บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด (BIZCUIT) ผู้นำในการให้บริการโซลูชันเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เผย 5 เทรนด์เทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning เพื่อสร้างการทรานฟอร์มประสบการณ์ของผู้บริโภค ขับเคลื่อนสู่การสร้างสรรค์ผลลัพธ์ใหม่ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ และเพิ่มขีดความสามารถประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
สุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด (BIZCUIT) กล่าวว่า BIZCUIT ในฐานะผู้นำการให้บริการโซลูชันด้วยเทคโนโลยี AI ด้วยการเป็น AI Enabler มีความตั้งใจที่จะเป็นผู้ร่วมสนับสนุนในการนำเทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning มาช่วยส่งเสริมการพัฒนาในองค์กรธุรกิจและภาครัฐ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้ทรานส์ฟอร์มสู่ยุคดิจิทัล อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตควบคู่กับการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจและองค์กร ผ่านเทคโนโลยี AI โซลูชัน
โดย BIZCUIT เป็นผู้พัฒนา Machine Learning AI ด้าน NLU และ Computer Vision ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ทในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากองค์กร บริษัทหรือหน่วยงานใดขาดการนำ AI ด้าน Machine Learning มาเป็นเครื่องมือในการทำงานผสมผสานกับมนุษย์แล้วคงยากที่จะต่อยอดทรานส์ฟอร์มธุรกิจนั้นๆ ให้ข้ามผ่านแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล จะเห็นได้จากมูลค่าของธุรกิจ AI ในตลาดโลก ในปี พ.ศ.2564 ที่มีมูลค่าถึง 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 2.48 ล้านล้านบาท โดย 60% ของตลาด เป็น Application หรือ โซลูชันด้าน Machine Learning AI คิดเป็นมูลค่า 1.48 ล้านล้านบาท ส่งผลให้เกิดเทรนด์เทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning ที่นำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประสิทธิภาพและขยายขีดความสามารถให้กับธุรกิจและองค์กรของภาครัฐ
สำหรับ 5 เทรนด์ของเทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning ของโลกที่เน้นพัฒนาให้ AI ทำในสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ได้ ประกอบด้วย
1.Voice is the new hand เสียงจะเป็นเหมือนแขนที่สามของมนุษย์ที่จะคอยสั่งการสิ่งต่างๆ แบบไร้การสัมผัส ข้อมูลเสียง จะทำให้เราสั่งงานระบบต่างๆ พร้อมยืนยันตัวตนว่าเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย มีช่วงอายุเท่าไรเสียงสามารถบอกเนื้อหาเรื่องที่เราพูดว่าคือเรื่องอะไร เสียงบอกอารมณ์ของผู้พูดได้ และแจ้งตำแหน่งของผู้พูด เช่น สามารถติดตั้งระบบ Smart Speaker ในซอย เส้นทางสัญจรที่เปลี่ยว หรือเป็นจุดอับ ซึ่งหากมีเหตุฉุกเฉิน คนสามารถตะโกนขอความช่วยเหลือ โดยเทคโนโลยี AI สามารถระบุตำแหน่งของเสียง แล้วติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แบบอัตโนมัติและทันท่วงที
2.Computer Generated Content การสร้าง Content หรือเนื้อหาด้วย AI จะถูกสร้างแบบ 100% มากขึ้น จากเทคโนโลยี Natural Language Generation (NLG) ซึ่งเป็นอีก 1 สาขาย่อยของ Machine Learning AI ใน 6-7 ปี ที่ผ่านมา โลกได้มีการพัฒนา Natural Language Understanding (NLU) เพื่อให้ AI เข้าใจสิ่งที่มนุษย์กำลังต้องการได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ปัจจุบัน เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดการเรียนรู้ข้อมูลมากพอที่สอนให้ AI คิดเนื้อหาขึ้นมาเอง เพื่อตอบโต้ความต้องการของมนุษย์แบบอัตโนมัติ ปัจจุบันมีบทความที่เขียนด้วย AI โดยนำ Key Fact หรือข้อมูลหลักจากมนุษย์ แต่ไปนำคำศัพท์และวลีจาก Google Trend ที่กลุ่มเป้าหมายสนใจมาสร้างเป็น Backlink Article ในการทำ SEO หรือ แม้แต่เพลงที่แต่งด้วย AI ซึ่งในอนาคตจะทำให้ Chat Bot มีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
3.การประสานกันของ Natural Language Understanding และ Internet of Things (IoT) ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในอนาคต AI จะสามารถเข้าใจสิ่งที่มนุษย์ต้องการ ไม่ใช่แค่เข้าใจคำสั่ง แต่เข้าใจความต้องการของมนุษย์ ประสบการณ์ที่มนุษย์จะได้จาก IoT จะยิ่งมากขึ้น เช่น เมื่อเวลาเราเปิดตู้เย็นแล้วพูดว่าน้ำส้มหมด AI ที่ตู้เย็นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าต้องการซื้อน้ำส้ม และจะสืบค้นร้านค้าออนไลน์ เปรียบเทียบราคาและเสนอตัวเลือกที่ดีที่สุดให้และเวลาที่เราเดินเข้ามาในห้องแล้วบ่นว่าทำมันนี้ร้อนจัง AI ที่เครื่องปรับอากาศจะปรับอุณหภูมิให้เราเอง เป็นต้น
4.Computer Vision การวิเคราะห์ด้วยภาพแบบเรียลไทม์จะถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะว่าสามารถเข้าถึงในราคาที่ถูกได้ ด้วยเทคโนโลยีด้าน Edge Computing ได้ภาพแบบเรียลไทน์ มีการวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเช่นเดียวกับที่เห็นในภาพยนตร์ สามารถแยกคนในบริษัท จับภาพผู้บุกรุก หรือจำแนกคนแปลกปลอมภายในบริษัท ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้ว โดย AI Machine Learning สามารถช่วยตรวจสอบ จับภาพคนตกน้ำ ตรวจสอบไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ซึ่งปัจจุบันต้นทุนในการนำเทคโนโลยี Computer Vision มาใช้งานมีราคาถูกลง โดยสามารถเพิ่มขีดความสามารถของกล้องวงจรปิด CCTV ที่มีอยู่แล้ว ให้มีความสามารถใช้ AI Vision Analytic ตรวจจับวิเคราะห์ภาพได้ และ
5.ระบบการประมวลผลแบบใหม่ เช่น Quantum Computer กำลังจะยกขีดความสามารถของ AI ไปแบบก้าวกระโดด เนื่องจากศักยภาพในการประมวลผลของ AI ขึ้นอยู่กับความสามารถของฮาร์ดแวร์ และ Quantum Computer คืออนาคตที่ทรงพลังของ AI
สุทธิพันธุ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการนำ Machine Learning และ AI มาใช้แล้วในประเทศไทย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในภาคเอกชนนำมาใช้เพื่อช่วยสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ เช่น Machine Learning Computer Vision สามารถแยกพนักงานกับลูกค้า ซึ่งสามารถใช้ในการควบคุมการบริหารจัดการ ของร้านค้า วิเคราะห์การทำงานของพนักงาน หรือหากมีข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคเข้ามายังบริษัท AI ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถดำเนินการขอโทษลูกค้าได้ทันทีเลย เป็นต้น
สำหรับหน่วยงานภาครัฐนำ AIไปใช้ในการพัฒนา Smart City หรือใช้ในการตรวจจับภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น เสาไฟฟ้าล้ม มีประชาชนรายงานเข้ามา เจ้าหน้าที่ที่ดูแลก็สามารถดำเนินการแก้ปัญหาเสาไฟฟ้าล้มได้ทันต่อสถานการณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 ทางบริษัทฯได้นำโซลูชัน AI จัดระบบการฉีดวัคซีนที่นำออกมารอการฉีดไม่ให้มีระยะเวลานานจนเกินไปเพื่อป้องกันวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ไปใช้ยังพื้นที่ศูนย์การฉีดวัคซีนกลางบางซื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สุทธิพันธุ์ กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจของ BIZCUIT ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาว่า
ถือว่าบริษัทฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกลุ่มบุญรอดซัพพลายเชน ได้มาร่วมลงทุนกับบริษัทฯเพื่อนำเทคโนโลยี AI ไปต่อยอดให้กับกลุ่มลูกค้าและบริษัทในเครือ ลูกค้าสามารถเลือกสัญญาเป็นแบบรายเดือนได้ โดยเฉพาะในช่วงเกิด COVID-19 ที่ช่องทางออนไลน์และโซลูชันการทำงานออนไลน์ต่างๆมีการเติบโตอย่างมาก บริษัทฯมีลูกค้าคู่สัญญารายใหม่เกิดขึ้นมากมาย คิดมูลค่ารวมกว่า 150 ล้านบาท
ปัจจุบัน BIZCUIT มีลูกค้ามากกว่า 60 องค์กร ใน 5 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ แบ่งเป็นลูกค้าในประเทศ 80 % และลูกค้าในต่างประเทศ 20% ครอบคลุมในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มธุรกิจรีเทลค้าปลีก กลุ่มธุรกิจอาหาร กลุ่มอีคอมเมิร์ซ กลุ่มภาคการผลิต กลุ่มการเงินและประกันภัย และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ส่วนความสามารถด้านภาษาของ AI ที่ BIZCUIT พัฒนานั้นจะครอบคลุมไปถึงภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศรวม 3 ภาษา คือภาษาไทย อังกฤษ และบาฮาซาของอินโดนีเซีย ส่วนความแม่นยำของภาษาไทยที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับโดเมนที่ใช้ด้วย
สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ. 2565 นี้ สุทธิพันธุ์ กล่าวว่า BIZCUIT ตั้งเป้าธุรกิจเติบโตมากกว่าเท่าตัว หรือกว่า 100% โดยจะเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านผู้จัดจำหน่ายและพันธมิตร เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี AI โซลูชันให้เกิดความสามารถใหม่ ๆ รองรับในทุกสาขาของ AI Machine Learning เช่น ด้าน NLU กำลังพัฒนา ภาษาตากาล็อกของฟิลิปปินส์เป็นภาษาที่ 4 ด้าน Computer Vision จะพัฒนาเพิ่มความสามารถของ AI ในการเข้าใจภาพการปฏิบัติงานในโรงงาน ความปลอดภัยและกำลังพัฒนา AI รองรับเรื่องการจราจรให้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการด้าน Smart City จากลูกค้าในหน่วยงานภาครัฐ
“ในส่วนของความท้าทายในการดำเนินธุรกิจนั้นมองว่าการนำไปใช้งานในแต่ละกรณีของการให้บริการของบริษัทแต่ประเภทจะให้บริการตรงกับความต้องการของลูกค้า เข้าใจและมองหาโซลูชัน AI สนองความต้องการแก่ลูกค้าตอบโจทย์ได้ดีมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้การพัฒนาระบบจะต้องโฟกัสลูกค้าคนไทยให้มีความพึงพอใจในบริการต่างๆ ของบริษัทฯก่อนเสมอก่อนที่จะนำไปให้บริการแก่ลูกค้าต่างประเทศ” สุทธิพันธุ์ กล่าว