แอร์บัสส่ง “เปลยาด นีโอ” กลุ่มดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกรุ่นใหม่ที่จะเปลี่ยนระบบนิเวศทางอวกาศของโลกในอนาคตอันใกล้


image001

แอร์บัส  เปิดตัว  “เปลยาด นีโอ (Pléiades Neo)”  กลุ่มดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่มีรายละเอียดสูงมาก (Very High-Resolution: VHR)  ทั้งหมด 4 ดวง ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดของแอร์บัส ที่สามารถเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ภายในเวลา 15 นาที และส่งภาพกลับมายังโลกได้ภายในชั่วโมงถัดไป สามารถเก็บภาพพื้นที่บนโลกได้รวมกันวันละ 2 ล้านตารางกิโลเมตร  ตอบโจทย์บริษัทสตาร์อัป และธุรกิจใหม่ๆ ในไทย ที่สามารถนำข้อมูลที่ได้จากเปลยาด นีโอ และอัลกอริธึมของแอร์บัสพัฒนาเป็นนวัตกรรม และบริการใหม่ๆ  รวมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์ด้านทรัพยากรการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และการตรวจสอบการตัดไม้ทำลายป่า  ตลอดจนการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ

image002

โอลิวิเยร์ ชัลเวต์  ประธานแอร์บัสดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอนเหนือ)  กล่าวว่า  แอร์บัสมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยไม่น้อยกว่า 40 ปี  เนื่องจากแอร์บัสร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ออกแบบ สร้างและทดสอบดาวเทียมธีออส 1 (THEOS) หรือไทยโชต และใช้ดาวเทียมธีออส 1 ด้านความมั่นคงตั้งแต่ปี 2008  ปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปี แล้ว โดยไทยนับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่มีความละเอียดสูง

 

ส่วนดาวเทียมธีออส 2  นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาด้านอวกาศของไทย ซึ่งครั้งนี้ นอกจาก GISTDA แล้วยังมีเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้วย  ทำให้มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น   ผลจากความร่วมมือระหว่างแอร์บัสกับ  GISTDA  ในโครงการดาวเทียมธีออส 2 ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่อย่างน้อย 1,000 ตำแหน่งในอนาคตอันใกล้นี้

 

ล่าสุดแอร์บัสได้พัฒนา เปลยาด นีโอ (Pléiades Neo) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่มีรายละเอียดสูงมาก (Very HighResolution: VHR)   ด้วยการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมขั้นสูงของดาวเทียมเปลยาด นีโอมาพร้อมกับทัศนูปกรณ์ยุคใหม่ที่ทำจากซิลิกอนคาร์ไบด์ สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีที่แอร์บัสได้ริเริ่มบุกเบิกเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 2000เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้สามารถถ่ายภาพจุดใดก็ได้บนโลกและสามารถถ่ายภาพซ้ำได้หลายครั้งในแต่ละวัน ด้วยความละเอียดที่ระดับ 30 เซนติเมตร และสามารถเก็บข้อมูลบนผิวโลกได้ 2 ครั้ง/วัน

 

“เปลยาด นีโอ จะมอบโซลูชันที่กว้างขวางมากขึ้นทั้งในเรื่องของการเกษตร การสำรวจ การวางผังเมือง การทำแผนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำประโยชน์ในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการทั้งหลายเล็ก รายใหญ่ และสตาร์ทอัป ดังนั้น เปลยาด นีโอ จึงเป็นส่วนต่อขยายที่เพิ่มศักยภาพให้กับธีออส2 ที่เรามีอยู่แล้ว” โอลิวิเยร์ ชัลเวต์ กล่าว

image003

ด้านอูเกอะ ปาฟวีร์  Head of Sale Asia-Pacific at Airbus Defence and Spaceกล่าวว่า กลุ่มดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกเปลยาด นีโอ ประกอบด้วยดาวเทียมชนิดเดียวกัน 4 ดวงพร้อมปฏิกิริยาสูงสุดและคล่องตัว ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้นวัตกรรมและการพัฒนาทางเทคโนโลยีล่าสุดของแอร์บัส ที่สามารถเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ภายในเวลา 15 นาที และส่งภาพกลับมายังโลกได้ภายในชั่วโมงถัดไป สามารถเก็บภาพพื้นที่บนโลกในแต่ละวันได้รวมกันถึง 2 ล้านตารางกิโลเมตร  ซึ่งจะถูกส่งไปยังศูนย์ภาคพื้นที่เป็นนวัตกรรมใหม่บนพื้นฐานของคลาวด์เพื่อให้สามารถประมวลได้มหาศาล  ในเวลา 1 ปี สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 160 ล้านตารางกิโลเมตร  และถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งานยาวนานอย่างน้อย 10 ปี

“โครงการนี้มีความท้าทายที่ค่อนข้างสูง เพราะต้องตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลาของผู้ใช้บริการ ดังนั้นร้อยละ 75 ของเทคโนโลยีที่อยู่บนดาวเทียมกลุ่มนี้จะเป็นเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Solar Panel ในเรื่องของระบบการสื่อสาร Laser Communication ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับเปลยาด นีโอ  เพื่อให้สมกับเป็นสิ่งที่โลกนี้กำลังรอคอยสิ่งที่เปลยาด นีโอ จะนำมาให้ในอนาคต” อูเกอะ ปาฟวีร์ กล่าว

ดาวเทียมเปลยาด นีโอใช้เงินทุน ออกแบบ และผลิตโดยแอร์บัสทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 700 ล้านยูโร (ดาวเทียม 4ดวง) มีขนาดเล็กกว่า เบากว่า คล่องตัวกว่า แม่นยำและตอบสนองได้ดีกว่า โดยเปลยาด นีโอเป็นโครงข่ายเดียวเทียมแรกที่ความสามารถเหล่านี้จะนำไปใช้เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ  ด้วยขอบเขตของการถ่ายภาพที่กว้างถึง 14 กิโลเมตร กว้างที่สุดในบรรดาดาวเทียมประเภทเดียวกันและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวที่ไม่มีใครเทียบได้  กลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอสามารถครอบคลุมทวีปทั้งหมดของโลกได้ถึง 5 รอบในแต่ละปี

ส่วนการจัดการวงโคจรของดาวเทียมได้เพิ่มระดับให้สามารถบริการกลุ่มลูกค้าและการใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งไม่จำกัดแค่เพียงด้านงานป้องกันและความมั่นคงเท่านั้น และยังสามารถใช้งานได้ในละติจูดที่เกินกว่า 40 องศา ทั้งหมดจะถูกวางไว้บนวงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit) และวงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (SunSynchronous Orbit) โดยมีระยะ 90 องศา เพื่อจะมอบคุณภาพที่ต่อเนื่องทั้งในเชิงเรขาคณิตและเชิงรังสี   สามารถจับแสง Spectrum ที่มองไม่เห็น เพื่อให้เห็นความแตกต่างของพื้นผิวได้  ซึ่งจะให้การวิเคราะห์ด้วยรายละเอียดระดับสูง รวมถึงการมองเห็นวัตถุขนาดเล็กได้มากขึ้น เช่น ยานพาหนะและเครื่องหมายจราจรบนพื้นผิวถนน และการนับคน ทำให้สามารถแยะแยกระหว่างคนกับวัตถุต่าง ๆ ได้ ความแม่นยำระดับนี้ทำให้นักวิเคราะห์รูปภาพเห็นเหตุการณ์จริงจากภาคพื้นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถของ Machine Learning (ML) ให้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

อูเกอะ ปาฟวีร์ กล่าวว่า โครงข่ายดาวเทียมใหม่นี้จะมอบความแม่นยำของระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่มากขึ้น รวมถึงข้อมูลของแถบสเปกตรัมที่ลึกขึ้น ทำให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่มากขึ้นสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การวางผังเมือง  ช่วยวางแผนการจัดทำผังเมืองและขนส่งให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์อย่างทันท่วงที  การทำแผนที่ การเกษตร การจัดการป่าไม้และการจัดการประมง  สิ่งแวดล้อม  การรักษาชายฝั่ง เช่น ตรวจสอบกิจกรรมเดินเรือที่ผิดกฎหมายในบางน่านน้ำ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจใหม่ๆ   เช่น บริษัทสตาร์อัป  โดยข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมเปลยาด นีโอสามารถนำใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ 100%

นอกจากนี้ โครงข่ายดาวเทียมเปลยาด นีโอยังใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อด้วยออปติคอลเลเซอร์และย่านความถี่เคเอ-แบนด์ (Kaband) กับดาวเทียมค้างฟ้าแอร์บัส สเปซดาต้าไฮเวย์ (Airbus SpaceDataHighway) ซึ่งใช้ระบบ European Data Relay System (EDRS) เพื่อให้สามารถเข้าถึงตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างเร่งด่วนภายในเวลาที่น้อยกว่า 40 นาทีหลังจากที่ได้รับคำสั่ง เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่คับขันได้อย่างทันท่วงที

image004

อูเกอะ ปาฟวีร์ กล่าวถึงโอกาสของประเทศไทยในการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมเปลยาด นีโอว่า    เปลยาด นีโอ สามารถเก็บข้อมูลกรุงเทพมหานครทั้งหมดได้ภายในวันเดียว  ในส่วนของบริษัทสตาร์อัป และธุรกิจใหม่ๆ ในไทย สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จากเปลยาด นีโอ และอัลกอริธึมที่แอร์บัสได้พัฒนาขึ้นมาไปสร้างรายได้โดยพัฒนาเป็นนวัตกรรม การบริการใหม่ๆ ออกมาได้ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลจากเปลยาด นีโอ มาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการใช้ประโยชน์ด้านทรัพยากรการเกษตร ป่า (บริหารจัดการกับพื้นที่การเพาะปลูก) ทรัพยากรธรรมชาติ และการตรวจสอบการตัดไม้ทำลายป่า   นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในเรื่องการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยนำข้อมูลเหล่านี้ไปบริหารจัดการทางเดินของมวลน้ำ วางแผน จัดทำแนวทางป้องกันน้ำท่วมในอนาคตได้

image005
เขื่อนภูมิพล

ทั้งนี้ ดาวเทียม Pléiades Neo ดวงแรกถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 28 เมษายน และตามด้วยดวงที่สองในวันที่ 16 สิงหาคม 2564และอีก 2 ดวง จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมกันในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 นี้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save