ม.อ.วางใจให้โซลูชั่น ปั้นโมเดลต้นแบบ Smart City ในทุกมิติ พัฒนาสู่เมืองอนาคต (ตอน1)


ม.อ.วางใจให้โซลูชั่น ปั้นโมเดลต้นแบบ Smart City ในทุกมิติ พัฒนาสู่เมืองอนาคต

ในโลกยุคดิจิทัล หลายๆ เมืองใหญ่ทั่วโลกพยายามพัฒนาเมืองสู่ความเป็นอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) โดยนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสานกับไลฟ์สไตล์ของประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การใช้พลังงาน ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เมืองสะดวกสบาย ปลอดภัย น่าอยู่ ตอบโจทย์ความต้องการของประชากรในเมืองที่ต้งอการใช้ชีวิตติดเทคโนโลยีอย่างมีความสุข

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ร่วมกับ ซิสโก้ ผู้นำด้านเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก พัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยนำร่องพัฒนาพื้นที่ในเขตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ภายใต้แนวคิด “PSU Smart and Green Campus 2022 เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ Happy Workplace” เพื่อเป็นโมเดลการพัฒนาสู่เมืองยุคใหม่ที่พร้อมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี รวมถึงพัฒนาบุคลากรดิจิทัลเพื่อสร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะให้สมบูรณ์แบบในทุกมิติ และเพิ่มโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้พัฒนาชุมชนของตนเองอย่างยั่งยืนโดยสร้างรายได้กลับมาให้ชุมชนจากทรัพยากรที่มีอยู่

สำหรับโซลูชั่นนำร่องของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด “PSU Smart and Green Campus 2022 เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ Happy Work Place” นี้มีพันธกิจที่ครอบคลุม 4 ส่วนหลักคือ วิทยาเขตที่ปลอดภัย (Safe and Secured Campus), สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน (Green & Sustainable), ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ Sharing Economy และ สังคมที่มีสุขภาพดี (Healthy Society) ซึ่งจะดำเนินการในเฟสที่ 2

ซิสโก้จับมือ ม.อ. นำสื่อมวลชนสัมผัสต้นแบบเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซิสโก้ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดกิจกรรม Press Tour นำสื่อมวลชนลงพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อสัมผัสความเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งและใช้งานระบบ และจัดหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เริ่มจากการเดินทางเข้า- ออกภายในมหาวิทยาลัยฯ จะต้องผ่าน Smart Living ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากรและนักศึกษาภายในวิทยาเขต ผ่านระบบไม้กั้นที่ตรวจสอบ RFID Long Range ที่ถูกใช้เป็นบัตรของบุคลากร เพื่อตรวจสอบการเข้า-ออกมหาวิทยาลัย ร่วมกับระบบกล้อง จับป้ายทะเบียน และการติดตาม เฝ้าระวังรถต้องสงสัยแบบ Real-time Analytic and Warning System

Smart Gate ใน มอ.

Smart Gate มีระบบตรวจสอบบุคลากรและประชาชน จากป้ายทะเบียน – ชนิดรถ และบัตรประชาชน

ผศ. ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต

ผศ. ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์กายภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวว่า สำหรับ Smart Gate มีระบบตรวจสอบบุคลากรและประชาชน จากป้ายทะเบียนและชนิดรถ ซึ่งจะต้อง Match กับรถและบุคลากรถึงจะเปิดให้เข้ามาได้ ปัจจุบันมีการเปิดกระจก ใช้กล้องถ่ายภาพ 2 ตัว ตัวแรกเพื่อเก็บใบหน้าและป้ายทะเบียนรถ กล้องตัวที่สอง ใช้อ่านบัตรข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ หากพบ Blacklist ระบบจะคีย์ข้อมูลเข้าไปก่อน หากมีข้อสงสัย ระบบจะ Alert พร้อม Capture ภาพให้ตำรวจดำเนินคดีต่อไป ซึ่ง ม.อ.จะติดตั้งกล้องในจุดเสี่ยงทางเข้า-ออก ที่มีคนจำนวนมาก

รถมินิบัสไฟฟ้า (PSU EV)

ในส่วนของการสัญจรภายในมหาวิทยาลัยฯ เลือกใช้รถมินิบัสไฟฟ้า (PSU EV) ซึ่งมีระบบ Smart Transportation ที่สามารถแสดงตำแหน่งของรถโดยสาร EV ทำให้นักศึกษาสามารถทราบเวลาของรถที่จะมาถึงจุดจอดได้แบบเรียลไทม์ ถือเป็น Smart Mobility ของ ม.อ.

จิรศักดิ์ นพรัตน์
จิรศักดิ์ นพรัตน์ นักวิจัย ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่

Smart Pole เสาไฟอัจฉริยะ และ Smart Parking

ภายใน ม.อ. จะมีถนน LRC ซึ่งเป็นถนนเส้นตัวอย่าง ประกอบด้วย Smart Pole เสาไฟอัจฉริยะที่มีสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นโครงสร้างพื้นฐานบนท้องถนนในอนาคตได้แก่ WiFi, Signage, Camera, Weather Sensors, Dust Sensors, EV Charger and Emergency Button และSmart Parking ติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบเพื่อแสดงจุดจอดรถที่ยังว่างในพื้นที่วิทยาเขต ทำให้ผู้มาติดต่อหรือบุคลากรสะดวกในการหาที่จอดรถ ลดพลังงานเชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองจากการขับรถวนหาที่จอด ระบบกระจายข้อมูลสื่อสารผ่าน Digital Content ไปยังตู้ Digital Signage ที่สามารถควบคุมและสั่งการได้แบบเรียลไทม์ จัดแบ่งกลุ่มการบริหารจัดการ เชื่อมโยงเข้าสู่ IoT (Internet of Things) Platform

Intelligent Operating Centre

ศูนย์ควบคุม Intelligent Operating Centre (IoC) เชื่อมระบบอัจฉริยะทั้งหมดเข้าด้วยกัน

สำหรับหัวใจสำคัญ คือ Smart Utitlity ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ Intelligent Operating Centre (IoC) ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและควบคุมกลาง โดยเชื่อมระบบอัจฉริยะทั้งหมดเข้าสู่การติดตาม สั่งการ โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยอัตโนมัติ มีห้องเพื่อให้ผู้ดูแลได้เห็นสภาพการทำงานโดยรวมของระบบทั้งหมด และ City Data Platform เป็นการสร้าง Data Adapter เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานและฝ่ายต่าง ๆ เข้าสู่ City Data Platform ทำให้สามารถเชื่อมข้อมูลในระบบเดิมและระบบใหม่เข้าด้วยกัน และรองรับการวิเคราะห์ ประมวลผลสำหรับเมืองในอนาคต ได้แก่ นำไปใช้ในการวางผังเมือง การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของเมือง เป็นต้น

อ่านต่อ… ม.อ.วางใจให้โซลูชั่น ปั้นโมเดลต้นแบบ Smart City ในทุกมิติ พัฒนาสู่เมืองอนาคต (ตอน2)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save