คณะวิศวฯ จุฬาฯ จับมือพันธมิตรจัดเสวนา “นโยบายผู้สมัครผู้ว่า กทม. กับการบริหารจัดการขยะ น้ำ อากาศ และเมืองยั่งยืน”


ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย และศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 8 ภายใต้หัวข้อ “นโยบายผู้สมัครผู้ว่า กทม. กับการบริหารจัดการขยะ น้ำ อากาศ และเมืองยั่งยืน” โดยมีผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ท่านร่วมงานเสวนา ได้แก่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร, ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และสกลธี ภัททิยกุล พร้อมด้วยวิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหามลพิษ (ศวอ.) รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนชัย  รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคคลและชุมชน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีศาสตราจารย์ ดร. เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดในกิจกรรมเสวนาฯ

ศาสตราจารย์ ดร. เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ. ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตัวแทนเครือข่าย กล่าวถึง แนวทางของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs โดยเสนอให้ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ใช้แนวทางของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประกอบไปด้วย 17 หัวข้อการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในเรื่องของปัญหาปากท้อง สุขภาพ ตลอดจนการศึกษา รวมถึงการแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายของมลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมต่อการใช้ชีวิต

 รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหามลพิษ (ศวอ.) กล่าวว่า มาตรฐานคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงดีขึ้นตามลำดับ เป็นที่น่าพอใจของหน่วยงานรัฐ แต่หากเทียบกับต่างประเทศโดยเฉพาะองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงไม่เป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร พบว่าสาเหตุหลักกว่าร้อยละ 54 มาจากการขนส่งทางถนน พร้อมทั้งเสนอแนะการจัดการคุณภาพอากาศ ได้แก่ การปรับมาตรฐานคุณภาพอากาศในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมมากขึ้นและให้สอดคล้องต่อมาตรฐานคุณภาพอากาศสากลเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษอากาศ รวมถึงการจัดการกับแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศหลักๆ เช่น การจัดตั้งมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถัน และการตรวจสอบรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงการสนับสนุนการเข้าถึงระบบสาธารณะ การสื่อสารกับภาคประชาชนให้มีความรู้และข้อมูลทางด้านคุณภาพอากาศและการรับมือ

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวถึง นโยบายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานครไว้ 9 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการเดินทางและคมนาคม ด้านโครงสร้างของสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสร้างเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ และด้านการจัดการบริหารให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาด้านมลพิษอากาศ ซึ่งจะอาศัยมาตรการทางกฎหมายมาช่วยควบคุมการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศ  โดยเน้นที่มาตรการควบคุมมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่

ด้าน สกลธี ภัททิยกุล ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เสนอให้ใช้มาตรการกฎหมายในการแก้ไขปัญหา การลักลอบทำผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น การลักลอบเผาขยะ และการบริหารและความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นไปที่การจัดการขยะภายในเขตกทม. และเห็นควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและความรับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมากขึ้น เพื่อลดต้นตอส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งทางสาธารณะ

ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวเสนอแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดเสมอภาคในสังคม โดยมุ่งแนวคิดผู้ก่อให้เกิดปัญหาต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีแนวคิดเสนอมาตรการในการดำเนินการกับผู้ให้กำเนิดมลพิษ ต้องเป็นผู้ที่จัดการกับมลพิษด้วยตนเอง โดยไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้ก่อมลพิษต้องรับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ยังเน้นย้ำการใช้กฎหมายที่เคร่งครัดในการจัดการกับมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น การใช้กฎหมายสั่งควบคุมการปล่อยมลพิษจากปากปล่องของโรงงาน ถ้ามีค่าเกินมาตรฐาน ต้องถูกสั่งปิดจนกว่าจะสามารถบำบัดมลพิษให้ได้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ด้วยหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะเน้นการพัฒนาในเรื่องการขจัดความยากจน ปัญหาปากท้อง และมาตรฐานการศึกษาให้ดีขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ว่าควรมีการดำเนินการในระดับของนโยบาย เพื่อสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหา เน้นการมองภาพโดยรวมของปัญหา และควรมีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ทั่วพื้นที่ในเขตกทม. โดยขอความร่วมมือกับสถานศึกษา เพื่อกระจายความรู้และข้อมูลด้านมลพิษและคุณภาพอากาศให้ประชาชนอย่างทั่วถึง รวมถึงการใช้เครื่องมือทางด้านกฎหมายและเศรษฐกิจในการควบคุมมลพิษที่แหล่งกำเนิด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save