กรุงเทพฯ – 7 สิงหาคม 2562 : อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ เข้าตรวจเยี่ยมกิจการและมอบนโยบายการดำเนินงานให้กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานและนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อนตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2562 พร้อมให้ กทท. เร่งพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย หรือ Smart Community ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตยโดยด่วน ตามแผนแม่บทของการพัฒนาพื้นที่ กทท.ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่ทันสมัยแก่ประชาชน เดินหน้าตอกเสาเข็มก่อสร้างในต้นปีพ.ศ. 2563
สำหรับการตรวจเยี่ยมการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในครั้งนี้ มี เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พร้อมด้วย ผู้บริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ให้การต้อนรับ
อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การตรวจเยี่ยมการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในครั้งนี้ได้ให้นโยบาย กทท.ไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเร่ง Speed พัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ยกระดับการบริหารงานของ กทท.ให้เป็นไปมาตรฐานสากล เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟสที่ 3, ศูนย์เปลี่ยนถ่ายและกระจายสินค้าท่าเรือกรุงเทพ, ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ (Inland Waterway), ส่งเสริมการขนส่งทางรถไฟ (SRTO), โครงการเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถี-ท่าเรือกรุงเทพ, พัฒนาโครงข่ายการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการ, พัฒนาและขยายบริการธุรกิจหลักและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าชายฝั่งอ่าวไทย, ส่งเริมการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ(Inland Waterway), โครงการพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยว (Cruise Teminal), โครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือทางบก (Dry Port), โครงการพัฒนาเขตปลอดภาษีอาการ (Free Trade Zone), โครงการขยายบริการการขนส่งตู้สินค้าในลำน้ำโขง, เร่งรัดการศึกษาทบทวนและแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและประกาศการบริหารจัดการท่าเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รวมทั้งแก้ไขขั้นตอน หรือ พ.ร.บ.ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับการทำงานในปัจจุบัน เอื้อต่อการแข่งขันและที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาการฟ้องร้องค่าล่วงเวลา
สำหรับการบริหารสินทรัพย์ กทท. ต้องเร่งพัฒนาการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ในเชิงธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กร สร้างรายได้จากสินทรัพย์ต่าง ๆ ของ กมท. ตามแม่บทการใช้พื้นที่ของ กทท. ในเชิงพาณิชย์ เช่น จัดทำแผนแม่บทการใช้พื้นที่ กทท. บริเวณท่าเรือกรุงเทพประมาณ 2,353 ไร่ ที่ยังไม่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ให้เป็นระบบอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพและลักษระทางกายภาพของพื้นที่และแนวทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการของผังเมือง
นอกจากนี้ควรพัฒนาธุรกิจและการตลาดด้วยการขยายขอบเขตการบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่พร้อมทั้งขยายธุรกิจหลักให้ครอบคลุมการบริหารการท่าเรือไปสู่การบริการต่อเนื่องใหม่อย่างครบวงจรในเชิงรุกเพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ, มีมาตรฐานทางการจัดทางการเงินตามมาตรฐานกระทรวงการคลัง, มีมาตรฐานการจัดการทางการเงินเทียบเคียงกับมาตรฐานระดับสูงในทางธุรกิจ, มีการบริการทางการเงิน บริหารต้นทุนการเงินและผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานและเทียบเคียงราคาตลาด, จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องตามภารกิจ กลยุทธ์และธรรมาภิบาลเพื่อผลักดันให้ กทท. เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำ
“ในด้านการลงทุนสินทรัพย์ต่าง ๆจะต้องดูที่งบดุลในแง่ของการสร้างรายได้ของการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและในส่วนของการกำกับดูแล Cash Flow ควรพิจารณาที่งบกระแสเงินสด เพื่อให้มั่นใจว่า Cash Flow จะไม่มีปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจของ กทท. ในอนาคตที่สำคัญควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากร กทท. ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายเพื่อให้บุคลากรของ กทท. มีการทำงานที่สอดคล้องต่อเนื่องกับสถานการณ์เข้าใจเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนา Platform กทท.ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูล Data Logistics Chain” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว
ในด้านนโยบายการดำเนินงาน ได้เน้นย้ำการบริหารงาน 7 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ เก่ง ดี มีความสุขและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง, ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้ได้มาตรฐานสากล, พัฒนาและขยายธุรกิจหลักและเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ มุ่งพัฒนาระบบขนส่งและขนถ่ายสินค้าให้มีการเชื่อมโยงการให้บริการระหว่างท่าเรือและหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทางสินค้า รองรับนโยบายการขนส่งและคมนาคมของประเทศตามนโยบายรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ, ส่งเสริมการทำตลาดเชิงรุกและการหาพันธมิตรเป็นการเพิ่มธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ GMS คามร่วมมือท่าเรือลุ่มแม่น้ำโขงและความร่วมมือไปสู่ประเทศในกลุ่มภูมิภาค BIMSTIC รองรับการแข่งขันธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต, การพัฒนาและบริหารสินทรัพย์พื้นที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุดและได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของพื้นที่ที่เป็นการดำเนินธุรกิจท่าเรือ (Core Business) และการบริหารสินทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารหลักของ กทท. (Non Core Business) เพื่อกำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณในเขตและนอกเขตรั้วศุลกากรท่าเรือกรุงเทพให้เป็นระบบอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพัฒนาพื้นที่ 3โซนหลัก ประกอบด้วย โซน Aพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ด้านการค้า (Commercial Zone) พัฒนาอาคารเป็นอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชนาวี ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า อาคารสำนักงาน ศูนย์กลางพาณิชกรรมนานาชาติเพื่อพาณิชยืนาวีและ Smart Community, โซน B พัฒนาเป็นพื้นที่ธุรกิจหลักการให้บริการท่าเรือกรุงเทพ (Core Business Zone) เช่น สถานีบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก Bangkok Port Distribution Park จุดบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ท่าเรืออัตโนมัติและพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เป็นเชื่อมต่อสำหรับการขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี, โซน C พัฒนาเป็นพื้นที่เมืองท่าเรือกรุงเทพ ผBangkok Modern City) พัฒนาเป็น Modern Port City โดยเน้นการพัฒนาเมืองธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คของประเทศ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางน้ำและPassenger Terminal ออกแบบอาคารแบบ Mix Useที่มี Shopping Mall พื้นที่จอดรถและโรงแรมที่เหมาะสม, บริหารจัดการทางด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานเทียบเคียงในทางธุรกิจและสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีเพื่อให้เกิดความนิยมและยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย
อธิรัฐ กล่าวว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนในการกำกับดูแล กทท. คือขอให้ กทท.เร่งรัดโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย หรือ Smart Community เป็นพื้นที่ย่านการค้าทันสมัย ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตยของ กทท. โดยวางกรอบเวลาให้ตอกเข็มเริ่มก่อสร้างให้ได้ต้นปีพ.ศ. 2563 เพื่อดำเนินการสร้างที่อยู่อาศัยเฟสแรก ด้วยงบประมาณประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อให้แล้วเสร็จทันตามที่กำหนด
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าววถึงแผนพัฒนาพื้นที่ตามแผนแม่บทท่าเรือกรุงเทพ กทท. ว่า พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นพื้นที่ของโรงฟอกหนัง กระทรวงกลาโหม เนื้อที่ประมาณ 58 ไร่ ซึ่ง กทท.จะนำมาพัฒนาตามโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย หรือ Smart Community ด้วยงบประมาณการลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยสร้างเป็นคอนโดมิเนียมสูง 25 ชั้น ขนาด 4 อาคาร รวม 6,144 ยูนิต พร้อมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียน ร้านค้า อาคารพาณิชย์และอื่น ๆ รองรับ 26 ชุมชนในพื้นที่ และชุมชนใต้ทางด่วน 5 แห่ง รวม 31 ชุมชน รวม 13,000 ครัวเรือน ที่จะเข้ามาอยู่อาศัย คาดการณ์ว่าจะสามารถเจรจาอพยพประชาชนที่ยังอยู่อาศัยในพื้นที่ไปอยู่ตามจุดต่าง ๆที่ กทท.กำหนดได้ เช่น พื้นที่หนองจอก ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2562 จากนั้นคาดว่าต้นปีพ.ศ.2563จะดำเนินการก่อสร้างอาคารเฟสแรกด้วยเงินของ กทท.
ส่วนเฟสอื่น ๆอาจจะมีการเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมก่อสร้างร่วมกับ กทท. ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีกรอบการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในทุก ๆเฟสระยะเวลา 10 ปี ภายในปีพ.ศ.2573 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วจะให้สิทธิประชาชนที่ย้ายไปอยู่ยังพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาจับจองที่อยู่อาศัยที่สร้างนี้ก่อน จากนั้นจะเปิดให้ภาครัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไปเข้ามาจับจองสิทธิ์เหมือนโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนแฟลตดินแดง ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.)