ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกอาหาร จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รวมถึงนวัตกรรมอาหาร และไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” อุตสาหกรรมอาหารของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิต และการส่งออก แม้เผชิญการระบาดของโควิด-19 ในโรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวม 7 เดือนแรกในปี 2564 ที่ผ่านมา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 การส่งออกมีมูลค่า 622,700 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับที่ 13 ของโลกในปี 2564 โดยมีมูลค่าการส่งออก 30.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 915,000 ล้านบาท
ความท้าทายในการก้าวสู่มาตรฐานสากล
ผู้ผลิตอาหารของไทยจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางการผลิตอาหารตามแนวทางที่ดี (GMPs) เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก มาตรฐาน GMP หมายถึง การรับรองที่ยืนยันว่าผู้ผลิต ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการผลิตขั้นพื้นฐาน และผ่านโปรแกรม Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP) คือ ระบบ การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤต ที่ต้องทำการควบคุม ซึ่งเป็นระบบป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา อันตรายต่อความปลอดภัยด้านอาหาร ที่อาจเกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอนของการผลิตที่มีความเสี่ยง อันตราย หรืออาจเป็นเหตุก่อพิษต่อผู้บริโภค
แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องมั่นใจว่า กระบวนการผลิตอาหารยังคงปลอดภัยแบบเดียวกันกับที่เคยดำเนินการ อยู่ทั่วประเทศ เพื่อการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
ผู้ผลิตต้องจัดวางตารางในการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์จัดเก็บในโรงงานที่มีจำนวนมากขึ้น การนำเทคโนโลยี อุตสาหกรรม 4.0 มาใช้เป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและผลผลิต ในวงกว้างเพื่อรองรับต่อการขยายตัวตาม GDP ของประเทศ การจัดการโรงงานผลิตอาหาร มีความต้องการมากขึ้น เนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมด ต้องทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีเวลาหยุดทำงานน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารด้วย
เทคโนโลยีช่วยให้การจัดการการผลิตอาหารง่ายขึ้น
เทคโนโลยีในการมอนิเตอร์ระบบสามารถรายงานผลได้แบบเรียลไทม์ และสามารถเชื่อมต่อไลน์การผลิต ได้ทั้งหมด ช่วยให้องค์กร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้สูงสุด ลดเวลาหยุดทำงาน และปรับต้นทุนให้เหมาะสม ซอฟต์แวร์ด้านอุตสาหกรรมช่วยให้ ผู้ดูแลระบบ สามารถตรวจสอบ และดูสถานะ ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมด ติดตามสถานะ การทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน ทั้งหมดพร้อมกัน หากเกิดปัญหาใดๆ กับอุปกรณ์ต่อเชื่อมหรือเครื่องจักร ระบบสามารถระบุ และวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ปัญหาจะบานปลายไป และระบบในโรงงานหยุดทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต และอาจต้องเจอกับปัญหาการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ตามมา รวมถึงงบประมาณในการซ่อมแซมระบบมอนิเตอร์ไอที นอกจากจะสามารถช่วยป้องกันการดาวน์ไทม์ของระบบแล้ว ยังสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์ต่อเชื่อมทั้งหมดได้ ตัวอย่างเช่น ดูผลผลิตแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถใช้เครื่องจักรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และคาดการณ์ความต้องการได้
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหาร ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่า ส่วนผสมที่ใช้ มีความสดใหม่ ซึ่งโดยปกติสามารถทำได้ผ่านขบวนการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อติดตามวันที่ผลิต ของวัตถุดิบทั้งหมด ตู้เย็นและตู้แช่แข็งจะต้องรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม การจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก เหล่านี้ ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต จึงจำเป็นต้องมีการบังคับ ใช้ข้อกำหนดด้านเทคโนโลยีเพื่อการรวบรวม จัดเรียง และ สร้างข้อมูลเชิงลึก ที่มีประโยชน์กับธุรกิจ ได้อย่างราบรื่น การตรวจสอบด้านไอที สามารถทำให้กระบวนการง่ายขึ้น ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์สถิติ ได้อย่างอัตโนมัติ และสร้างการดำเนินการที่เป็นไปได้ ซึ่งผู้ผลิตควรจัดทำเพื่อให้มั่นใจว่า มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
การนำโซลูชันไปใช้งานในระยะยาว
ระบบมอนิเตอร์เครือข่ายสามารถตอบสนองต่อกฎระเบียบใหม่ และความต้องการใหม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมอนิเตอร์โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการผลิต รวมถึงอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ องค์กรจะได้รับข้อมูล และระบบวิเคราะห์บนแดชบอร์ด ที่สามารถแสดงภาพรวมที่ชัดเจน ของระบบปฏิบัติงานทั้งหมด ทั้งในส่วนระบบในโรงงาน และเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ ที่เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที หากมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดปัญหากับจุดใด ระบบสามารถแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้ทีมไอทีสามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าขบวนการผลิตอาหารสามารถดำเนินงานได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ป้องการระบบหยุดชะงัก และปรับปรุงสายการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างกำไรได้ในระยะยาว
โซลูชันมอนิเตอร์ระบบเครือข่าย ช่วยลดกำลังคนทำงานไปได้มาก ในการที่ตรวจสอบอุปกรณ์ จำนวนมาก ที่ต่อเชื่อมกับเครือ่งจักร ว่าแต่ละชิ้นว่ายังสามารถทำงานได้ มีหน้าจอแดชบอร์ดแบบรวมศูนย์ ที่ช่วยให้ทีมไอทีถ่ายทอดข้อมูล และข้อมูลเชิงลึกไปยังทีมอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย เพื่อการสื่อสาร และการตัดสินใจที่ราบรื่นยิ่งขึ้น ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในสายการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารต้องการขยายกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นแล้ว ระบบมอนิเตอร์ที่ดีควรที่จะสามารถขยายขนาดได้ตามความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อรองรับต่อการเติบโต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระยะยาว เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ หรือระบบมอนิเตอร์เครือข่าย จากที่องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหาร มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการผลิต และการจัดเก็บวัตถุดิบต่างๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตราฐานคุณภาพ และความปลอดภัย โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ควรจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยจัดการมอนิเตอร์ ขั้นตอนผลิตทั้งหมดในโรงงาน ที่ทำให้ขั้นตอนต่างๆ ง่ายขึ้น และช่วยลดการใช้ทรัพยากร ที่ไม่จำเป็นได้ในอนาคต