กรุงเทพฯ : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “พลิกวิกฤตสร้างเศรษฐกิจไทย : Do or Die” ซึ่งจัดโดย บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด ร่วมกับ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เขี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด โดยแนะประเทศไทยควรปรับตัวรับวิกฤตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มองความล้มเหลวเป็นความท้าทาย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติมตลอดเวลาเพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและปัจจัยที่รุมเร้าทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อนแล้วค่อยๆเรียนรู้แนะนำคนรอบข้างให้ปรับตัวตาม แน่นอนว่าการปรับตัวต้องอาศัยองค์ความรู้ ความเข้าใจเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่่อร่วมขับเคลื่อนประเทศร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0
“การขับเคลื่อนย่อมมีอุปสรรคที่ท้าทายให้ช่วยกันก้าวข้ามเพื่อเปลี่ยนผ่าน โดยส่วนตัวมองว่าความท้าทายที่จะต้องก้าวข้ามให้ได้ประกอบด้วย 7 เรื่อง ได้แก่ 1. Career Migration ต้องมีความพร้อมที่จะตกงานและเริ่มทำงานใหม่ๆมี่ตนเองไม่ถนัดไม่ได้เนียนมา ไม่ใช่แค่บัณฑิตที่เพิ่งจบเข้าสู่ตลาดเเรงงาน แต่คนที่ทำงานในตลาดแรงงานก็ต้องเพิ่มเติมความรู้ตามยุคสมัยให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน, 2. Jobless Growth อนาคตการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นจะมาจากการใช้ข้อมูลที่มีเก็บไว้ใน Data ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้ด้วยการประมวลผลด้วย AI ซึ่งจะทำให้การจ้างแรงงานคนลดลง คนก็ต้องปรับตัวเรียนรู้ Data เรียนรู้ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะนำมาใช้งานเพื่อไม่ให้ถูกเทคโนโลยีแย่งงาน 3. Skill Divide สำหรับคนที่มีทักษะที่พร้อมจะอยู่รอดในตลาดแรงงาน แต่จะทำให้้เกิดการแบ่งกลุ่มคนในตลาดแรงงานออกเป็น 2 ส่วนคือ คนเก่งที่เรียนรู้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยและคนที่ยังไม่เก่งต้องอาศัยการเรียนรู้หลายๆด้านหลายๆครั้ง ซึ่งรัฐบาลต้องให้การสนับสนุนตั้งแต่ในระดับมหาวิทยาลัย สร้างคนให้ตรงกับงาน 4. Competing for Talents มหาวิทยาลัยจะอยู่ลำบาก เพราะทุกวัน มีทุนให้แต่ไม่มีคนรับทุนในหลายหน่วยงาน เช่น ก.พ., อว. เพราะทุนมีทั่วโลกที่พร้อมให้คนที่สนใจรับทุนไปศึกษาต่อในประเทศนั้้้น ๆ ทำให้มหาวิทยาลัยต่างชาติมาให้ทุนนักเรียนไทยจำนานมากขึ้น ทำให้เด็กเก่งๆให้ความสนใจเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก็จะไม่เรียนในไทย แต่เลือกที่จะรับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศเกิดค่านิยมมากขึ้น จนประเทศขาดคนเก่งโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ต้องปรับความคิด สร้างค่านิยมใหม่ ซึ่ง ต้องปรับการศึกษาไทยให้มีแรงจูงใจ การเปลี่ยนใจศึกษาในประเทศให้มากขึ้น 5.Multistage Life ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองตลอดชีวิต ทำประโยชน์ให้ตนเอง ส่วนร่วมและประเทศชาติร่วมกับภาครัฐ 6. Intellectual Capital Investment เตรียมรับมือเทคโนโลยีใหม่ๆจากการพัฒนาขึ้นใช้เองในประเทศด้วยการสร้างสตาร์ทอัพสัญชาติไทยให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และ 7. Career of the Future สร้างคนเพื่ออนาคตในหลากหลายด้านตามโจทย์ที่ภาครัฐวางนโยบายไว้ ตามโจทย์ที่ตลาดแรงงานต้องการ นอกจากนี้ควรมองความล้มเหลวเป็นความท้าทาย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติมตลอดเวลาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0