ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร เปิดเผยผลการรายงานในภาคพื้นเอเชีย เกี่ยวกับช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ประจำปี 2022 (2022 Cybersecurity Skills Gap Report) ซึ่งได้สำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ครอบคลุมประเทศไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จำนวนกว่า 110 บริษัท จากสายอุตสาหกรรมหลากหลาย ได้แก่ เทคโนโลยี การผลิต บริการด้านการเงินและอื่นๆ พบว่า 71% ของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจ ต่างประสบกับความยากลำบากในการว่าจ้างผู้มีความสามารถซึ่งมีคุณสมบัติด้านเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้เข้าทำงาน และ 63% ขาดคนเก่งที่มีทักษะเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากขึ้น
วิชาค รามัน รองประธานภูมิภาค ประเทศอินเดีย กล่าวว่า ผลการสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ประจำปี 2022 (2022 Cybersecurity Skills Gap Report) ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานทั่วโลก พบว่า 71% ของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจกว่า 110 บริษัท จากสายอุตสาหกรรมหลากหลาย ได้แก่ เทคโนโลยี การผลิต บริการด้านการเงินและอื่นๆ ต่างประสบกับความยากลำบากในการว่าจ้างผู้มีความสามารถซึ่งมีคุณสมบัติด้านเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้เข้าทำงาน โดย 63% พบว่าการขาดคนเก่งที่มีทักษะดังกล่าวยังส่งผลกระทบร้ายแรงถึงธุรกิจ และเนื่องจากมีองค์กรจำนวนมากขึ้นที่นำเทคโนโลยีคลาวด์และระบบออโตเมชันมาใช้งาน จึงทำให้การขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้กลายเป็นปัญหาที่หนักขึ้น
เพื่อมุ่งเน้นแก้ปัญหาช่องว่างดังกล่าว ฟอร์ติเน็ตจึงได้จัดตั้งโครงการ Training Advancement Agenda (TAA) และโปรแกรม Training Institute เพื่อช่วยให้เข้าถึงโปรแกรมฝึกอบรมได้มากขึ้น พร้อมมอบใบรับรองด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่มีการว่าจ้างบุคลากรในสายนี้ ตามที่ระบุอยู่ในรายงาน โดยฟอร์ติเน็ตตั้งเป้าจะฝึกอบรมมืออาชีพด้านเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้จำนวน 1,000,000 คน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2569 และจากทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศ บริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จในการออกใบรับรองจำนวนกว่า 840,000 ฉบับ นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการนำโปรแกรมนี้มาปรับใช้
จากรายงานบุคลากรด้านไซเบอร์ (Cyber Workforce Report) ประจำปี พ.ศ.2564 ของ ISC พบว่าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกมีช่องว่างบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ใหญ่ที่สุด คิดเป็นจำนวน 1,420,000 คน แม้ว่าช่องว่างด้านบุคลากรในเอเชียแปซิฟิกจะลดลงจากปี พ.ศ.2563 แต่ก็ยังต้องปรับปรุงอยู่อีกมาก นอกจากนี้เมื่อมีค่าใช้จ่ายของการละเมิดช่องโหว่ ทำให้องค์กรต้องเสียทั้งชื่อเสียงและกำไร ไซเบอร์ซีเคียวริตี้จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นสำหรับคณะกรรมการระดับบริหารมากยิ่งขึ้น โดย 89%ขององค์กรในภาคพื้นเอเชียมีคณะกรรมการบริหารระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการขององค์กรได้ถามคำถามเจาะจงเรื่องของไซเบอร์ซีเคียวริตี้โดยเฉพาะ และ 79% ขององค์กรมีคณะกรรมการบริหารที่แนะนำว่าควรเพิ่มบุคลากรเพื่อมาดูแลด้านไอทีและไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นพิเศษ
รายงานช่องว่างด้านทักษะของฟอร์ติเน็ต แสดงให้เห็นว่า การฝึกอบรมและการให้ใบรับรอง หรือ Certifications เป็นแนวทางสำคัญที่หลายองค์กรที่จะนำมาช่วยรับมือกับปัญหาช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยในรายงาน พบว่า 97% ของบรรดาผู้นำเชื่อว่าการออกใบรับรองที่มุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยี จะให้ผลกระทบเชิงบวกในเรื่องการทำงานและทีมงานขององค์กร 86%ของผู้นำอยากจ้างคนที่มี Certifications รับรองแล้ว และ 89% ของผู้ตอบสำรวจ ยินดีจะจ่ายเงินให้กับบุคลากรที่มี Certifications ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เรื่อง Certifications ได้รับการยอมรับอย่างสูงเนื่องจากเป็นเครื่องยืนยันถึงการตระหนักรู้และความรู้เรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากการให้คุณค่าในเรื่องของการรับรองแล้ว 93% ขององค์กร ได้มีการนำโปรแกรมฝึกอบรมมาใช้เพิ่มการรับรู้เรื่องไซเบอร์ และ 51% ของผู้นำเชื่อว่าบุคลากรของตนยังขาดความรู้ที่จำเป็นอยู่ ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าโปรแกรมการสร้างการรับรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่มีประสิทธิภาพหรือไม่
ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมาบริษัทฯ มียอดขายสูงประมาณ 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องและเติบโตมากกว่าการคาดการณ์ของบริษัทฯ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้บริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องคือบริษัทฯ มีโซลูชันรองรับกลุ่มลูกค้าและองค์กรต่างๆ ตามความต้องการด้านความรักษาปลอดภัยมากกว่า 50 โซลูชันและพัฒนาเทคโนโลยีทักษะฝึกอบรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ รองรับลูกค้าและองค์กรต่อเนื่อง สำหรับตลาดประเทศไทย บริษัทฯ มีส่วนแบ่งรายได้สูงสุดในตลาดเน็ตเวิร์ก ซีเคียวริตี้ประมาณ 28.5% มีบุคลากรกว่า 40 คน ที่มีความรู้ความสามารถด้านความปลอดภัยคอยดูแลลูกค้าและบริษัทต่างๆ กว่า 3,500 บริษัทในประเทศไทย
สำหรับองค์กรที่มองหาการฝึกอบรมเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย บริษัทฯได้นำเสนอบริการฝึกอบรมและสร้างการรับรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย (Security Awareness and Training Service) ผ่านสถาบันฝึกอบรมของฟอร์ติเน็ตที่ชนะเลิศรางวัล โดยบริการดังกล่าวยังช่วยปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลที่สำคัญขององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยการสร้างการรับรู้ให้กับพนักงานเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งบริการดังกล่าวได้รับการอัปเดตความรู้เท่าทันภัยคุกคามจาก FortiGuard Labs ของฟอร์ติเน็ต เพื่อที่พนักงานจะได้เรียนรู้พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิธีการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีพัฒนาการล่าสุด เพื่อป้องกันบริษัทจากการละเมิดช่องโหว่และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ราชีช แพนเดย์ รองประธานฝ่ายการตลาด ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า ปัญหาท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กร คือการสรรหาและรักษาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่องานสำคัญด้านการรักษาความปลอดภัย ตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ตลอดจนนักวิเคราะห์ของ SOC โดยในรายงานยังพบว่า 60% ของผู้นำในเอเชียให้การยอมรับว่าองค์กรต้องพยายามอย่างมากในการสรรหาพนักงาน อีก 57% พยายามในการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ นอกจากนี้ปัญหาท้าทายเรื่องการจ้างงาน คือการสรรหาบุคลากรผู้หญิง นักศึกษาจบใหม่ และชนกลุ่มน้อย โดย 76%ขององค์กรในเอเชีย พบว่า การสรรหานักศึกษาจบใหม่เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ในการว่าจ้างงาน อีก 75% ของผู้นำ มองเรื่องการสรรหาบุคลากรผู้หญิง และ 62% มองการว่าจ้างชนกลุ่มน้อยถือเป็นความท้าทาย ในขณะที่องค์กรต่างต้องการสร้างทีมงานที่มีความหลากหลายมากขึ้นและมีความสามารถสูงขึ้น 90% ของบริษัทในเอเชียต่างมีเป้าหมายที่เด่นชัดว่าความหลากหลายนับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการว่าจ้างงาน
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าว พบว่า 75% ขององค์กรมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการในการสรรหาบุคลากรผู้หญิงโดยเฉพาะให้มากขึ้น และ 59% มีกลยุทธ์อยู่แล้วในการจ้างชนกลุ่มน้อยเข้าทำงาน และ 65% ขององค์กรยังมีความพยายามในการจ้างผู้มีประสบการณ์มากขึ้น