รมว.อว. ขับเคลื่อน 5 โครงการ Quick Wins ดัน 3 โครงการหลัก “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” ดึงนักศึกษากว่า 60,000 คน ติดอาวุธทักษะด้านดิจิทัล พร้อมขับเคลื่อนโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล” ร่วมกับ “อว. ส่วนหน้า” สร้าง 3,000 ทีมสู่ 3,000 ตำบล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน มุ่งขับเคลื่อนวิจัย วิชาการ และนวัตกรรม ด้านปลัดอว.รับนโยบายถอดบทเรียน COVID -19 ตลอดปี 2563 พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ชู 11 นวัตกรรมเด่นเตรียมพร้อมรับมือวิกฤต COVID -19 อาทิ วัคซีนป้องกัน COVID-19 จากใบพืช-นวัตกรรมชุด PPE ใช้ซ้ำได้ครั้งแรกของโลกฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล-นวัตกรรมวินิจฉัยเชื้อ COVID-19 จาก AI มุ่งเน้นพึ่งพาตัวเองนำประเทศฝ่าวิกฤติ มั่นใจพร้อมรับมือ COVID -19 ระลอกใหม่ ล่าสุดได้สั่งการโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยสังกัด อว. ทุกแห่งเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์แล้ว
กรุงเทพฯ – 24 ธันวาคม 2563 : ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวสรุปผลงานเด่น ปีพ.ศ.2563 และแผนยุทธศาสตร์ปี พ.ศ.2564 พร้อมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล 11 ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤต COVID-19
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ได้เดินหน้าขับเคลื่อนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่เรียกว่า Quick Wins จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1. โครงการเพิ่มทักษะ (Reskill/Upskill) ให้บัณฑิตจบใหม่และผู้ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดงาน ในทักษะด้านดิจิทัลและเรียนรู้ในสถานที่ทำงานจริง 2. Thailand Hackathon 3. Thailand Foresight Consortium 4.กระทรวง อว.นำพลังปัญญาเพื่อพัฒนาชาติ 1 สถาบันอุดมศึกษา 1 พื้นที่ 5. เปลี่ยนคนเกษียณเป็นพลัง โดยมุ่งเน้นในการขับเคลื่อนผ่านโครงการ 3 เรื่องสำคัญพร้อมกัน คือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”, “การจัดตั้ง อว. ส่วนหน้า” รวมทั้ง “การขับเคลื่อนวิจัย วิชาการ และนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จากสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ หรือธัชชา”
“ ทั้งสามเรื่องนี้เป็นสามแกนหลักของกลไกการขับเคลื่อนให้โครงการ Quick Wins เกิดผลดังต่อไปนี้ โดยขับเคลื่อน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” โดย อว. ทำงานเพื่อชุมชนโดยตรงและให้นิสิต นักศึกษากว่า 60,000 คนที่เข้าร่วมในโครงการได้รับการฝีกอบรม ติดอาวุธทักษะด้านดิจิทัล ได้ใช้ความรู้ที่ได้รับกับสนามการทำงานจริง ผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนจัดทำเป็นBig Data มาทำการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบการแก้ปัญหาในแต่ละชุมชน เพื่อช่วยในกิจกรรมพัฒนาต่างๆ ของแต่ละตำบล พร้อมขับเคลื่อนโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล” ร่วมกับ “อว. ส่วนหน้า” เป็นกลไกสำคัญในการทำให้ “อว. เป็นกระทรวงแห่งการพัฒนาประเทศโดยใช้ความรู้ สร้างความหวังให้ประเทศ” เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนในพื้นที่ด้วย 3,000 ทีมของโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล จำนวน 3,000 ตำบล ใช้เป็นกลไกรับรู้ปัญหาของชุมชน มีแนวทางขับเคลื่อนโครงการโดยจัดให้ 3,000 ทีมได้ลงพื้นที่ รับทราบและวิเคราะห์ปัญหา และจัดให้มีการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเป็นระยะ” ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว
สำหรับกลไก “การขับเคลื่อนวิจัย วิชาการ และนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จากสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ หรือธัชชา” จะมุ่งเน้นในการจับสัญญาณแห่งอนาคตและมองไปในอนาคต (Futures Literacy) การทำให้ประเทศไทยเป็นเครือข่าย “การมองอนาคต” (Foresight Consortium) เป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงประเทศไทยเข้ากับภูมิภาคและโลก มีการติดตามผลการศึกษาวิเคราะห์ภาพ “ประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand)” ซึ่งเป็นการทำฉากทัศน์และภาพของประเทศไทยทุกช่วง 5 ปี และในอีก 20 ปีข้างหน้า มุ่งเน้นใน 10 มิติสำคัญ คือ 1) ประชากรและโครงสร้างสังคม 2) สังคม ชนบท ท้องถิ่น 3) การศึกษา 4) สิ่งแวดล้อมและพลังงาน 5) เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม 6) เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก เกษตรกรรมและการบริการ 7) วัฒนธรรมและภาษาไทย (อัตลักษณ์ความเป็นไทย) 8) การเมือง 9) บริบทโลก ปัจจัยคุกคามและความมั่นคงของประเทศ และ 10) คนและความเป็นเมือง โดยมิติต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โครงการนี้ยังจะเป็นการสร้างเครือข่ายการวิจัยและนักวิจัยชั้นนำผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนงานวิจัยชิ้นสำคัญนี้ พร้อมจัดตั้งวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ TASSHA (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts) ขึ้น เรียกย่อๆ ว่า “ธัชชา” ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ในระยะแรกจำนวน 5 ด้าน เพื่อบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ปัญหาแบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัยใหม่ๆที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต
ส่วนโครงการ “เปลี่ยนคนเกษียณเป็นพลัง” ขณะนี้ได้ขยายผลเพื่อสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม โดยใช้แนวคิดทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” สร้างเศรษฐกิจชาติด้วยเศรษฐกิจฐานรากวัฒนธรรม พร้อมกับการสร้างวิชาชีพ ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน สร้างอาชีพเกี่ยวกับการบริการผู้สูงอายุ ที่เป็นอาชีพหลักในอนาคตได้ เกิด “นักบริบาลผู้สูงอายุแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ให้กับหญิงชาวนาที่ไม่ใช่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้บริการดูแลผู้สูงอายุรายชั่วโมงในโรงพยาบาลของรัฐ ให้บริการดูแล ผู้สูงอายุที่บ้านแบบรายวัน รายเดือน ผ่านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สร้างรายได้ หลังการฝึกอบรมมากกว่า 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งถือเป็นแบบอย่างของการดำเนินกิจการ “ธุรกิจเพื่อสังคม”(Social Enterprise) ที่สามารถสร้างรายได้ ควบคู่กับการสร้างคุณค่าในตัวเอง
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยวัคซีนป้องกัน COVID-19 อว.ได้สนับสนุน 7 โครงการ โดยร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าด้านการผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 ได้แก่ ผลิตวัคซีน mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยใช้ในคน เป็นวัคซีนชนิดเดียวกับ Pfizer และ Moderna มีคุณภาพทัดเทียม Pfizer และ Moderna จะเริ่มทดสอบในคน หลังจากที่ผ่านการทดสอบในลิง ซึ่งคาดว่าใช้เวลาไม่กี่เดือน และวัคซีนใบยา ที่ให้พืชผลิตวัคซีน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายของ อว. ทั้งนี้การผลิตวัคซีนในประเทศแถบอาเซียน น่าจะมีอินโดนีเซียที่ผลิตวัคซีนได้ แต่อาจไม่ได้คุณภาพเท่าไทย
ส่วนเรื่องอวกาศ ไทยมีศักยภาพในการผลิตดาวเทียมขนาด 1 กิโลกรัม และ 5 กิโลกรัม สามารถส่งข้อมูล แผนที่ พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง วงจร 100 กม.และต่ำกว่า 100 กม. ในอีก 3 ปีข้างหน้า ไทยมีศักยภาพในการผลิตดาวเทียมที่เป็นยานอวกาศ สามารถเดินทางไกลได้ด้วยพลังงาน Solar Cell ใช้แก๊ส Xenon สามารถทะลุวงโคจรโลก ด้วยความเร็ว 30,000 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางไปถึงดวงจันทร์ไม่ถึง 1 ปี เมื่อใกล้ดวงจันทร์ ลดความเร็วเหลือ 2 กม./วินาที เพื่อเข้าใกล้วงโคจรในดวงจันทร์ ซึ่งเป็นการขยายขีดความสามารถทางอวกาศ เนื่องจากอุตสาหกรรมอวกาศเป็นอุตสาหกรรม High Technology ทำให้ไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้ โดยอว. มุ่งใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จนถึงการระบาดระลอกใหม่ของประเทศไทย กระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมต้าน COVID-19 โดยล่าสุดได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัด อว. ติดตามสถานการณ์และดำเนินการเชิงรุก พร้อมสั่งการให้โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยในสังกัด อว. ทุกแห่งเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์มาตั้งแต่การระบาดช่วงที่แล้วและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทั้งในส่วนของบุคลากร เจ้าหน้าที่ แพทย์และพยาบาล อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมปฏิบัติหน้าที่รองรับผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโรงพยาบาลของ อว. มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ติดเชื้อทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ สนับสนุนการวิจัยด้านยา ชุดตรวจและวัคซีนรวมทั้งยังได้สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยมีสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงฯ ในการเข้าร่วมให้ข้อมูล” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤต COVID -19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะครบ 1 ปี หน่วยงานในสังกัด อว. ได้ทำงานกันอย่างแข็งขันมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะวิกฤติขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ กระทรวง อว. จึงได้คัดเลือกผลงานเด่นประจำปี 2563 มาจัดแสดงนิทรรศการและมอบรางวัล “ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่(New Normal) และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤต COVID -19” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้บุคลากรในสังกัด ที่ร่วมระดมสมองในการสร้างสรรค์นวัตกรรมตลอดปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด 11 นวัตกรรม ได้แก่ หมวดนวัตกรรมสู้วิกฤต COVID -19 และหมวดนวัตกรรมตอบรับวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย 1. วัคซีนป้องกันโรคจากไวรัส COVID -19 โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายของ อว. ซึ่งได้พัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในระดับห้องปฏิบัติการ และพร้อมก้าวไปอีกขั้นในการผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย”
อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤต COVID -19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะครบ 1 ปี หน่วยงานในสังกัด อว. ได้ทำงานกันอย่างแข็งขันมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะวิกฤติขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ กระทรวง อว. จึงได้คัดเลือกผลงานเด่นประจำปี 2563 มาจัดแสดงนิทรรศการและมอบรางวัล “ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่(New Normal) และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤต COVID -19” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้บุคลากรในสังกัด ที่ร่วมระดมสมองในการสร้างสรรค์นวัตกรรมตลอดปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด 11 นวัตกรรม ได้แก่ หมวดนวัตกรรมสู้วิกฤต COVID -19 และหมวดนวัตกรรมตอบรับวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย 1. วัคซีนป้องกันโรคจากไวรัส COVID -19 โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายของ อว. ซึ่งได้พัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในระดับห้องปฏิบัติการ และพร้อมก้าวไปอีกขั้นในการผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย”
2) DDC-Care APP แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ สามารถดึงพิกัดผู้ใช้งานอัตโนมัติผ่านระบบ GPS และแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบ เมื่อมีการออกนอกพื้นที่กักตัวที่ปักหมุดไว้เกินกว่าระยะที่กำหนด ใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Huawei AppGallery รองรับ 4 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ จีน และพม่า และ 3) DDC-Care DASHBOARD: เว็บแอปพลิเคชันสนับสนุนการติดตามสุขภาพและการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงแบบเรียลไทม์ (Real-time) เริ่มใช้ในสถาบันบำราศนราดูรในเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ก่อนขยายผลใช้งานในโรงพยาบาลกว่า 60 แห่ง
3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ นวัตกรรมชุด PPE Disposable Coverall Level 4 รุ่นเราชนะ สำหรับปฎิบัติงานในสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส นวัตกรรมชุด PPE (Isolation Grown) รุ่นเราสู้ สำหรับปฏิบัติงานในสภาวะเสี่ยงน้อยถึงปานกลางหรือการทำหัตถการที่มีเลือดกระเด็นใส่น้อย ชนิดใช้ซ้ำได้ครั้งแรกของโลกที่สามารถซักและใช้ซ้ำได้ไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง โดยนวัตกรรมทั้งหมดผลิตโดยรีไซเคิลจากขวด PET
4.โครงการวิจัยชุดนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อการป้องกัน ตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาการติดเชื้อ COVID-19 โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCEL ได้แก่ หน้ากากอนามัย WIN-Masks ที่ผลิตจากผ้าเคลือบสารนาโนป้องกันไวรัส สามารถซักได้ 30 ครั้ง ซึ่งได้ผลิตและแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์กว่า 2 แสนชิ้นทั่วประเทศ นวัตกรรม AI อัจฉริยะ สำหรับการวินิจฉัย วิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์ทรวงอกในการตรวจคัดกรอง โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นต้น
- หุ่นยนต์โรยละอองฆ่าเชื้อ โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การพัฒนาหุ่นยนต์ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคเป็นการ ลดความเสี่ยงให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้รวดเร็วมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ปฏิบัติงาน 1 คน เหมาะสำหรับพื้นที่สาธารณะภายในและบริเวณโดยรอบอาคาร เช่น ทางเดิน ห้องโถง สำนักงาน พื้นที่บริเวณนั่งรอ ศูนย์อาหาร โดยเหมาะสมกับการฉีดพ่นที่เป็นกิจวัตรดำเนินการได้ สามารถใช้รีโมทควบคุมระยะไกล ควบคุมผ่านกล้องวงจรปิดไร้สายดูภาพผ่านหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือจอภาพขนาดเล็กได้
- เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นวัตกรรมฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจาก COVID -19 คณะวิจัยได้ออกแบบเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจเปอร์ออกไซต์ VQ20 ซึ่งเป็นระบบการสร้างละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ความเข้มข้น 3-7% เพื่อฆ่าเชื้อในรถพยาบาล ห้องผู้ป่วย ห้องกักตัวผู้ป่วย ห้องพักบุคลากรทางการแพทย์ รถเมล์ รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า ห้องเรียน ห้องนอน ห้องผ่าตัด ห้องออกกำลังกาย/ฟิตเนส ห้องประชุม ห้องทำงาน และเครื่อง VQ20*HP35 ที่พ่นละอองได้เล็กกว่า 5 ไมโครเมตร เพื่อฆ่าเชื้อบนเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย N95 หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ชุด PPE และรองเท้า
- ผลิตภัณฑ์ V-Free รุ่นSUV เครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท มณีจันทร์ ไอโอที โซลูชั่น จำกัด ผลิตภัณฑ์ V-Free รุ่น SUV เครื่องฆ่าเชื้อ เครื่องฉายแสงรังสี UVC สามารถเคลื่อนย้ายได้ ควบคุมการทำงานด้วยระบบ Internet of Things (IOT) ควบคุมการเปิด-ปิดด้วยมือถือหรือแท็บเล็ตผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สร้างความสะดวกและปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัดเคลื่อนที่ได้ ใช้งานได้ในหลากหลายพื้นที่
- เครื่อง UBU-UVC : Smart Germicidal Irradiation Machine โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่มีศักยภาพสูงในการกำจัดหรือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งเชื้อไวรัส COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลอดไฟฟ้า UVC ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID -19 ควบคุมการทำงานด้วยเทคโนโลยี IOT ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ควบคุมการเปิด-ปิดเครื่อง และตั้งเวลาการทำงานระยะไกลได้ด้วยการเชื่อมต่อผ่านทางระบบ Bluetooth สามารถทำงานครอบคลุมพื้นที่ขนาด 14–25 ตารางเมตร ระยะเวลาที่ใช้ฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับระยะห่างจากผิวหลอด UVC ด้านนอกไปยังพื้นผิวที่แสงตกกระทบ จากการคำนวณพบว่าภายในรัศมี 2-3 เมตร จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อ 15-30 นาที
- ผลการศึกษาเบื้องต้น “มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID -19” โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ดำเนินการศึกษาจัดทำภาพอนาคตประเทศไทยหลังเผชิญวิกฤต COVID -19 และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยหลังสถานการณ์คลี่คลาย
- University E-sports Championship โดยสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ บริษัท อินโฟเฟด จำกัด จัดทำโครงการ University E-Sports Championship (UEC) ซึ่งเป็นกิจกรรมออนไลน์รับยุค New Normal เพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษาที่สนใจในกีฬา E-Sports โดยเน้นการจัดกิจกรรมทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ New Skill, Re skill, Up Skill และมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ในการพัฒนาและ ต่อยอดในการดำเนินอาชีพในยุคใหม่ หรือสามารถดำเนินงานในอาชีพหมวดหมู่ Future Jobs ที่มีความต้องการในยุคหลัง COVID -19
- โครงการ Science Delivery By NSM โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปรับกลยุทธ์รับมือสภาวะวิกฤตจาก COVID -19 โดยเปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook : NSM Thailand เปิดช่องทางการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก อาทิ NSM Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง 360 องศา, DIY and hand-on และ Game Contest เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าชมกว่า 6 ล้านคน
“ในทุกปัญหาและวิกฤตย่อมก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำประเทศฝ่าวิกฤต ทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น และกระทรวง อว.ยังคงเดินหน้าในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว