นาโนเทค จับมือ “เอเทค ฟิลเตรชั่น” พัฒนานวัตกรรมแผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ต้านรา-แบคทีเรีย ตอบโจทย์มลพิษทางอากาศ



นาโนเทค สวทช. ต่อยอดโจทย์ความต้องการของเอกชน พัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบนาโน สู่การประยุกต์ แผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ต้านเชื้อรา-แบคทีเรีย ชูความพร้อมรับมือวิกฤตฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ด้วยนวัตกรรมไทย เตรียมวางตลาดในเชิงพาณิชย์ต้นปี ’64


 

ดร.ณัฏฐพร พิมพะ
หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดจากโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ที่มองเห็นโอกาสจากองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยีของนาโนเทค ด้วยแผ่นกรองอากาศในรถยนต์ที่มีอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่นั้น จะมีความสามารถในการกรองอนุภาคของฝุ่น, จุลินทรีย์และ เชื้อรา ได้ตามขนาดของช่องว่าง หรือรูของแผ่นกรองอากาศ

อย่างไรก็ตาม จุลินทรีย์และเชื้อรา ที่มีขนาดใหญ่กว่ารูกรอง จะสะสมอยู่บนพื้นผิวของแผ่นกรองอากาศ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และหากแผ่นกรองเสื่อมสภาพลง สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจหลุดลอยออกมาปนเปื้อนกับอากาศ และมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ใช้งาน เกิดเป็นโรคภูมิแพ้, ปอดอักเสบ เป็นต้น

ทีมวิจัยจึงได้พัฒนา “แผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา” เพื่อช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ อาศัยการทำงานของอนุภาคนาโนที่เคลือบบนแผ่นกรองอากาศเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา ซึ่งสารเคลือบฯ เมื่อสัมผัสกับผนังเซลล์ของจุลินทรีย์จะทำให้ผนังของเซลล์เสียหาย หรือยับยั้งระบบการเผาผลาญในเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

สำหรับผลงานวิจัยนี้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ตามวิธีการทดสอบมาตรฐานทั้ง Antifungal activity, assessment on textile material: AATCC TM30:2017 (test III), CLSI M2-A11: Performance standards for antimicrobial disk susceptibility tests (Clear zone Test) และParticulate efficiency tests are followed by ISO16890 Classification ISO ePM10 (สามารถกรองฝุ่นขนาด 0.3-10 ไมครอน) โดยหลังการเคลือบ อัตราการไหลเวียนอากาศ (air flow rate) และการสูญเสียแรงดัน (Pressure drop) เท่าเดิม


นอกจากนี้ มีการทดสอบการใช้งานโดยนำไปกรองอากาศในรถยนต์ ที่มีขนาดห้องโดยสารต่างกัน ทดลองใช้จนถึงประมาณ 13,000 กิโลเมตร พบว่ายังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย และไม่พบการหลุดของอนุภาคนาโนออกจากแผ่นกรอง


“จุดเด่นของแผ่นกรองอากาศที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถยับยั้งได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ โดยที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและกระบวนการผลิตสารเคลือบที่ไม่ซับซ้อน อีกทั้งกระบวนการเคลือบแผ่นกรองอากาศชนิดผ้าไม่ถักไม่ทอ สามารถประยุกต์ใช้กับการเคลือบในอุตสาหกรรม และลักษณะทางกายภาพของแผ่นกรองอากาศภายหลังการเคลือบไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น สี, การขึ้นจีบแผ่นกรอง, ความสามารถในการผ่านของอากาศ” ดร.ณัฏฐพร กล่าว


ด้านอัมพร ศรีลาศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเทค ฟิลเตรชั่น จำกัด กล่าวว่า เดิมทีบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตแผ่นกรองอากาศในรถยนต์อยู่แล้ว แต่เป็นแบบกรองฝุ่นธรรมดา ซึ่งคู่แข่งมีจำนวนมากเพราะไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ เมื่อได้ศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์นี้ จนพบว่า ในต่างประเทศมีแผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สามารถกรองเชื้อโรคได้ จึงคิดนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมาจำหน่าย แต่ไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ จนเริ่มมองหานวัตกรรมในประเทศ

“เราค้นหาข้อมูลออนไลน์จนมาเจอ สวทช. ซึ่งเมื่อปรึกษาถึงโจทย์ในการพัฒนากระบวนการเคลือบแผ่นกรองอากาศให้มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรีย โดยที่กระบวนการผลิตยังใกล้เคียงของเดิม ไม่ยุ่งยากซับซ้อน จนมาเจอ ดร.ณัฏฐพร และนำไปสู่เป็นโครงการวิจัยร่วมกันดังกล่าว” อัมพร กล่าว

ทั้งนี้รถทุกคันจะต้องมีแผ่นกรองอากาศ ในขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน ใส่ใจเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องเผชิญปัญหาฝุ่นและมลภาวะทางอากาศ หากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแผ่นกรอง ให้คุณภาพอากาศในห้องโดยสารดีขึ้น จะเป็นทางเลือกใหม่ โดยผลิตภัณฑ์จากการวิจัยและพัฒนาของนาโนเทค สวทช. จะตอบความต้องการนี้ ด้วยความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

บริษัทฯ เตรียมนำแผ่นกรองอากาศยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียสำหรับรถยนต์ออกสู่เชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทพันธมิตรที่ดูแลด้านการทำตลาดในช่วงกลางเดือนมกราคม ศกนี้ โดยตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 100% ด้วยมองว่า ความต้องการในตลาดมีสูงมากจากสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน ก็มีแผนขยายสู่ตลาดต่างประเทศ นำร่องในอาเซียนอย่างลาว และเวียดนาม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save