ประเทศไทย – 18 พฤษภาคม 2564 : ยูนิเวอร์ซัล โรบอท(ยูอาร์) ผู้นำตลาดเทคโนโลยีหุ่นยนต์โคบอท จากประเทศเดนมาร์ก แนะผู้นำอุตสาหกรรมการผลิตของไทย นำโคบอทไปใช้เป็นโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านทักษะและการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2569 ตลาดหุ่นยนต์โคบอทมีมูลค่าทั่วโลกถึง 7,972 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 41.8% โดยตลาดโคบอทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตแซงหน้ายุโรปในปีพ.ศ. 2564 เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโลหะ มีการใช้งานโคบอท[1]
ในประเทศไทย ภาคการผลิตเป็นร้อยละ 33.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) [2] นอกจากนี้ประเทศไทยยังเน้นปรับปรุงธุรกิจในภาคการผลิต จากข้อมูลของไอเอชเอส มาร์เก็ต (IHS Market) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต หรือพีเอ็มไอ (PMI) ของประเทศไทย ชี้ถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคส่วนนี้ ในอุตสาหกรรมหลักด้านอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก และยานยนต์ โดยรัฐบาลได้คาดการณ์ว่า ภาคการผลิตจะกลับมาดำเนินการได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส[3]
ตามรายงาน “ตลาดหุ่นยนต์โคบอท โดย Payload, Component, Application, Industry, and Geography – Global Forecast to 2026” โดย Markets and Markets พบว่า โคบอทถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ด้วยข้อดีต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นและการใช้ประโยชน์จากพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากหุ่นยนต์ เพราะสามารถทำงานซ้ำ ๆ ในพื้นที่จำกัด สภาพแวดล้อมที่หุ่นยนต์มีความสามารถที่ดี โคบอทสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ผลิตงานที่สม่ำเสมอภายใต้สภาวะการทำงานที่สมบุกสมบันโดยไม่ต้องหยุดพัก ปัจจุบันในประเทศไทยมีหุ่นยนต์การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพียง 45 ตัวสำหรับพนักงานทุกๆ 10,000 คน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคโดยสิงคโปร์และเกาหลีใต้มีหุ่นยนต์ 488 และ 631 ตัวต่อพนักงาน 10,000 คนตามลำดับ[4]
เจมส์ แมคคิว ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าวว่า ปัจจุบันโคบอทจากยูอาร์ช่วยให้พนักงานเปลี่ยนจากงานที่ซ้ำซากและมีมูลค่าต่ำไปสู่กิจกรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้นซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ
“นับตั้งแต่มีการประกาศคำว่า ‘Collaborative Robotics’ เราก็เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เราได้ครบรอบทศวรรษนับตั้งแต่โคบอทตัวแรกจากยูนิเวอร์ซัล โรบอทถูกนำไปใช้ในเอเชียใต้ ด้วยความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นและกลายเป็นต้นทุนสำคัญในการเข้าสู่ตลาดโคบอทยูอาร์เชื่อมั่นในการพัฒนาโคบอทที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นที่สามารถคืนการลงทุนได้อย่างรวดเร็วให้อุตสาหกรรมการผลิต” เจมส์ แมคคิว กล่าว
ด้วยระยะเวลาคืนทุน โดยเฉลี่ยสั้นเพียง 12 เดือน เนื่องจากการผลิต คุณภาพ และความสม่ำเสมอที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตอาจเห็นผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ก่อนสิ้นปีหรือต้นปีพ.ศ. 2565 ตัวอย่างบริษัท Yokota Corporation จากประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทออกแบบและผลิตตลับลูกปืน เป็นระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงาน หรือFactory Automation (FA) เครื่องจักรสำหรับการประกอบการบรรจุและการตรวจสอบ ได้เลือกโคบอท ยูอาร์ไฟว์ (UR5) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน[1] ซึ่งเดิมบริษัทฯ พยายามดึงพนักงานพาร์ทไทม์และใช้คนงานจากแผนกอื่นมาทำงาน แต่มาตรการเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผล หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมถือเป็นวิธีแก้ปัญหาเช่นกัน แต่ในภายหลังพบว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องการพื้นที่เพิ่มเติมและความจำเป็นในการป้องกันความปลอดภัยจากความปลอดภัยและความสามารถรอบตัวที่เป็นประโยชน์หลักของหุ่นยนต์โคบอท การติดตั้งโคบอทรุ่นยูอาร์ไฟว์ ทำให้ระบบการผลิตมั่นคงและเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติมสำหรับเอเชียนั้นยังคงเป็นตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ยูนิเวอร์ซัล โรบอท จึงพยายามสนับสนุนให้ผู้ผลิตติดตั้งโคบอทในพื้นที่การผลิต
“การลดอุปสรรคของระบบอัตโนมัติเพื่อให้เข้าถึงผู้ผลิตที่ไม่เคยคิดว่าจะสามารถติดตั้งหุ่นยนต์ได้เนื่องจากต้นทุนและความซับซ้อน เราหวังว่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รับผลิตผลที่สูงขึ้นและใช้ประโยชน์จากโรงงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ” แมคคิว กล่าวสรุป
[1] https://www.marketsandmarkets.com/PressReleases/collaborative-robot.asp
[2] https://www.nordeatrade.com/dk/explore-new-market/thailand/economical-context
[3] https://www.markiteconomics.com/Public/Home/PressRelease/c84bb080304448b1911d26c6ccc52241
[4] https://ifr.org/news/robot-density-rises-globally/
[5] https://www.universal-robots.com/case-stories/yokota-corporation/