกับประชากรในเขต CLMV ได้ด้วย และการบูรณาการเพื่อเชื่อมข้อมูลพันธุกรรมเข้ากับข้อมูลสุขภาพจะยิ่งสร้างความแตกต่างของการบริการทางการแพทย์เราได้มากยิ่งขึ้น

รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และเทคโนโลยีสุขภาพ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ความท้าทายสำคัญขณะนี้คือการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันของคณะแพทย์หรือแม้แต่คณะต่างๆ เพื่อเกิดเป็นฐานข้อมูลสำคัญในอนาคต ซึ่งโรงพยาบาลของเรากำลังทำเรื่องของ Aging และ Telehealth ที่มีการนำอุปกรณ์ Wearable รวมถึงเอไอเข้ามาปรับใช้ แต่สิ่งสำคัญคือการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปสู่เทคโนโลยีเพื่ออนาคตได้

พร้อมกันนี้ หัวเว่ยยังได้เข้าร่วมนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษาภายในงาน APAN 57 ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “Leading Infrastructure to Accelerate Education Intelligence” เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษายุคใหม่ โดยได้นำเสนอโซลูชันไฮไลต์เพื่อสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สายล่าสุด ซึ่ง Huawei Air-Engine Wi-Fi 7 ที่ให้แบนด์วิธสูง พร้อมรองรับการทำ e-classroom ที่สามารถใช้ภาพและเสียงได้อย่างคมชัดระดับเอชดีและการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมจริงและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ดีกว่าเดิม รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับการเรียนการสอนยุคใหม่อย่าง Converged Campus Network และ Scientific Research HPDA ซึ่งมีจุดเด่นของขีดความสามารถในการประมวลผลขั้นสุด ประหยัดพลังงานและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบองค์รวมภายใต้ Digital Talent Ecosystem ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีทีให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมให้ได้ 50,000 คน ภายในปี 2570


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save