การวิจัยและพัฒนาฟิล์มคาร์บอนเสมือนเพชร ด้วยเทคนิคแสงซินโครตรอน


การวิจัยและพัฒนาฟิล์มคาร์บอนเสมือนเพชร ด้วยเทคนิคแสงซินโครตรอน

ฟิล์มคาร์บอนเสมือนเพชร (Diamond-Like Carbon: DLC) เป็นฟิล์มที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ได้แก่ ด้านยานยนต์ เช่น นำไปเคลือบผิวผลิตภัณฑ์กระบอกสูบ ก้านลูกสูบ ข้อเหวี่ยง ด้านอิเล็กทรอนิกส์ เช่น นำไปเคลือบผิวผลิตภัณฑ์หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ ด้านการแพทย์ เช่น นำไปเคลือบผิวผลิตภัณฑ์ข้อสะโพกเทียม หลอดเลือดเทียม เครื่องปั๊มเลือดแบบหมุนเหวี่ยง ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เช่น นำไปเคลือบผิวภายในขวดบรรจุน้ำผลไม้ และด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร การใช้งานที่หลากหลายของฟิล์มชนิดนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นของฟิล์มดังกล่าว เช่น มีความเฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมีโดยไม่ทำปฏิกิริยาที่ก่อเกิดอันตรายใดๆ ต้านทานการกัดกร่อนสูง มีความแข็งสูง การเข้ากันทางชีวภาพสูงโดยไม่เป็นพิษกับร่างกายหรือสิ่งแวดล้อม และแรงเสียดทานต่ำทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้น การได้มาซึ่งคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของฟิล์มขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ วิธีการสังเคราะห์ ส่วนผสม อุณหภูมิ เวลาในการเคลือบ อีกทั้งวิธีการในการสังเคราะห์ฟิล์มที่ต่างกันก็ให้ได้โครงการสร้างเคมีของฟิล์มที่ต่างกันด้วย

ดร.ศรายุทธ ตั้นมี
ดร.ศรายุทธ ตั้นมี

โครงสร้างทางเคมีของฟิล์ม DLC มี 4 ประเภท ได้แก่

  1. Tetrahedral Amorphous Carbon (ta-C)
  2. Tetrahedral Amorphous Hydrogenate Carbon (ta-C:H)
  3. Amorphous Carbon (a-C)
  4. Hydrogenated Amorphous Carbon (a-C:H) ตามลำดับ
แสดงความหลากหลายของการใช้งานของฟิล์ม DLC
แสดงความหลากหลายของการใช้งานของฟิล์ม DLC
คุณสมบัติที่หลากหลายของฟิล์ม DLC
คุณสมบัติที่หลากหลายของฟิล์ม DLC

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทางเคมีของฟิล์ม DLC มีความซับซ้อนจึงต้องอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงอย่างเทคนิคแสงซินโครตรอนในการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมี นั้นคือ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ย่านพลังงานต่ำ (Near Edge X-ray Absorption Fine Structure, NEXAFS) โดยเทคนิคนี้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีในเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) และเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ได้ ทำให้สามารถบ่งชี้ถึงพันธะเคมีและปริมาณสัดส่วนผสมที่อยู่ในฟิล์มชนิดนี้ได้ อีกทั้งฟิล์ม DLC มีคุณสมบัติในการต้านการซึมผ่านของแก๊สบางชนิด จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของอาหาร จึงนำไปสู่การสร้างความร่วมมืองานวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ถือเป็นการบูรณาการงานวิจัยและพัฒนาระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมกัน

การวิจัยและพัฒนาฟิล์มคาร์บอนเสมือนเพชร ด้วยเทคนิคแสงซินโครตรอน


Source: วารสาร Engineering Today ปีที่ 18 ฉบับที่ 176 มีนาคม-เมษายน 2563
คอลัมน์ บทความ โดย ดร.ศรายุทธ ตั้นมี, ดร.ชนรรค์ เอื้อรักสกุล, อุกฤษฎ์ ฤทธิหงส


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save