บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แถลงผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2566 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 17,005 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จาก ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจำนวน 16,494 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของรายได้รวม ซึ่งเป็นรายได้จากกลุ่ม โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล จำนวน 14,603 ล้านบาท คิดเป็น 88.% และรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน จำนวน 1,891 ล้านบาท คิดเป็น 11.5 และกลุ่มธุรกิจ Non-Power เช่น ธุรกิจสาธารณูปโภคและอื่นๆ จะเริ่มรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น โดยไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2566 มีรายได้ 511 ล้านบาท คิดเป็น 3% ของรายได้รวม
ชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินงานไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2566 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 17,005 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จาก ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจำนวน 16,494 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของรายได้รวม ซึ่งเป็นรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล จำนวน 14,603 ล้านบาท คิดเป็น 88.% และรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน จำนวน 1,891 ล้านบาท คิดเป็น 11.5 และกลุ่มธุรกิจ Non-Power ธุรกิจสาธารณูปโภคและอื่นๆ เริ่มมีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น โดยไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2566 มีรายได้ 51ล้านบาท คิดเป็น 3% ของรายได้รวม นอกจากนี้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 15,310 ล้านบาท และกำไรส่วนของบริษัท 1,448 ล้านบาท สำหรับความก้าวหน้าของโครงการที่ลงทุนแล้วในช่วงไตรมาส 1ปี พ.ศ.2566ที่ผ่านมา บริษัทฯสามารถ ดำเนินงานก้าวหน้าได้ตามแผน โดยส่วนขยายของโรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 31.2 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตไอน้ำ 7.5 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา สามารถจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำแก่ลูกค้าอุตสาหกรรมนวนครและหน่วยงานใกล้เคียงในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลพริ้นซ์ สกลนคi ซึ่งบริษัทฯถือหุ้น 25% ร่วมกับ พริ้นซิเพิล ดฮลท์แคร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิ ขนาด 59 เตียง มูลค่า 493 ล้านบาท ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา
ในส่วนของการร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนไพตัน บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต
ติดตั้งรวม 2,045 เมกะวัตต์ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการซื้อหุ้น 36.26% หรือประมาณ 742 เมกะวัตต์ ตามสัดส่วนการถือหุ้น คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปี พ.ศ.2566 ซึ่งบริษัทฯ จะสามารถรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ.2566 นี้
ชูศรี กล่าวถึงภาพรวมกำลังการผลิตของบริษัทฯในไตรมาส1 ปี พ.ศ.2566 ว่า บริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 9,80185 แบ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่มาจากฟอสซิล จำนวน 7,87.12 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 80.33% และพลังงานทดแทน จำนวน 1,927.73 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 19.67% ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและกำหนดจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ.2567 รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 518.66 เมกะวัตต์ มีความคืบหน้าตามแผนงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหินกอง อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาเชื้อเพลิง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี พ.ศ.2566 ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 82%
ส่วนกำหนดการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในโรงไฟฟ้าชุดที่ 1 กำหนดไว้ประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ.2567 และเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าชุดที่ 2 กำหนดไว้ประมาณเดือนมกราคม พ.ศ.2568
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คาลาบังก้า ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศฟิลิปปินส์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาเงินกู้โครงการและจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 เพื่อที่จะให้ทันกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ.2567
สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2566 ว่า บริษัทฯ ตั้งงบไว้ประมาณ 35,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน
แบ่งเป็น 1.การลงทุนธุรกิจไฟฟ้า จำนวน 29,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายในการนำไปใช้เพิ่มกำลังการผลิตใหม่ทั้งเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะที่มาจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์ โดยมีเป้าหมายการลงทุนในไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ซึ่งจะเน้นการร่วมทุนกับพันธมิตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งการเมืองภายในประเทศที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้ง หากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้เร็วก็จะส่งผลดีต่อการสานต่อความต่อเนื่องนโยบายด้านพลังงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้านพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากนี้ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) และสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่ยุติต้องประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ส่วนการลงทุนธุรกิจ Non-Power เช่น ธุรกิจสาธารณูปโภคและอื่นๆ เน้นการลงทุนธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทุกรูปแบบด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท ทั้งการลงทุน Solar Rooftop Solar Floating รวมทั้งแสวงหาการลงทุนในธุรกิจผลิตไฮโดรเจนในประเทศที่มีแผนการพัฒนาไฮโดรเจนที่ชัดเจน ได้แก่ กลุ่มประเทศในยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นต้น