กระทรวงกลาโหม จับมือ สวทช. เดินหน้าวิจัยและพัฒนานวัตกรรมความมั่นคง สนับสนุนอุตสาหกรรม S-Curve 11 สร้างความยั่งยืนให้ประเทศ


กระทรวงกลาโหม จับมือ สวทช. เดินหน้าวิจัยและพัฒนานวัตกรรมความมั่นคง สนับสนุนอุตสาหกรรม S-Curve 11 สร้างความยั่งยืนให้ประเทศ

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย – 8 กันยายน 2563: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือ กระทรวงกลาโหม โดย พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม(วท.กห.) ลงนามความร่วมมือกับ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ใน “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศ” เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านความมั่นคง ในการขับเคลื่อนและขยายผลของงานวิจัยไปประยุกต์สู่การใช้งานจริง รวมถึงสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้ยุทธศาสตร์ของ S- Curve 11

พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์

พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า สืบเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) อนุมัติยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2560 – 2579เมื่อวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2560ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าว กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่สำคัญ คือ การเร่งรัดพัฒนาเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกลาโหมกับ หน่วยงานด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนาและภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อให้มีเครือข่ายที่เกื้อกูลการดำเนินงานซึ่งกันและกัน จนสามารถพัฒนเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในอนาคตจะส่งผลให้การดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ เพื่อให้ผลิตได้เองและลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศในครั้งนี้ สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์(National Security and Dual-Use Technology Center-NSD)ได้ร่วมมือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากับ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม และทุกเหล่าทัพ ในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2566) เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านความมั่นคง ในการขับเคลื่อนและขยายผลของงานวิจัยไปประยุกต์สู่การใช้งานจริง รวมถึงสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญและสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากร และข้อมูลทางวิชาการในการวิจัยและพัฒนาให้มีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศ

นอกจากนี้จะมีการขยายผลด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ในโครงการต่าง ๆ ได้แก่ ระบบแพลตฟอร์มสำหรับหุ่นยนต์ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะเพื่อเชื่อมโยงและตรวจสอบอาชญากรรม โครงการพัฒนาผ้าเคลือบ กราฟีนอัจฉริยะสำหรับชุดเครื่องแบบทหาร โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบำบัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยเทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตแบบมีโอโซนต่ำ โครงการขยายผลการใช้งานหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโดยแสงยูวีเป็นต้น รวมถึงความร่วมมือด้านโจทย์การวิจัยอื่น ๆ จาก กระทรวงกลาโหม ทั้ง 4 เหล่าทัพ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save