กรุงเทพฯ – ประเทศไทย : ซิสโก้ (NASDAQ:CSCO) ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก จัดงานแถลงข่าวประจำปี ประกาศกลยุทธ์และแผนธุรกิจสู่ตลาด (Go-to-market) สำหรับปีงบประมาณ 2566 เพื่อปลดล็อคไทยแลนด์ 4.0 โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชัน พร้อมเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ขอซิสโก้ และความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่เอื้อประโยชน์แก่คนทุกกลุ่มในไทย รวมทั้งแผนธุรกิจสู่ตลาดสำหรับประเทศไทย
จากรายงานผลการศึกษาฉบับล่าสุดเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจจากการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทย ระบุว่าDigital Transformationและการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยจะช่วยปลดล็อคมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี[1] ภายในปี 2573 ในปีงบประมาณ 2566ซิสโก้จึงได้กำหนดกลยุทธ์และแผนงานธุรกิจสู่ตลาด 4 ด้านโดยร่วมงานกับภาครัฐ ลูกค้า และพาร์ทเนอร์ ได้แก่ 1.การปรับโฉมแอปพลิเคชัน 2.การทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน 3.ความปลอดภัยขององค์กร และ 4.การขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบไฮบริด
[1] Unlocking Thailand’s Digital Potential, AlphaBeta, Nov 2021
ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมา กล่าวว่า การทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน (Transform Infrastructure) ในสภาพแวดล้อมที่เน้นแอปเป็นหลัก เครือข่ายเปรียบเสมือนระบบประสาทที่ช่วยให้ทุกอย่างทำงานร่วมกันได้ ปัจจุบันมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 20,000 ล้านเครื่อง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 29,000 ล้านเครื่องภายในปี 2566 แต่ละอุปกรณ์จะมีจุดเชื่อมต่อ ทำให้เครือข่ายทำงานหนักมากขึ้น และจะต้องได้รับการจัดการแบบเรียลไทม์ องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นเครือข่ายเป็นหลัก โดยการสร้างและปรับใช้นโยบายที่เน้นการจัดการแบบอัตโนมัติเพื่อมอบประสบการณ์ที่ราบรื่น ทั้งนี้โซลูชัน Secure Access Service Edge (SASE) ของซิสโก้รวมฟังก์ชันเครือข่ายและความปลอดภัยในระบบคลาวด์เพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้กับแอปและข้อมูลในทุกสภาพแวดล้อมจากทุกที่ และบริหารจัดการการเข้าถึงโดยบังคับใช้ชุดความปลอดภัยระดับองค์กรที่สอดคล้องกัน
“ซิสโก้นำเอาความสามารถของแพลตฟอร์ม AI/ Machine Learning (ML) ตอบสนองความต้องการที่รวดเร็ว ฺBridge to Cloud ทำ Digital Transformation โดย Operate และมอนิเตอร ์ Muliti-cloud Usage ได้ ทำให้ลูกค้า Adopt Cloud ได้” ทวีวัฒน์ กล่าว
ความปลอดภัยขององค์กร (Secure Enterprise) ในโลกของการทำงานแบบไฮบริด การรักษาความปลอดภัยไม่เพียงมีความสำคัญแต่ยังมีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยประสบการณ์การรักษาความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ที่รักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในไทยในการสร้างความคล่องตัวและความยืดหยุ่นทางธุรกิจ โดย Cisco Security Cloud ได้นำเสนอแพลตฟอร์มแบบครบวงจรสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบ end-to-end ในสภาพแวดล้อมทั้งแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ ช่วยให้องค์กรปกป้องและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาได้
การปรับโฉมแอปพลิเคชัน (Reimage Application) ด้วยแอปพลิเคชันเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์ลูกค้าไม่ว่าจะในแง่ของวิธีการให้บริการ หรือวิธีที่บริษัทสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า องค์กรในประเทศไทยต้องปรับใหม่ว่าพวกเขาจะสร้างประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชันที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างไร เช่น ใช้งานได้เร็วขึ้น, ลดต้นทุนและความล่าช้าของเครือข่าย และการจัดการง่ายขึ้น นวัตกรรม Full-stack Observability ของซิสโก้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นกระบวนการทำงานของแอปพลิเคชันทั้งหมด รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึก และแนะนำการดำเนินการอย่างครบถ้วนสำหรับทีมปฏิบัติการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ต เครือข่ายคลาวด์ และบริการแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้ปลายทางได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด
ขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบ Hybrid (Power Hybrid Work) การทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าทำงานที่ไหนอีกต่อไป แต่อยู่ที่ว่ากำลังทำอะไร ในโลกใหม่ของการทำงานแบบไฮบริด พนักงานจะทำงานจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ได้ องค์กรต้องใช้เทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานทุกคนในทุกสถานการณ์ผ่านเครือข่าย การทำงานร่วมกัน และการรักษาความปลอดภัย โดยซิสโก้มีนวัตกรรมแบบ end-to-end ที่สามารถตรวจสอบการใช้งาน รักษาความปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน และรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงจากการติดต่อสื่อสารทุกประเภทได้อย่างราบรื่น
กนกฤทธิ์ มิ่งบรรเจิดสุข ผู้จัดการด้านวิศวกรรมระบบของซิสโก้ กล่าวว่า แนวคิดของซิสโก้คือ เราทำธุรกิจทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนในรูปแบบของแพลตฟอร์มที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้ทันที เช่น ความปลอดภัย ข้อดีของแพลตฟอร์มบนคลาวด์สามารถ Consume Service AI/ ML ในการทำ Automation ทำให้เห็รน Visibility และสามารถต่อยอด โดยลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ
“ด้านความปลอดภัยขององค์กร นอกจากการให้ความสำคัญต่อ Zero Trustต่อไปซิสโก้จะทำ Cisco Security Cloud ที่ไม่ต้อง Rely บน Cloud Service Provider รายใดรายหนึ่ง ด้วยเทรนด์ของเครือข่ายเราจะทำแพลตฟอร์มกลางที่ช่วยทำ Connect Cloud Automate วันนี้เป็น Open API เช่น เราทำCisco+Secure Connect ให้ Meraki” กนกฤทธิ์ กล่าว
ทวีวัฒน์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังอยู่บนเส้นทางของการเร่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค ในขณะที่กำลังวางแผนกรเติบโตในเฟสต่อไป องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานเพื่อก้าวให้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟู ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ ความรู้ และความเชี่ยวชาญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ เพื่อสนับสนุนประเทศไทยและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ซิสโก้ได้เริ่ม “โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล (CDA Program)” ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยให้ความสำคัญกับ 4 ด้านหลักได้แก่ Connected Healthcare, 5G สำหรับองค์กร, สมาร์ทซิตี้และระบบขนส่ง, ความปลอดภัยทางไซเบอร์
ในงาน Cisco Thailand Media Kick-off ประจำปี 2565 ซิสโก้ได้นำเสนอไฮไลท์ที่สำคัญของโครงการที่กำลังดำเนินการภายใต้ Connected Healthcare และ ความปลอดภัยทางไซเบอร์
สำหรับ Connected Healthcare ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระดับสูงสุด ซิสโก้ทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรคเพื่อควบคุมอุณหภูมิและการจัดเก็บวัคซีนCOVID -19 ให้คงประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างการใช้งาน ด้วยความร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายวัคซีน ซิสโก้ได้นำเสนอโซลูชัน Meraki ให้กับโรงพยาบาล 10 แห่งทั่วประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยทางกายภาพสำหรับการจัดเก็บวัคซีน การใช้วัคซีนอย่างยืดหยุ่นด้วยการกระจายวัคซีนแบบโมบายล์ และการมอนิเตอร์ทราฟฟิกแบบรีโมทซึ่งช่วยในการรักษาระยะห่างทางสังคม กล้องอัจฉริยะและเซ็นเซอร์ของ Cisco Meraki จะจำกัดการเข้าถึงวัคซีนที่ไม่ได้รับอนุญาต รักษาการควบคุมการบริหารวัคซีนอย่างมีคุณภาพ และควบคุมระบบเปิด-ปิดประตูตู้จัดเก็บวัคซีน โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานได้อย่างราบรื่นบนแดชบอร์ดแบบรวมศูนย์ที่จัดการบนคลาวด์
Cisco+Secure Connect บนคลาวด์ของ Meraki ทำให้สามารถตรวจสอบและแจกจ่ายวัคซีนสำหรับสถานที่ที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนมากที่สุดนอกเหนือจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ช่วยในการจัดส่งทางไกล และลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศเป็นสิ่งสำคัญท่ามกลางภัยคุกคามที่พัฒนาตลอดเวลา โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงคือ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ซิสโก้กำลังทำงานร่วมกับบริษัท Oil & Gas ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเพื่อประเมินและพัฒนาความสามารถของ Security Operations Center (SOC) ที่ตรงตามหลักการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการจัดการ การตรวจจับภัยคุกคามและการตอบสนอง รวมทั้งระบบข่าวกรองภัยคุกคาม ซิสโก้ได้แต่งตั้งทีมที่ปรึกษาโดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรเพื่อประเมินความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
ด้าน สมาร์ทซิตี้และระบบขนส่ง ซิสโก้มีเทคโนโลยี Wireless Backhaulที่สามารถส่งสัญญาณระยะทาง 10 กิโลเมตร มีแบนด์วิดท์ 500 MB / วินาที ใช้โซลูชันที่สร้าง Connectivity ในรถไฟฟ้าความเร็วสูง Sea Port และ สนามบิน
“ซิสโก้มีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โซลูชัน 5G Backhaul เรียกว่า Ultra Low Talency Wireless สำหรับรถไฟความเร็วสูง และรถโมโนเรลระหว่างเมือง” กนกฤทธิ์ กล่าวเสริม
1 Unlocking Thailand’s Digital Potential, AlphaBeta, Nov 2021